วิตามิน B5 (กรดแพนโทเทนิก)

วิตามิน B5 (กรดแพนโทเทนิก)

เลือกอ่านตามหัวข้อ

Add a header to begin generating the table of contents

วิตามิน B5 หรือกรดแพนโทเทนิก สามารถพบได้ตามธรมมชาติในอาหาร และมีอยู่ในรูปแบบของอาหารเสริม โดยมีบทบาทสำคัญในการผลิตโคเอนไซม์เอ (CoA) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ช่วยเอนไซม์ทั้งในการสร้างและสลายกรดไขมัน รวมถึงสนับสนุนกระบวนการทำงานต่างๆ ของร่างกายเพื่อให้ทำงานได้อย่างสมดุล ทั้งนี้กรดแพนโทเทนิกยังสามารถสร้างได้เองตามธรรมชาติจากแบคทีเรียในลำไส้ แต่ก็เป็นเพียงปริมาณที่ไม่มากจึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

อย่างไรก็ตาม การทานวิตามิน B2 มากเกินไป (ซึ่งมักจะมาจากอาหารเสริม) อาจทำให้ปัสสาวะมีสีเหลือสดได้

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ

ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ] 

วิตามิน B5 มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

เนื่องจากวิตามิน B5 ช่วยในการสลายไขมัน จึงได้มีการศึกษาถึงบทบาทที่เป็นไปได้ในการลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่มีความเข้มข้นของไขมันในเลือดสูงผิดปกติ (เช่น ค่า LDL หรือค่าคอเลสเตอรอลไม่ดีในปริมาณสูง และไตรกลีเซอไรด์สูง) และมีระดับ HDL หรืค่าคอเลสเตอรอลดี ในระดับต่ำ 

มีการอ้างอิงว่าวิตามิน B5 อาจมีผลต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบรรเทาภาวะการอักเสบแบบอ่อน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ในระยะแรกของโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม การวิจัยในเรื่องนี้ยังมีจำนวนจำกัด และไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอาหารเสริมวิตามิน B5 สามารถลดไขมันในเลือดได้หรือไม่

มีการศึกษาโดยให้กลุ่มชายหญิง 216 คนที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในระดับปานกลางบริโภคเอนไซม์เอ ปริมาณ 400 มิลลิกรัม หรือแพนเทธีน (Pantethine) 600 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ (แพนเทธีนเป็นวิตามิน B5 อีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการศึกษาเพื่อควบคุมภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ) และได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับอาหารลดคอเลสเตอรอล

หลังจากผ่านไป 8 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมกลุ่มโคเอนไซม์เอ มีไตรกลีเซอไรด์ลดลง 33% ทั้งนี้ระดับคอเลสเตอรอลรวมยังลดลงและมีคอเลสเตอรอล HDL เพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มแพนเทธีนมีระดับคอเลสเตอรอลรวมและไตรกลีเซอไรด์ลดลงเล็กน้อย และไม่พบผลข้างเคียงเชิงลบจากอาหารเสริมชนิดนี้

วิตามิน B5 สามารถพบในอาหารชนิดไหนบ้าง?

วิตามิน B5 พบได้ในอาหารจากพืชและสัตว์เกือบทุกชนิด โดยแหล่งที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ซีเรียลที่มีการเติมสารอาหาร และผักบางชนิด 

รวมถึงแหล่งอาหารอื่นๆ เช่น

  • เครื่องในสัตว์ (ตับ ไต)
  • เนื้อวัว
  • อกไก่
  • เห็ด
  • อะโวคาโด
  • ถั่วเมล็ดพืช
  • นมโค
  • โยเกิร์ต
  • มันฝรั่ง
  • ไข่
  • ข้าวกล้อง
  • ข้าวโอ้ต
  • บร็อคโคลี

สัญญาณเตือนของการขาดวิตามิน B5

เนื่องจากวิตามิน B5 สามารถพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด การขาดวิตามินประเภทนี้จึงเกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็สามารถพบได้ในบางกรณี เช่น ในผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการอย่างรุนแรง และในบุคคลที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งไม่สามารถดูดซึมวิตามิน B5 ได้  

การขาดวิตามิน B5 ส่งผลให้เกิดอาการ เช่น

  • ปวดศีรษะ
  • รู้สึกเหนื่อยล้า
  • หงุดหงิดกระสับกระส่าย
  • การนอนหลับผิดปกติ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • อาการชาหรือแสบร้อนที่มือหรือเท้า
  • ปวดกล้ามเนื้อ

รู้หรือไม่?

อาหารเสริมวิตามิน B5 มักถูกกล่าวอ้างสรรพคุณว่าสามารถช่วยบรรเทาโรคได้หลากหลาย ตั้งแต่อาการแพ้และรังแค ไปจนถึง ปวดขาและโรคข้ออักเสบ อย่างไรก็ตามยังมีการวิจัยที่สนับสนุนในคำกล่าวอ้างเหล่านี้จำนวนน้อยมากในปัจจุบัน

Reference

  1. Institute of Medicine. Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes: Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B12, Pantothenic Acid, Biotin, and Choline. Washington, DC: National Academy Press; 1998.
  2. U.S. Department of Health and Human Services. Pantothenic Acid Fact Sheet for Health Professionals. https://ods.od.nih.gov/factsheets/PantothenicAcid-HealthProfessional/. Accessed 2/3/20.
  3. Chen YQ, Zhao SP, Zhao YH. Efficacy and tolerability of coenzyme A vs pantethine for the treatment of patients with hyperlipidemia: A randomized, double-blind, multicenter study. Journal of clinical lipidology. 2015 Sep 1;9(5):692-7.
  4. Jung S, Kim MK, Choi BY. The long-term relationship between dietary pantothenic acid (vitamin B5) intake and C-reactive protein concentration in adults aged 40 years and older. Nutrition, Metabolism and Cardiovascular Diseases. 2017 Sep 1;27(9):806-16.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *