ปรับแต่งการตั้งค่าความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณนำทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละหมวดด้านล่าง

คุกกี้ที่ถูกจัดประเภทเป็น "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้จำเป็นสำหรับการเปิดใช้งานฟังก์ชันพื้นฐานของไซต์... 

แสดงตลอดเวลา

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

ไม่แสดงคุกกี้

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

ไม่แสดงคุกกี้

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

ไม่แสดงคุกกี้

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

ไม่แสดงคุกกี้

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ไม่แสดงคุกกี้

แนะนำเมนูอาหารโรคไต 7 วัน พร้อมคำแนะนำอะไรควร – ไม่ควรกิน

เมนูอาหารโรคไต 7 วัน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในโรคใกล้ตัวของทุกคนและสร้างความรุนแรงต่อสุขภาพมากถึงขั้นเสียชีวิตได้ต้องยกให้กับ “โรคไต” (Kidney Disease) ซึ่งเป็นภาวะที่ไตทำงานลดลง หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ นั่นหมายถึงร่างกายของผู้ป่วยจะเจอกับปัญหาของการขจัดสารพิษ สารตกค้าง และของเสียในร่างกายที่ด้อยประสิทธิภาพลง การควบคุมน้ำ และแร่ธาตุต่าง ๆ การหลั่งฮอร์โมน ผิดปกติ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ชีวิต จนอาจถึงขั้นต้องฟอกไตเพื่อช่วยให้ร่างกายขับของเสียออกมาได้ ไม่เกิดการคั่งค้าง อย่างไรก็ตามนอกจากการรักษาของแพทย์แล้วก็อยากแนะนำเมนูอาหารโรคไต 7 วัน ที่ผู้ป่วยสามารถกินได้ พร้อมคำแนะนำเพิ่มเติมว่าอาหารชนิดใดควรกินและไม่ควรกินบ้าง

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไต พร้อมวิธีสังเกตอาการ

สาเหตุหลักของการเกิดโรคไตเนื่องจากพฤติกรรมกินอาหารรสเค็มจัด หรือชอบปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรสเค็ม การกินอาหารแปรรูป ซอส น้ำจิ้มรสจัด อาหารกระป๋อง ของหมักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารที่มีส่วนผสมของสารกันบูด ผงฟู เนื่องจากการกินอาหารเหล่านี้ร่างกายจะได้รับโซเดียมในปริมาณมากเกินไป (ทางการแพทย์แนะนำว่าไม่ควรได้รับโซเดียมเกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม / วัน) อย่างไรก็ตามนอกจากการกินเค็มแล้วก็ยังมีสาเหตุจากปัจจัยอื่นร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็น

  • ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติ หรือไตไม่สมบูรณ์ตั้งแต่กำเนิด เช่น การมีไตข้างเดียว ไตฝ่อ ทำให้มวลเนื้อไตลดลง ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • ผลกระทบจากการมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง โรคเก๊าท์ โรค SLE (โรคแพ้ภูมิตัวเอง)
  • การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานานติดต่อกันหลายปี ทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ส่งผ่านเลือดไปยังไตเสื่อมสภาพลง
  • เกิดภาวะหลอดเลือดฝอยในไตอักเสบ
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนบ่อย ๆ
  • การมีนิ่วในไตหรือนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • มีถุงน้ำในไตมากกว่า 3 ตำแหน่ง จากการตรวจของแพทย์
  • การได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ติดต่อกันนาน ๆ
  • การดื่มน้ำน้อยเกินไปในแต่ละวัน ส่งผลให้เกิดภาวะไตขาดน้ำ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • บางครั้งอาจมีปัญหาสารเคมีสะสมในระบบทางเดินปัสสาวะและตกตะกอนเป็นนิ่วในไต หรือสิ่งทางเดินปัสสาวะ

ขณะที่อาการโรคไตปกติแล้วคนที่ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอหากแพทย์พบความผิดปกติจะแจ้งให้ทราบเร็วที่สุดเพื่อการดูแลรักษาตนเองได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตามอาการที่พอสังเกตได้ เช่น ปวดเอว ปวดหลังมากกว่าปกติทั้งที่ไม่ได้ยกของหนัก ไม่ได้ทำท่าทางใด ๆ ผิดปกติ หน้าบวม ตาบวม ขาบวม ตัวบวม ปัสสาวะมีฟอง เป็นเลือด หรือปัสสาวะกลางคืนบ่อย ความดันโลหิตสูง หรือบางรายคลื่นไส้อาเจียน

หลักการสำคัญของการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคไต

ไม่ว่าใครก็ตามหากป่วยเป็นโรคไตแล้ว การควบคุมอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยบรรเทาความรุนแรง ลดความเสี่ยงที่จะทำให้ตัวโรคกำเริบหรือเพิ่มระยะจนเข้าสู่ภาวะวิกฤต หากคุณคือผู้ป่วยหรือต้องคอยดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาหารนั่นคือ การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับตัวโรคและร่างกายยังคงได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ซึ่งประเภทของสารอาหารที่ต้องได้รับการควบคุมมากเป็นพิเศษ ประกอบไปด้วย กลุ่มอาหารที่มีโปรตีนสูง โพแทสเซียม โซเดียม และฟอสฟอรัส เพื่อไม่ให้ไตรับภาระทำงานหนักมากเกินไป ซึ่งกลุ่มอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไต สามารถกินได้ในปริมาณเหมาะสม ได้แก่

  • ไข่ขาว
  • ข้าว วุ้นเส้นถั่วเขียว เส้นเซี่ยงไฮ้
  • เนื้อปลาไม่มีมัน สันในไก่ น่องไก่ (ลอกหนังออกทั้งหมด) สันในหมู สันนอกหมู (ตัดส่วนมันหรือหนังออกทั้งหมด)
  • น้ำเปล่า
  • น้ำมันรำข้าว (กรณีต้องกินของผัดหรือทอด) รวมถึง น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง หรือน้ำมันงาก็ปรุงอาหารได้ แต่ต้องใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แนะนำเมนูอาหารโรคไต 7 วัน กินอะไรดีไม่ให้รู้สึกเบื่อ

เข้าใจดีว่าผู้ป่วยโรคไตหลายคนรู้สึกเบื่อที่ต้องกินอาหารรสจืดชืด หรือกินแต่เมนูเดิมซ้ำ ๆ เพื่อไม่ทำให้อาการของโรครุนแรง หรือพัฒนาระยะไปจนถึงขั้นอันตราย อย่างไรก็ตามเพื่อบอกลาความน่าเบื่อดังกล่าวจึงอยากแนะนำเมนูอาหารโรคไต 7 วัน ให้ตัวผู้ป่วยหรือผู้ดูแลลองนำไปปรุงสลับกินแต่ละมื้อ นอกจากลดความน่าเบื่อของการกินอาหารแล้วยังดีต่อสุขภาพไตอีกด้วย

1. ผัดบวบใส่ไข่ เมนูโปรดของหลายคนกินกันมาตั้งแต่เด็ก ด้วยบวกมีโพแทสเซียมต่ำ ขณะที่ไข่ไก่ให้โปรตีนไม่สูงจนเกินไปนัก อย่าลืมใช้น้ำมันและเครื่องปรุงรสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

2. มะระจีนผัดไข่ ผัดผักอีกชนิดที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้แบบไม่ต้องกังวลใจ ขอแค่ปรุงรสนิดหน่อยและยังได้รับโปรตีนจากไข่ไก่อีกต่างหาก

3. แกงส้มเนื้อปลา อยากได้ความอร่อยขึ้นมาบ้างก็ยังสามารถเลือกเมนูแกงส้มเป็นเมนูอาหารโรคไต 7 วันได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องใช้เนื้อปลาลอกหนัง หรือส่วนที่ไม่มัน ขณะที่เครืองแกงส้มห้ามใส่กะปิกับผงชูรสเด็ดขาด ส่วนเครื่องปรุงอื่นก็เบามือให้พอมีรสชาติไม่ต้องจัดจ้านเหมือนคนปกติกิน ขณะที่ผักรวมเน้นผักสีขาวหรือสีอ่อนเพราะมีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ฟัก ผักกาดขาว ข้าวโพดอ่อน กะหล่ำปลี แตงโมอ่อน

4. ผัดเปรี้ยวหวานหมูหรือไก่ อีกเมนูที่พอจะมีรสชาติและไม่ทำให้รู้สึกเบื่อ แต่ต้องใช้เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปรุงรสด้วยน้ำตาลและซอสสูตรโซเดียมต่ำเพียงเล็กน้อย ผักเลือกเป็นกลุ่มผักสีขาวหรือสีอ่อน เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา

5. ต้มฟักใส่น่องไก่ ฟักถือเป็นผักสีขาวที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้แบบไม่มีปัญหา แต่อย่าปรุงรสเค็ม ขณะที่น่องไก่เป็นส่วนที่มีปริมาณพิวรีนน้อยมาก กินได้เช่นกัน

6. ต้มจืดตำลึงหมูสับหรือไก่สับ วันไหนอยากซดน้ำซุปร้อน ๆ ก็สามารถทำเมนูนี้ให้กับผู้ป่วยโรคไตกินได้ อาจเพิ่มวุ้นเส้นเพื่อให้อิ่มมากขึ้น แต่ห้ามใส่ผักชีเพราะมีโพแทสเซียมสูง อย่าปรุงรสเค็ม และห้ามใส่ผงชูรสเด็ดขาด

7. ผัดวุ้นเส้นใส่ไข่ เมนูอาหารโรคไต 7 วัน ที่ได้ทั้งความอร่อยและอิ่มท้อง ไม่เน้นรสเค็ม เน้นความกลมกล่อมแบบพอดี ๆ ส่วนไข่ก็มีโปรตีนปริมาณเหมาะสมไม่มากเกินไป หรือใครจะเพิ่มเนื้อสัตว์เป็นไก่ หมู ก็ไม่ว่ากัน เน้นส่วนที่ไม่ติดมันก็เพียงพอ

8. ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้ขาวและเห็ดหูหนู ถั่วงอกถือเป็นผักที่มีโพแทสเซียมต่ำอีกชนิด ส่วนเต้าหู้ขาวแนะนำใช้แบบแข็งประมาณครึ่งก้อนเพื่อร่างกายจะได้ไม่รับฟอสฟอรัสมากเกินไป ปิดท้ายด้วยการใส่เห็ดหูหนูที่โพแทสเซียมต่ำสุดจากบรรดาเห็ดที่กิน ปรุงรสไม่ต้องเค็ม ใช้น้ำมันเพียงเล็กน้อยในการผัด

9. โจ๊กไข่ขาว หรือ ข้าวต้มใส่ไข่ขาว ไข่ขาวเป็นวัตถุดิบที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้แบบไม่ต้องกังวลใจ ได้โปรตีนเพียงพอและยังมีกรดอะมิโนจำเป็นครบ โพแทสเซียมกับฟอสฟอรัสต่ำ จะเพิ่มความอร่อยด้วยเนื้อปลา เนื้อไก่ หรือเนื้อหมู ก็ไม่ว่ากัน เหมาะกับวันที่รู้สึกเพลีย อยากกินอะไรง่าย ๆ ซดน้ำคล่องคอ

10. กะหล่ำผัดไข่ใส่ไก่ เมนูยอดฮิตติดลมบนของคนไทยที่ผู้ป่วยโรคไตก็ยังกินได้ ผัดด้วยน้ำมันเพียงเล็กน้อย ใส่ไข่และไก่ส่วนไม่ติดมันลงไป ปรุงรสธรรมดาไม่ต้องเค็มจัดก็ทานกับข้าวสวยร้อน ๆ ได้เลย

โรคไตห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง พร้อมผลไม้ที่คนเป็นโรคไตกินได้

อย่างที่อธิบายเอาไว้ว่าผู้ป่วยโรคไตจะต้องกินอาหารให้ถูกหลัก ลดปริมาณของโปรตีน โพแทสเซียม โซเดียม และฟอสฟอรัสให้เหมาะสม ดังนั้นผลไม้บางประเภทที่มีสารอาหารเหล่านี้สูงจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตสักเท่าไหร่นัก ซึ่งคนเป็นโรคไตห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง ก็พอจะแนะนำได้ ดังนี้

ทุเรียน ลำไย กล้วย ถั่ว เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ ฝรั่ง มะปราง ลูกพีช กีวี่ กะท้อน ส้ม แก้วมังกร มะละกอ น้อยหน่า มะม่วงสุก มะพร้าว มะขามหวาน อินทผลัม ขนุน มะเฟือง ผลไม้แปรรูทุกประเภท เป็นต้น

แล้วแบบนี้จะมีผลไม้ที่คนเป็นโรคไตกินได้อะไรให้เลือกบ้าง ตัวอย่างที่แนะนำ เช่น แตงโม องุ่นเขียว ชมพู่ ฟักทอง แอปเปิล มังคุด เงาะ ลองกอง พุทรา มะม่วงดิบ สับปะรด ลูกแพร์ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องกินในปริมาณเหมาะสม ไม่เยอะจนเกินไป เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางชนิดในผลไม้ดังกล่าวสูงเกินไป

โรคไตห้ามกินผักอะไรบ้าง

ในส่วนของผักก็ใช้หลักการเดียวกับการทานผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคไตนั่นคือต้องหลีกเลี่ยงผักที่มีโพแทสเซียม และฟอสฟอรัสสูง เช่น ชะอม กวางตุ้ง คะน้า มันเทศ โหระพา ขี้เหล็ก แครอท หัวปลี มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือพวง มะเขือเทศ ใบแมงลัก บล็อกโคลี่ เห็ดนางฟ้า หอมแดง ขึ้นฉ่าย กะเพรา เป็นต้น

ซึ่งผักที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตควรเน้นผักสีขาวหรือสีอ่อน เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ข้าวโพดอ่อน ไปจนถึงใบตำลึง เห็ดหูหนู ถั่วงอก แตงโมอ่อน

โรคไตกินข้าวเหนียวได้ไหม

ผู้ป่วยโรคไตยังสามารถกินข้าวเหนียวได้ไม่ต่างจากข้าวขาวทั่วไป เพียงแต่ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม เฉลี่ยมื้อละไม่เกินครึ่งทัพพี และควรลดปริมาณข้าวขาวของมื้อนั้นลงเพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป และต้องเลือกทานกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ดีต่อโรคเท่านั้น

ทั้งหมดนี้คือเมนูอาหารโรคไต 7 วัน รวมถึงข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ของโรคไตทั้งเรื่องของผัก ผลไม้ ชนิดไหนควร – ไม่ควรทาน ซึ่งผู้ป่วยโรคไตแม้การรักษาให้หายขาดยังเป็นเรื่องยาก แต่ทุกคนก็ยังสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และกินอาหารที่ยังได้รสชาติความอร่อยในระดับที่เหมาะสมกับตนเองอยู่เช่นกัน

Ref:

  1. https://www.bangkokhospitalrayong.com/kidney-disease/
  2. https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/5_44_1.pdf
  3. https://www.nakornthon.com/article/detail/สาเหตุโรคไตไม่ใช่แค่กินเค็ม
  4. https://www.praram9.com/food-for-ckd-patients/
  5. https://www.vimut.com/article/food-for-kidney-disease-patients
  6. https://rph.co.th/8494/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *