โครเมียม
แม้ร่างกายจะต้องการโครเมียมในปริมาณที่ไม่มากนักต่อวัน แต่โครเมียมนั้นก็มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินและการสลายและดูดซึม คาร์โบไฮเดรด โปรตีนและไขมันของร่างกาย ทั้งนี้การบริโภควิตามิน B3 (ไนอะซิน) และวิตามิน C มีส่วนช่วยให้การดูดซึมโครเมียมดีขึ้น
ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ
ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ]
โครเมียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
โครเมียมเป็นส่วนสำคัญต่อการทำงานของอินซูลินและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การศึกษาในสัตว์และมนุษย์แสดงให้เห็นว่าการเสริมโครเมียมสามารถช่วยแก้ไขการแพ้กลูโคสในผู้ที่ขาดแร่ธาตุได้ การทดลองพบว่าระดับโครเมียมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมักต่ำกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน จึงแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการเสริมโครเมียมเพื่อปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ได้ จากการค้นพบนี้ อาหารเสริมโครเมียมจึงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อย่างไรก็ตามการศึกษาและการวิจัยยังไม่สามารถสรุปหรือยืนยันผลการทำงานของโครเมียมต่ออินซูลินได้อย่างชัดเจนและยังมีข้อบกพร่องในบางจุด ปัจจุบันสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำให้เสริมโครเมียมเพื่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีภาวะขาดสารอาหาร
การลดน้ำหนัก
โครเมียมเป็นส่วนสำคัญต่อการทำงานของอินซูลินและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การศึกษาในสัตว์และมนุษย์แสดงให้เห็นว่าการเสริมโครเมียมสามารถช่วยแก้ไขการแพ้กลูโคสในผู้ที่ขาดแร่ธาตุได้ การทดลองพบว่าระดับโครเมียมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมักต่ำกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน จึงแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการเสริมโครเมียมเพื่อปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ได้ จากการค้นพบนี้ อาหารเสริมโครเมียมจึงเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อย่างไรก็ตามการศึกษาและการวิจัยยังไม่สามารถสรุปหรือยืนยันผลการทำงานของโครเมียมต่ออินซูลินได้อย่างชัดเจนและยังมีข้อบกพร่องในบางจุด ปัจจุบันสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำให้เสริมโครเมียมเพื่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีภาวะขาดสารอาหาร
ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเสริมโครเมียม
อาหารเสริมโครเมียมเป็นที่นิยมสำหรับผู้ต้องการจะควบคุมน้ำตาลในเลือด เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ หรือลดน้ำหนัก การวิจัยยังไม่มีการยืนยันถึงประสิทธิภาพในการใช้โครเมียมต่ออาการเหล่านี้อย่างแน่ชัด และมีรายงานถึงผลข้างเคียงเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็น อาการท้องร่วง วิงเวียนศีรษะ และลมพิษ
มีการรายงานผู้ป่วยได้อธิบายถึงการทานโครเมียมในปริมาณ 1,200-2,400 ไมโครกรัมต่อวันติดต่อกัน 4 เดือนว่าสามารถสร้างความเสียหายต่อไตได้
ทั้งนี้อาหารเสริมโครเมียมยังสามารถรบกวนการทำงานของยาหลายชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาลดกรด และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
โครเมียมสามารถพบในอาหารชนิดไหนบ้าง?
โครเมียมพบได้ในอาหารหลายประเภท อย่างไรก็ตามปริมาณโครเมียมอาจมีความแตกต่างกันไปแม้ในอาหารประเภทเดียวกันซึ่งเกิดผลกระทบจากปริมาณแร่ธาตุในดินที่ใช้ปลูกอาหารเหล่านั้น
อาหารที่สามารถพบโครเมียมได้ เช่น
- ธัญพืช
- ซีเรียลรำข้าวไฟเบอร์สูง
- ผักบางชนิดเช่น บรอกโคลี ถั่วเขียว มันฝรั่ง
- ผลไม้บางชนิดเช่น แอปเปิ้ล กล้วย
- เนื้อวัว
- สัตว์ปีก ไข่แดง
- ปลา
- กาแฟ
- บริวเวอร์ยีสต์
- เบียร์และไวน์แดงบางยี่ห้อ
การขาดโครเมียมส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?
การขาดโครเมียมนั้นพบได้ไม่บ่อยนัก แม้ว่าแร่ธาตุชนิดนี้จะถูกดูดซึมได้ไม่ดีในร่างกายอยู่แล้ว อาหารที่มีน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์สูงอาจทำให้ร่างกายขับโครเมียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น
ความเสี่ยงของการขาดโครเมียมจะเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ดังนี้ การตั้งครรภ์และให้นมบุตร การออกกำลังกายอย่างหนัก ความเครียดทางร่างกายจากการติดเชื้อและการบาดเจ็บ
ความเป็นพิษ
ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการบริโภคโครเมียมจากอาหารหรืออาหารเสริมในปริมาณสูงนั้นมีอยู่แต่พบได้น้อย อาจเป็นเพราะโครเมียมถูกดูดซึมในลำไส้ได้ไม่ดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังการบริโภคโครเมียมเสริมในปริมาณสูงเนื่องจากมีบางการศึกษาพบว่าอาหารเสริมโครเมียมอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อไตและตับได้
รู้หรือไม่?
- แม้ว่าจะมีอยู่ในอาหารเพียงเล็กน้อย แต่โครเมียมก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุดในเปลือกโลกและในน้ำทะเล
- โครเมียมมีอยู่ 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ โครเมียมไตรวาเลนต์ (trivalent chromium) และโครเมียมเฮกซะวาเลนต์ (hexavalent chromium) โครเมียมไตรวาเลนต์เป็นชนิดที่พบในอาหารและอาหารเสริม และไม่เป็นพิษ ในขณะที่โครเมียมชนิดเฮกซะวาเลนต์พบได้ในมลพิษทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นพิษและเป็นสารก่อมะเร็งได้เมื่อสูดดมเข้าไป โดยจะมีผลข้างเคียง ได้แก่ ผิวหนังอักเสบ แผลที่ผิวหนัง และความเสียหายต่อไตและตับ
- Institute of Medicine, Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes for Vitamin A, Vitamin K, Arsenic, Boron, Chromium, Copper, Iodine, Iron, Manganese, Molybdenum, Nickel, Silicon, Vanadium, and Zinc. National Academy Press, Washington, DC, 2001.
- U.S. Department of Health and Human Services. Chromium Fact Sheet for Health Professionals. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Chromium-HealthProfessional/ Accessed 4/25/20.
- Cefalu WT, Hu FB. Role of chromium in human health and in diabetes. Diabetes care. 2004 Nov 1;27(11):2741-51.
- Huang H, Chen G, Dong Y, Zhu Y, Chen H. Chromium supplementation for adjuvant treatment of type 2 diabetes mellitus: Results from a pooled analysis. Molecular nutrition & food research. 2018 Jan;62(1):1700438.
- Costello RB, Dwyer JT, Bailey RL. Chromium supplements for glycemic control in type 2 diabetes: limited evidence of effectiveness. Nutrition reviews. 2016 Jul 1;74(7):455-68.
- Evert AB, Boucher JL, Cypress M, Dunbar SA, Franz MJ, Mayer-Davis EJ, Neumiller JJ, Nwankwo R, Verdi CL, Urbanski P, Yancy WS. Nutrition therapy recommendations for the management of adults with diabetes. Diabetes care. 2014 Jan 1;37(Supplement 1):S120-43.
- Tian H, Guo X, Wang X, He Z, Sun R, Ge S, Zhang Z. Chromium picolinate supplementation for overweight or obese adults. Cochrane Database of Systematic Reviews. 2013(11).
- Tsang C, Taghizadeh M, Aghabagheri E, Asemi Z, Jafarnejad S. A meta‐analysis of the effect of chromium supplementation on anthropometric indices of subjects with overweight or obesity. Clinical obesity. 2019 Aug;9(4):e12313.
- Maleki V, Izadi A, Farsad-Naeimi A, Alizadeh M. Chromium supplementation does not improve weight loss or metabolic and hormonal variables in patients with polycystic ovary syndrome: A systematic review. Nutrition research. 2018 Aug 1;56:1-0.
- Onakpoya I, Posadzki P, Ernst E. Chromium supplementation in overweight and obesity: a systematic review and meta‐analysis of randomized clinical trials. Obesity reviews. 2013 Jun;14(6):496-507.
- Cerulli J, Grabe DW, Gauthier I, Malone M, McGoldrick MD. Chromium picolinate toxicity. Annals of pharmacotherapy. 1998 Apr;32(4):428-31.
- World Health Organization. Chromium: Chapter 6.4. http://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0017/123074/AQG2ndEd_6_4Chromium.PDF. Accessed 4/25/20.