วิตามิน B2 (ไรโบฟลาวิน)
เลือกอ่านตามหัวข้อ
Add a header to begin generating the table of contents
วิตามิน B2 หรือไรโบฟลาวินสามารถถูกพบได้ทั้งในอาหารและมีจำหน่ายในประเภทอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบสำคัญของโคเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ การผลิตพลังงาน และช่วยในการสลายไขมัน เสตียรอย์และถูกใช้ในยารักษาบางชนิด ซึ่งวิตามิน B2 ส่วนใหญ่เมื่อถูกซึมซับในร่างกายจะถูกนำไปใช้ในทันทีและไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ ดังนั้นเมื่อทานวิตามิน B2 มากเกินไปมักจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
อย่างไรก็ตาม การทานวิตามิน B2 มากเกินไป (ซึ่งมักจะมาจากอาหารเสริม) อาจทำให้ปัสสาวะมีสีเหลือสดได้
ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ
ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ]
วิตามิน B2 มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?
เนื่องจากวิตามิน B2 มีหน้าที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดในร่างกาย การขาดวิตามินนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพ โดยการศึกษาในสัตว์แสดงให้เห็นว่าความผิดปกติของสมอง หัวใจและมะเร็งบางชนิดสามารถพัฒนาจากการขาดวิตามิน B2 ในระยะยาว
ไมเกรน
การทำงานของวิตามิน B2 ช่วยบรรเทา Oxidative stress และการอักเสบของเส้นประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของอาหารปวดหัวไมเกรน ทั้งนี้ซึ่งวิตามิน B2 ยังเป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์ไมโทคอนเดรีย (เซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตพลังงาน) จึงสามารถช่วยอาการไมเกรนที่อาจเกิดจากความผิดปกติของไมโทคอนเดรียในสมองได้เช่นกัน ด้วยคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้จึงมีการศึกษาจำนวนหนึ่งที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการป้องกันไมเกรนโดยใช้วิตามิน B2
- การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มผู้ใหญ่ 55 คนมีอาการไมเกรนได้รับวิตามิน B2 ในปริมาณ 400 มิลลิกรัม. ต่อวัน เป็นเวลา 4 เดือน พบว่าวิตามิน B2 สามารถลดความถี่ของการเกิดไมเกรนได้สองครั้งต่อเดือน มีการตั้งข้อสังเกตว่าประโยชน์ของวิตามิน B2 จะยังจะไม่เริ่มเห็นในเดือนแรก และแสดงให้เห็นประโยชน์สูงสุดหลังจากใช้ไปติดต่อกันสามเดือน
- การทดลองจำนวน 11 ครั้งเกี่ยวกับวิตามิน B2 เพื่อป้องกันโรคไมเกรนพบว่ามีการให้ผลลัพธ์ที่หลากหลาย โดยการทดลองแสดงให้เห็นว่าความถี่ของไมเกรนลดลงเล็กน้อยทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่คือ 400 มิลลิกรัม ต่อวัน และสำหรับเด็ก 200 มิลลิกรัม ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน รวมถึงไม่พบผลข้างเคียงเชิงลบจาการให้อาหารเสริมชนิดนี้
เนื่องจากมีการพบว่าหลายๆ คนได้รับประโยชน์จากอาหารเสริมวิตามิน B2 และมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย The Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology and the American Headache Society จึงสรุปว่าวิตามิน B2 อาจป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนและอนุมัติให้ใช้ในการรักษา
โรคหัวใจและหลอดเลือด
การศึกษาในสัตว์แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของสมอง หัวใจและอาการมะเร็งบางชนิดสามารถพัฒนาจากการขาดวิตามิน B2 ในระยะยาว
วิตามิน B2 สามารถควบคุมการไหลเวียนของระดับโฮโมซิสเทอีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ได้รับจากเนื้อสัตว์ การรับโฮมโนซิสเทอีนในเลือดมากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) ทั้งนี้วิตามิน B2 ยังทำงานร่วมกับวิตามิน B อื่นๆ เช่น B6 โฟเลต และ B12 เพื่อสลายโฮโมซิสเทอีนในร่างกาย
การศึกษาในสัตว์ฟันแทะแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของหัวใจและเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่เพิ่มขึ้นต่อโรคหัวใจเมื่อขาดวิตามิน B2
อย่างไรก็ตาม ระบบการควบคุมวิตามิน B2 และลำเลียงที่หัวใจของมนุษย์ทำได้อย่างไรนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด การศึกษาทางระบาดวิทยาไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการลดระดับโฮโมซิสเทอีนด้วยการเสริมวิตามิน B จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายหรือการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ทั้งนี้ทาง American Heart Association ไม่สนับสนุนการใช้อาหารเสริมวิตามิน B ในการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
วิตามิน B2 สามารถพบในอาหารชนิดไหนบ้าง?
วิตามิน B2 มักพบในเนื้อสัตว์และอาหารเสริมต่างๆ และยังพบในถั่วและผักใบเขียวบางชนิด รวมถึงในอาหารดังต่อไปนี้
- นมวัว
- โยเกิร์ต
- ชีส
- ไข่
- เนื้อวัวและเนื้อหมูไม่ติดมัน
- เนื้อเครื่องใน (ตับวัว)
- อกไก่
- แซลมอน
- ซีเรียลและขนมปัง
- อัลมอนด์
- ผักโขม
สัญญาณเตือนของการขาดวิตามิน B2
การขาดวิตามิน B2 พบได้ไม่มากนัก แต่ในผู้ที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มีโอกาสเพิ่มเสี่ยงของการขาดวิตามิน B2 ได้ และการขาดวิตามิน B2 ส่วนใหญ่มักเกิดร่วมกับการขาดสารอาหารอื่นๆ เช่นกัน
ซึ่งหากคุณขาดวิตามิน B2 ในระยะยาวอาจพบอาการเหล่านี้
- ริมฝีปากแตก
- เจ็บคอ
- อาการบวมของปากและคอ
- ลิ้นบวม
- ผมร่วง
- ผื่นที่ผิวหนัง
- โรคโลหิตจาง
- คันตาแดง
- โรคต้อกระจกแบบร้ายแรง
กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามิน B2
- กลุ่มมังสวิรัติ ที่มีการลดการบริโภค หรือยกเว้นอาหารจำพวกนมและเนื้อสัตว์
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ ให้นมบุตรและทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่บริโภคนม (แพ้แลคโตส) หรือเนื้อสัตว์ในปริมาณน้อย เพราะคนในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับสารอาหารมากกว่าปกติ
- ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับปัญหาการดูดซึมและการทำงานของวิตามิน B12 ในร่างกาย
รู้หรือไม่?
คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมการเก็บผลิตภัณฑ์นมในภาชนะแก้วถึงไม่เป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบัน? นั้นก็เพราะเมื่อวิตามิน B12 กระทบกับแสงแดดมากเกินไป จะทำให้วิตามิน B12 เกิดการเปลี่ยนรูปแบบและสูญเสียคุณประโยชน์ที่จำเป็นในที่สุด ดังนั้นในปัจจุบันนมจึงขายในรูปแบบกล่องหรือภาชนะพลาสติกทึบแสงเท่านั้น
- U.S. Department of Health and Human Services. Vitamin B2 Fact Sheet for Health Professionals. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Riboflavin-HealthProfessional/. Accessed 1/31/20.
- Institute of Medicine. Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes: Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B12, Pantothenic Acid, Biotin, and Choline. Washington, DC: National Academy Press; 1998.
- Schoenen J, Jacquy J, Lenaerts M. Effectiveness of high‐dose riboflavin in migraine prophylaxis A randomized controlled trial. Neurology. 1998 Feb 1;50(2):466-70.
- Thompson DF, Saluja HS. Prophylaxis of migraine headaches with riboflavin: a systematic review. Journal of clinical pharmacy and therapeutics. 2017 Aug;42(4):394-403.
- Holland S, Silberstein SD, Freitag F, Dodick DW, Argoff C, Ashman E. Evidence-based guideline update: NSAIDs and other complementary treatments for episodic migraine prevention in adults:[RETIRED]: Report of the Quality Standards Subcommittee of the American Academy of Neurology and the American Headache Society. Neurology. 2012 Apr 24;78(17):1346-53.
- Udhayabanu T, Karthi S, Mahesh A, Varalakshmi P, Manole A, Houlden H, Ashokkumar B. Adaptive regulation of riboflavin transport in heart: effect of dietary riboflavin deficiency in cardiovascular pathogenesis. Molecular and cellular biochemistry. 2018 Mar 1;440(1-2):147-56.
- Martí‐Carvajal AJ, Sola I, Lathyris D, Dayer M. Homocysteine‐lowering interventions for preventing cardiovascular events. Cochrane Database of Systematic Reviews. 2017(8).
- Lichtenstein AH, Appel LJ, Brands M, Carnethon M, Daniels S, Franch HA, Franklin B, Kris-Etherton P, Harris WS, Howard B, Karanja N. Diet and lifestyle recommendations revision 2006: a scientific statement from the American Heart Association Nutrition Committee. Circulation. 2006 Jul 4;114(1):82-96.