วิตามิน B3 (ไนอะซิน)

วิตามิน B3 (ไนอะซิน)

เลือกอ่านตามหัวข้อ

Add a header to begin generating the table of contents

ไนอะซินหรือวิตามิน B3 เป็นวิตามินที่พบได้ในอาหารหลากหลายชนิด มีบทบาทสำคัญเพื่อเปลี่ยนสารอาหารในร่างกายให้เป็นพลังงาน สร้างคอเลสเตอรอลและไขมัน รวมถึงซ่อมแซม DNA และออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งวิตามิน B3 ที่มักพบในอาหารและอาหารเสริมมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบได้แก่กรดนิโคตินิกและนิโคตินาไมด์

วิตามิน B3 ยังมีคุณสมบัติละลายในน้ำได้นั้นหมายความว่าร่างกายจะไม่กักเก็บเอาไว้ และจะถูกขับออกทางปัสสาวะหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ

ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ] 

วิตามิน B3 มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

โรคหัวใจและหลอดเลือด

เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้วที่วิตามิน B3 ในรูปแบบของกรดนิโคตินิกถูกมอบให้กับผู้ป่วยเพื่อรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง การตรวจเลือดในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติมักแสดงระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมที่สูงมากกว่าคนปกติ ซึ่งหมายถึง ค่า LDL (คอเลสเตอรอลไม่ดี) สูง และ HDL (คอเลสเตอรอลดี) ต่ำ และยังมีค่าไตรกลีเซอไรด์สูงอีกด้วย

ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทั่วไปในตลาดมักมีปริมาณกรดนิโคตินิกวิตามิน B3 ที่แนะนำในการบริโภคต่อวันสูงถึง 1,000-2,000 มิลลิกรัม ซึ่งมีการศึกษาพบว่าสามารถเพิ่มคอเลสเตอรอล HDL และลดคอเลสเตอรอล LDL และไตรกลีเซอไรด์ได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด อาจทำให้มีผลข้างเคียงในเชิงลบ เช่น ผิวหนังแดง ท้องไส้ปั่นป่วน และท้องเสีย 

ทั้งนี้ข้อมูลจากการศึกษาหลายชิ้นยังคงมีหลักฐานที่ไม่แน่ชัดว่ากรดนิโคตินิกสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจและ ช่วยให้การเสียชีวิตจากโรคนี้น้อยลงได้

  • แม้จะมีการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าวิตามิน B3 สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ และการเสียชีวิตจากโรคนี้แต่ผลการวิจัย 2 ชิ้นที่กลับสรุปไปในทิศทางตรงกันข้าม โดยการศึกษทั้ง 2 ชิ้นที่อ้างอิงมานี้เป็นการทดลองขนาดใหญ่ที่มีการติดตามผู้เข้าร่วมนานถึง 4 ปี มีการให้อาหารเสริมวิตามิน B3 (ปริมาณ 1,500-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน) ในการทดลองหนึ่ง ในขณะที่อีกการทดลองให้เพียงยาสแตติน การทดลองทั้งสองสรุปได้ว่าการเสริมวิตามิน B3 ไม่ได้ให้ประโยชน์ในเชิงบวก และไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่ลดลงของโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย หรือการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง แม้ว่าระดับคอเลสเตอรอล HDLและไตรกลีเซอไรด์จะดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญก็ตาม  ในการทดลองที่มีการเสริมวิตามิน B3 เพียงอย่างเดียวไม่พบความเสี่ยงที่ลดลงหลอดเลือดหัวใจและยังพบอาการไม่พึงประสงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานประเภท 2 เลือดออกในทางเดินอาหารและแผลในกระเพาะอาหาร และท้องเสีย
  • การศึกษาจาก  Cochrane เกี่ยวกับอาหารเสริมกรดนิโคตินิกต่อความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ พบว่าอาหารเสริมไม่ได้ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดและหัวใจ หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผลลัพธ์ของการทดลองต่างๆ เหล่านี้ทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) สรุปว่า “หลักฐานเกี่ยวการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ที่เกิดจากยาหรือการเพิ่มระดับ คอเลสเตอรอล HDL ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสแตตินต่อการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่สามารถเชื่อถือได้อีกต่อไป” ควบคู่ไปกับข้อสรุปนั้น FDA ระบุว่าประโยชน์ของยาที่มีส่วนประกอบวิตามิน B3 และแคปซูลกรดฟีโนไฟบริกที่รับประทานร่วมกับยากลุ่มสแตตินนั้นไม่ได้ให้ผลในเชิงบวกต่อความเสี่ยงที่ว่ามานี้ และไม่แนะนำให้รับประทาน

ความรู้ความเข้าใจของสมอง (Cognitive health)

การขาดวิตามิน B3 อย่างรุนแรงสามารถส่งผลกระทบต่อความรู้ความเข้าใจของสมอง เช่น การสูญเสียความทรงจำและภาวะสมองเสื่อม เชื่อกันว่าวิตามิน B3 ช่วยปกป้องเซลล์สมองจากความเครียดและการบาดเจ็บได้ อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการได้รับวิตามิน B3 ในปริมาณที่น้อยลงอาจส่งผลเสียต่อการทำงานของสมองจริงหรือไม่

  • การศึกษาในผู้ชายและผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไปจำนวน 3,718 คนเป็นเวลา 6 ปี โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับอาหารและการประเมินความรู้ความเข้าใจ พบผลการป้องกันโรคอัลไซเมอร์และการลดลงของความรู้ความเข้าใจเมื่อเปรียบเทียบจากปริมาณวิตามิน B3 ที่ได้รับจากมากไปถึงน้อย
  • การศึกษาการพัฒนาความเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจในชายหญิงอายุ 18-30 ปีจำนวน 3,136 คนเป็นเวลา 25 ปี โดยการศึกษาได้ทำการวัดผลการบริโภคอาหารและอาหารเสริมกลุ่มวิตามิน B ต่อการทำงานของสมอง ซึ่งได้ข้อสรุปว่าผู้เข้าร่วมในกลุ่มที่บริโภควิตามิน B สูงขึ้นโดยเฉพาะวิตามิน B3 มีคะแนนการรับรู้ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การวัดระดับการได้รับข้อมูลของสมอง (Cognitive function) นั้นสิ้นสุดเพียงเมื่อการศึกษาเสร็จสิ้น ดังนั้นจึงไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของสมองในระยะยาว

การศึกษาในด้านนี้ยังมีจำนวนจำกัด แต่ก็มีการศึกษาหลายชิ้นที่กำลังดำเนินการอยู่ซึ่งอาจให้ข้อมูลที่แน่ชัดมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของวิตามิน B3 ต่อสุขภาพสมอง

วิตามิน B3 มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

การขาดวิตามิน B3 นั้นเกิดขึ้นได้ยากเพราะสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด ทั้งจากสัตว์และพืช อย่างเช่น

  • เนื้อแดง: เนื้อวัว, ตับเนื้อวัว, เนื้อหมู
  • สัตว์ปีก
  • ปลา
  • ข้าวกล้อง
  • ธัญพืชและขนมปัง
  • ถั่วเมล็ดพืช
  • พืชตระกูลถั่ว
  • กล้วย
  • อาหารเสริม

วิตามิน B3 มีอยู่ในรูปของกรดนิโคตินิกหรือนิโคตินาไมด์ และบางครั้งปริมาณแนะนำในอาหารเสริมอาจเกินกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวันมาก ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการทานมากเกินไป นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามิน B3 ยังเป็นยาที่ใช้ในการรักษาระดับคอเลสเตอรอลสูง โดยทั่วไปแล้วจะมาในรูปแบบ Extended release ซึ่งเป็นรูปแบบที่จะปลดปล่อยกรดนิโคตินิกได้ในระยะนานกว่าปกติซึ่งช่วยให้การดูดซึมช้าลงและค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดการได้รับสารมากเกินไป เนื่องจากร่างกายต้องการกรดนิโคตินิก มากถึง 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารเสริมตัวนี้จึงควรใช้เมื่ออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

สัญญาณเตือนของการขาดวิตามิน B3

การขาดวิตามิน B3 นั้นเกิดขึ้นได้ยากในประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากสามารถพบได้ในอาหารในชีวิตประจำวัน (ยกเว้นธัญพืชบางชนิดที่วิตามิน B3 จับกับเส้นใย ทำให้การดูดซึมลดลง) และเป็นส่วนประสอบในอาหารเสริมวิตามินรวมหลายชนิด แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศ อาหารอาจมีโภชนาการที่ไม่ครบถ้วน การขาดวิตามิน B3 อย่างรุนแรงจะนำไปสู่โรคเพลลากรา ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดผื่นคัน ในบางครั้งเป็นสะเก็ดสีดำตามบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับแสงแดด รวมถึงอาจทำให้ลิ้นมีสีแดงสด และเกิดอาการท้องผูก/ท้องเสีย 

ยังมีสัญญาณอื่นๆ ของการขาดวิตามิน B3 อย่างรุนแรง ได้แก่:

  • ภาวะซึมเศร้า
  • ปวดศีรษะ
  • รู้สึกเหนื่อยล้า
  • สูญเสียความทรงจำ
  • เกิดภาพหลอน

กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามิน B3

  • ผู้ที่ได้รับโภชนาการอย่างจำกัด หรือได้รับอาหารในปริมาณน้อย เช่น ผู้ที่มีความยากจนหรือผู้ที่ป่วยหนัก ในประเทศกำลังพัฒนาที่กินข้าวโพดเป็นแหล่งอาหารหลักสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเพลลากรา เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีวิตามิน B3 และทริปโตเฟนในปริมาณต่ำ
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ไรโบฟลาวิน หรือวิตามิน B6 น้อยเกินไป ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จำเป็นต่อการเปลี่ยนทริปโตเฟนเป็นวิตามิน B3
  • ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ทำให้การดูดซึมสารอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายในน้ำ รวมทั้งกลุ่มวิตามิน B จะลดลงเมื่อดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • กลุ่มอาการคาร์ซินอยด์ นี่คือโรคของเซลล์มะเร็งที่เติบโตช้าในลำไส้ซึ่งปล่อยสารเคมีที่เรียกว่าเซโรโทนิน กลุ่มอาการนี้ทำให้ทริปโตเฟนในอาหารเปลี่ยนเป็นเซโรโทนินมากกว่าวิตามิน B3 ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับวิตามิน B3 น้อยลง
  • คนที่เป็นโรค Hartnup ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่หาได้ยาก

ความเป็นพิษ

ความเป็นพิษเมื่อรับประทานอาหารที่มีวิตามิน B3 นั้นพบได้ยาก แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้อาหารเสริมในปริมาณสูงเป็นระยะเวลานาน โดยอาจจะมีอาการคันหรือรู้สึกแปล๊ปๆบนใบหน้า แขน และหน้าอก

สัญญาณเตือนอื่นๆ

สัญญาณการเป็นพิษอื่นๆ:

  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ความเหนื่อยล้า
  • ปวดศีรษะ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ความทนทานต่อกลูโคสบกพร่องและการอักเสบของตับในกรณีที่รุนแรง (ในปริมาณที่สูงมาก 3,000-9,000 มก. ต่อวันเป็นเวลาหลายเดือน/ปี)

การเสริมวิตามิน B3 มีผลกระทบต่อยาชนิดอื่นๆ หรือไม่

ผลิตภัณฑ์เสริมวิตามิน B3 สามารถมีปฏิกิริยาหรือรบกวนยาบางชนิดที่คุณรับประทานได้ และยาบางชนิดสามารถลดระดับวิตามิน B3 ในร่างกายของคุณ เช่น:

  • ยารักษาวัณโรค (เช่น isoniazid และ pyrazinamide) สามารถรบกวนความสามารถของร่างกายในการเปลี่ยนโพรไบโอเป็นวิตามิน B3 ซึ่งส่งผลต่อระดับวิตามิน B3 ในร่างกาย
  • กรดนิโคตินิกในปริมาณสูง (มากกว่า 1,500 มิลลิกรัม/วัน) สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและรบกวนประสิทธิภาพของยารักษาโรคเบาหวาน และสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานได้

คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและยาต่างๆ ที่คุณกำลังรับประทานอยู่เพื่อที่พวกเขาจะบอกคุณได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อยาที่ใช้ในการรักษา หรืออาจรบกวนการทำงานของระบบในร่างกายอย่างไร

รู้หรือไม่?

  • เชื่อกันว่าวิตามิน B หลายชนิดช่วยเพิ่มพลังงานในร่างกาย รวมทถึงวิตามิน B3 เนื่องจากวิตามิน B3 มีคุณสมบัติสามารถละลายน้ำ (ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นพิษต่อร่างกายน้อย) หลายๆคนไม่ได้ระมัดระวังการรับประทานอาหารเสริมที่อาจให้วิตามินมาในปริมาณที่มากกว่าปริมาณแนะนำถึง 100 เท่า แม้ว่าวิตามิน B3 จะช่วยการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดในร่างกายเพื่อเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน  แต่การได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็ไม่ได้ช่วยให้ระดับพลังงานเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น การรับประทานอาหารที่มีความสมดุลทางโภชนาการกับการได้รับอาหารที่หลากหลายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ได้ประโยชน์จากวิตามิน B3 มากที่สุด
  • ข้าวโพดมีวิตามิน B3 สูงโดยธรรมชาติ แต่จะจับกับคาร์โบไฮเดรตซึ่งทำให้ร่างกายดูดซึมได้ยาก 
  • เดิมทีไนอะซิน (Niacin) มีชื่อเรียกว่า นิโคตินิก (Nicotinic) เนื่องจากสามารถสร้างขึ้นโดยปฏิกิริยาออกซิเดชันของนิโคตินกับกรดไนตริก แต่นิโคตินนั้นถูกรู้จักกันในนามของสารเสพติดในยาสูบที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ดังนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Niacin ที่ย่อมาจาก NIcotinic ACid vitamIN แทน

Reference

  1. Institute of Medicine. Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes: Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B12, Pantothenic Acid, Biotin, and Choline. Washington, DC: National Academy Press, 1998.
  2. National Institutes of Health Office of Dietary Supplements: Niacin Fact Sheet for Health Professionals https://ods.od.nih.gov/factsheets/Niacin-HealthProfessional/. Accessed 1/24/2020.
  3. Aim-High Investigators. Niacin in patients with low HDL cholesterol levels receiving intensive statin therapy. New England Journal of Medicine. 2011 Dec 15;365(24):2255-67.
  4. HPS2-Thrive Collaborative Group. Effects of extended-release niacin with laropiprant in high-risk patients. New England Journal of Medicine. 2014 Jul 17;371(3):203-12.
  5. Schandelmaier S, Briel M, Saccilotto R, Olu KK, Arpagaus A, Hemkens LG, Nordmann AJ. Niacin for primary and secondary prevention of cardiovascular events. Cochrane Database of Systematic Reviews. 2017(6).
  6. The U.S. Food and Drug Administration. Withdrawal of Approval of Indications Related to the Coadministration With Statins in Applications for Niacin Extended-Release Tablets and Fenofibric Acid Delayed-Release Capsules. 4/18/2016. https://www.federalregister.gov/documents/2016/04/18/2016-08887/abbvie-inc-et-al-withdrawal-of-approval-of-indications-related-to-the-coadministration-with-statins Accessed 1.27.2020.
  7. Morris MC, Evans DA, Bienias JL, Scherr PA, Tangney CC, Hebert LE, Bennett DA, Wilson RS, Aggarwal N. Dietary niacin and the risk of incident Alzheimer’s disease and of cognitive decline. Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry. 2004 Aug 1;75(8):1093-9.
  8. Qin B, Xun P, Jacobs Jr DR, Zhu N, Daviglus ML, Reis JP, Steffen LM, Van Horn L, Sidney S, He K. Intake of niacin, folate, vitamin B-6, and vitamin B-12 through young adulthood and cognitive function in midlife: the Coronary Artery Risk Development in Young Adults (CARDIA) study. The American journal of clinical nutrition. 2017 Oct 1;106(4):1032-40.
  9. Csiszar A, Tarantini S, Yabluchanskiy A, Balasubramanian P, Kiss T, Farkas E, Baur JA, Ungvari Z. Role of endothelial NAD+ deficiency in age-related vascular dysfunction. American Journal of Physiology-Heart and Circulatory Physiology. 2019 Jun 1;316(6):H1253-66.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *