คลอไรด์

คลอไรด์

เลือกอ่านตามหัวข้อ

    Add a header to begin generating the table of contents

    คลอไรด์เป็นแร่ธาตุที่พบได้ในรูปของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า “เกลือ” มีบทบาทสำคัญในการช่วยควบคุมปริมาณของเหลวและประเภทของสารอาหารที่เข้าและออกจากเซลล์ รักษาสมดุลของภาวะกรด-ด่างในร่างกาย กระตุ้นกรดในกระเพาะที่จำเป็นต่อการย่อยอาหาร กระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ และส่งเสริมการไหลเวียนของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ภายในเซลล์

    ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ

    ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ] 

    คลอไรด์สามารถพบในอาหารชนิดไหนบ้าง?

    คลอไรด์สามารถพบได้มากในเกลือที่ใช้ปรุงอาหารและสารกันบูดในอาหารแปรรูป รวมถึงจากเนื้อสัตว์และอาหารทะเลแม้จะมีปริมาณน้อย

    คลอไรด์ยังสามารถพบได้ในอาหารอื่นๆ เช่น

    • เกลือทะเล เกลือโคเชอร์
    • สาหร่ายทะเล
    • กุ้ง
    • อาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ เนื้อสำเร็จรูป ฮอทด็อก ชีส และมันฝรั่งทอด
    • เครื่องปรุงรสโซเดียมสูง ได้แก่ ซอสถั่วเหลือง ซอส Worcestershire ซอสมะเขือเทศ

    สัญญาณเตือนของการขาดคลอไรด์

    การขาดคลอไรด์นั้นพบได้ไม่บ่อยนัก เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่มีโซเดียมสูงและอาหารที่มีโซเดียมส่วนใหญ่จะมีคลอไรด์อยู่ด้วย การสูญเสียคลอไรด์ในร่างกายมักจะเกิดจาก

    • สภาวะที่ร่างกายกำจัดของเหลวออกจากร่างกายมากเกินไป เช่นการท้องเสียเป็นเวลานาน อาเจียน หรือเสียเหงื่อมากเกินไป 
    • ยาขับปัสสาวะ(Diuretic) ทำหน้าที่ระบายของเหลวและโซเดียมส่วนเกินออกจากไตจึงทำให้ระดับคลอไรด์ลงลงไปด้วย
    • ในกรณีที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากอย่างกะทันหัน เช่น ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไตจะขับโซเดียมและน้ำออกจากร่างกายมากขึ้น ส่งผลให้ระดับคลอไรด์ลดลง

    ความเป็นพิษต่อร่างกาย

    ความเป็นพิษจากการได้รับคลอไรด์ในอาหารนั้นพบได้ยากในกลุ่มคนที่มีสุขภาพดี ภาวะคลอไรด์สูงในเลือด (Hyperchloremia) มักเกิดจากภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ท้องร่วง อาเจียน หรือปัญหากรดมากเกินไปจากโรคไต อาหารที่มีเกลือสูงอาจทำให้ได้รับโซเดียมคลอไรด์มากเกินไปและอาจก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน

    อาการที่พบได้จากความเป็นพิษของคลอไรด์

    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • ความดันโลหิตสูง
    • ความอ่อนเพลีย

    Reference

    1. EFSA Panel on Nutrition, Novel Foods and Food Allergens (NDA), Turck D, Castenmiller J, de Henauw S, Hirsch-Ernst KI, Kearney J, Knutsen HK, Maciuk A, Mangelsdorf I, McArdle HJ, Pelaez C, Pentieva K, Siani A, Thies F, Tsabouri S, Vinceti M, Aggett P, Fairweather-Tait S, Martin A, Przyrembel H, de Sesmaisons-Lecarré A, Naska A. Dietary reference values for chloride. EFSA J. 2019 Sep 4;17(9):e05779.
    2. Institute of Medicine. 2006. Dietary Reference Intakes: The Essential Guide to Nutrient Requirements. Washington, DC: The National Academies Press. Accessed 9/5/2022.

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *