ซีลีเนียม
เลือกอ่านตามหัวข้อ
Add a header to begin generating the table of contents
ซีลีเนียมเป็นแร่ธาตุที่ได้พบได้ตามธรรมชาติในอาหารหรือเป็นในรูปแบบของอาหารเสริม ซีลีเนียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์และโปรตีนหลายชนิดในร่างกายที่เรียกว่าซีลีโนโปรตีน ซึ่งช่วยสร้าง DNA และป้องกันความเสียหายของเซลล์และการติดเชื้อ โปรตีนเหล่านี้ยังเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์และระบบเมแทบอลิซึมของฮอร์โมนไทรอยด์
ซีลีเนียมในร่างกายส่วนใหญ่ถูกเก็บไว้ในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ แม้ว่าต่อมไทรอยด์จะมีซีลีเนียมเข้มข้นที่สุดเนื่องด้วยมีซีลีโนโปรตีนหลายชนิดที่ช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์
ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ
ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ]
ซีลีเนียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?
ซีลีเนียมเป็นส่วนประกอบของซีลีโนโปรตีนและเอนไซม์ มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อและ DNA ซึ่งเป็นสาเหตุจองการอักเสบและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้
มะเร็ง
การศึกษาของ Cochrane เชิงสังเกตแบบไปข้างหน้า 13 ชิ้นแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ได้รับซีลีเนียมสูงสุดหรือมีระดับซีลีเนียมในเลือดสูงสุด มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลดลง 31% และลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้ถึง 45% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับแร่ธาตุนี้น้อยสุดหรือมีระดับในเลือดน้อยที่สุด โดยเฉพาะในผู้ชาย อย่างไรก็ตามการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมด้วยยยาหลอก 83 เรื่องไม่พบว่าการเสริมซีลีเนียมสามารถช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งได้ นอกจากนี้ การทดลองบางส่วนยังระบุว่ามีความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 สูงขึ้นเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซีลีเนียมเป็นเวลานาน (ประมาณ 7 ปี) ซึ่งมีระดับซีลีเนียมในเลือดปกติในช่วงเริ่มต้นของการศึกษา และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม
โรคต่อมไทรอยด์
ซีลีเนียมเข้มข้นนั้นถูกพบได้มากในต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีเอนไซม์ที่มีซีลีเนียมหลายตัวควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์อยู่ หากร่างกายมีซีลีเนียมไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่ภาวะต่อมไทรอยด์แพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคฮาชิโมโตะ (ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง) และโรคเกรฟส์ (โรคแพ้ภูมิตัวเอง) ทั้งสองภาวะนี้ทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่สามารถทำร้ายต่อมไทรอยด์ส่งผลให้นำไปสู่ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป หรือภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมศึกษาการเสริมซีลีเนียมให้ผลลัพธ์ผลแบบผสม ซึ่งการศึกษาหนึ่งกล่าวว่าอาหารเสริมไม่มีผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์อย่างมีนัยสำคัญในทั้งผู้ที่มีไทรอยด์ปกติหรือภาวะพร่องไทรอยด์เล็กน้อย แม้ว่าการเสริมซีลีเนียมจะทำให้ระดับซีลีเนียมในเลือดเพิ่มขึ้นก็ตาม
ส่วนการศึกษาอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าซีลีเนียมสามารถลดปริมาณของแอนติบอดีและส่งเสริมการทำงานของซีลีโนโปรตีนที่ช่วยเพื่อลดการอักเสบ
ทั้งนี้บทบาทของการเสริมซีลีเนียมสำหรับผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์แพ้ภูมิตัวเอง (ATD) ยังไม่แสดงผลที่ชัดเจน การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เมตาของการทดลองควบคุมกว่า 9 เรื่องไม่พบว่าอาหารเสริมซีลีเนียมเปลี่ยนการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ในผู้เป็นโรคไทรอยด์แพ้ภูมิตัวเองได้
โรคหัวใจและหลอดเลือด
เซเลโนโปรตีนช่วยปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระ และทำให้เกล็ดเลือดไม่เกิดความเหนียว ซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถนำไปสู่โรคหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งการศึกษา Cohort และการทดลองทางคลินิกได้แสดงผลลัพธ์ที่หลากหลายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของซีลีเนียมกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
การศึกษาเชิงสังเกตพบว่าผู้ที่ได้รับซีลีเนียมไม่ว่าจะต่ำหรือสูง (ขึ้นอยู่กับการบริโภคอาหารและระดับเลือด) ส่งผลให้ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น รวมถึงการทดลองทางคลินิกที่ไม่พบว่าอาหารเสริมซีลิเนียมจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามการทดลองเหล่านี้มีขนาดเล็กและอาจเป็นผู้ที่ไม่ได้มีอาการขาดซีลีเนียมมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการศึกษา
ซีลีเนียมสามารถพบได้ในอาหารชนิดไหนบ้าง?
ปริมาณซีลีเนียมในอาหารมักมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณซีลีเนียมในดินที่ปลูก โดยปริมาณดินจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค และอาหารจากพืชดูดซึมซีลีเนียมจากดิน ซึ่งส่งผลต่อปริมาณซีลีเนียมในสัตว์ที่กินพืชเหล่านั้น
อาหารจากโปรตีนสัตว์ถือเป็นแหล่งแร่ธาตุซีลีเนียมที่ดีที่สุด และอาหารจำพวก อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ถั่วบราซิล เป็นอาหารที่มีซีลีเนียมสูงที่สุด
แหล่งอาหารซีลีเนียม ได้แก่
- ถั่วบราซิล
- ครีบปลาและหอย
- เนื้อวัว
- ไก่งวง
- ไก่
- ธัญพืชเสริม
- ขนมปังโฮลวีต
- ถั่ว
สัญญาณเตือนของการขาดซีลีเนียม
เงื่อนไขสองประการที่เกี่ยวข้องกับการขาดซีลีเนียมอย่างรุนแรง: 1) โรค Keshan โรคกล้ามเนื้อหัวใจหรือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ และ 2) โรค Kashin-Beck รูปแบบของโรคข้อเข่าเสื่อม
อาการของผู้ที่ขาดซีลีเนียม:
- คลื่นไส้อาเจียน
- ปวดหัว
- สภาพจิตใจเปลี่ยนแปลง สับสน
- ความง่วง
- อาการชัก
- อาการโคม่า
กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการขาดซีลีเนียม
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีซีลีเนียมต่ำซึ่งรับประทานอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบหลักเช่นกัน สิ่งนี้ไม่มักพบเห็นได้บ่อยกับประชากรในจีน รัสเซีย และยุโรปเนื่องจากดินโดยทั่วไปในประเทศเหล่านี้มีซีลีเนียมต่ำ และความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นในผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ
- ผู้ติดเชื้อ HIV ไวรัสสามารถนำไปสู่อาการท้องร่วง การดูดซึมสารอาหารที่ผิดปกติ และความอยากอาหารลดลง
- ผู้ที่เป็นโรคไตวายที่ต้องฟอกไต กระบวนการในการกรองเลือดนี้สามารถกำจัดซีลีเนียมบางส่วนได้ ทั้งนี้การจำกัดอาหารที่จำเป็นสำหรับภาวะไตวายยังสามารถลดปริมาณการได้รับสารอาหารโดยรวม ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการขาดซีลีเนียม
ความเป็นพิษ
การบริโภคอาหารที่มีซีลีเนียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง เช่น ถั่วบราซิล หรืออาหารเสริมอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ตั้งแต่มีอาการกล้ามเนื้อสั่น ผมร่วง ปวดท้อง และหน้ามืด ไปจนถึงอาการหัวใจวาย หายใจลำบาก หรือไตวายอย่างรุนแรง
อาการของความเป็นพิษเบื้องต้นสังเกตุได้จาก:
- กลิ่นปาก
- คลื่นไส้ท้องเสีย
- ผมร่วง
- เล็บเปราะหรือเปลี่ยนสี
- ผื่นที่ผิวหนังหรือแผล
- การเป็นผื่นผิวหนัง
- รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- หงุดหงิดง่าย
- ปวดกล้ามเนื้อ
รู้หรือไม่?
- ซีลีเนียมและไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่แข็งแรง ซึ่งไอโอดีนเป็นส่วนประกอบของไทรอยด์ฮอร์โมน และซีลีเนียมที่เป็นซีลีโนโปรตีนที่จะช่วยเปลี่ยนไทรอยด์ฮอร์โมนให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ โดยไทรอยด์ต้องการแร่ธาตุทั้งสองอย่างนี้ในปริมาณที่สมดุล ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะหากแร่ธาตุตัวใดตัวหนึ่งมีมากเกินไปจะหมายถึงภาวะการขาดของแร่ธาตุอีกตัว
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซีลีเนียมได้รับการส่งเสริมว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง ได้แก่ การทำงานของภูมิคุ้มกัน รักษาสุขภาพผมและเล็บ และช่วยต่อมไทรอยด์ให้มีความแข็งแรง ในบางครั้งอาหารเสริมซีลีเนียมมักเป็นส่วนประกอบที่รวมกับวิตามินสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ เช่นวิตามิน E หรือ วิตามิน C อาหารเสริมเหล่านี้มักจะมีซีลีเนียมในปริมาณระหว่าง 100-400 ไมโครกรัมต่อโดส (ระดับการบริโภคแนะนำสูงสุดอยู่ที่ 400 ไมโครกรัม) อย่างไรก็ตาม หากบุคคลไม่มีความเสี่ยงสูงต่อการขาดซีลีเนียม ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าการรับประทานซีลีเนียมในประมาณสูงขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างที่แสดงบนฉลากอาหารเสริม
- Dennert G, Zwahlen M, Brinkman M, Vinceti M, Zeegers MP, Horneber M. Selenium for preventing cancer. Sao Paulo Medical Journal. 2012;130(1).
- Vinceti M, Filippini T, Del Giovane C, Dennert G, Zwahlen M, Brinkman M, Zeegers MP, Horneber M, D’Amico R, Crespi CM. Selenium for preventing cancer. Cochrane database of systematic reviews. 2018(1).
- Winther KH, Bonnema SJ, Cold F, Debrabant B, Nybo M, Cold S, Hegedüs L. Does selenium supplementation affect thyroid function? Results from a randomized, controlled, double-blinded trial in a Danish population. Eur J Endocrinol. 2015 Jun 1;172(6):657-67.
- Rayman MP, Thompson AJ, Bekaert B, Catterick J, Galassini R, Hall E, Warren-Perry M, Beckett GJ. Randomized controlled trial of the effect of selenium supplementation on thyroid function in the elderly in the United Kingdom. The American journal of clinical nutrition. 2008 Feb 1;87(2):370-8.
- Drutel A, Archambeaud F, Caron P. Selenium and the thyroid gland: more good news for clinicians. Clinical endocrinology. 2013 Feb;78(2):155-64.
- Winther KH, Wichman JE, Bonnema SJ, Hegedüs L. Insufficient documentation for clinical efficacy of selenium supplementation in chronic autoimmune thyroiditis, based on a systematic review and meta-analysis. Endocrine. 2017 Feb;55(2):376-385.
- National Institutes of Health Office of Dietary Supplements: Selenium Fact Sheet for Health Professionals. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Selenium-HealthProfessional/ Accessed 1/4/2020.