ฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส

เลือกอ่านตามหัวข้อ

    Add a header to begin generating the table of contents

    ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในอาหารหลายชนิดและยังมีในรูปแบบอาหารเสริม มีบทบาทสำคัญหลายอย่างต่อร่างกาย และเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์  และรักษาค่า pH ของเลือดให้อยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้ฟอสฟอรัสยังมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ รวมทั้งหัวใจให้เป็นไปอย่างปกติ และยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของยีน เนื่องจากฟอสฟอรัสประกอบกันเป็น DNA, RNA และ ATP ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย

    ไต กระดูก และลำไส้ทำหน้าที่ควบคุมระดับฟอสฟอรัสในร่างกายอย่างเข้มงวด หากร่างกายได้รับฟอสฟอรัสไม่เพียงพอหรือมีการดูดซึมที่น้อยเกินไป ร่างกายจะมีกระบวนการมากมายเกิดขึ้นเพื่อรักษาให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ไตจะขับฟอสฟอรัสออกทางปัสสาวะน้อยลง ระบบย่อยอาหารจะปรับตัวให้มีประสิทธิภาพในการดูดซับฟอสฟอรัสมากขึ้น และกระดูกจะปล่อยฟอสฟอรัสที่เก็บสะสมไว้เข้าสู่กระแสเลือด เป็นต้น การทำงานของอวัยวะเหล่านี้จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามหากร่างกายได้รับฟอสฟอรัสที่เพียงพอ

    ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ

    ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ] 

    ฟอสฟอรัสมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

    โรคไตเรื้อรัง

    ไตทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับฟอสฟอรัสในร่างกายให้เป็นปกติ หากร่างกายมีแร่ธาตุสะสมเพียงพอ ไตจะขับฟอสฟอรัสส่วนเกินออกทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นโรคไตเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ และปริมาณฟอสฟอรัสในเลือดอาจเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นอันตราย 

    การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมีระดับฟอสเฟต (ส่วนประกอบของฟอสฟอรัส) สูงกว่าผู้ที่มีการทำงานของไตปกติ สิ่งนี้อาจเร่งการลุกลามของโรคไตเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ความผิดปกติของกระดูก และการเสียชีวิต 

    ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการลดระดับฟอสเฟตในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังจะช่วยพัฒนาผลลัพธ์ด้านสุขภาพในภายหลังได้ คำแนะนำในการบริโภคอาหารสำหรับฟอสฟอรัสขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของโรคและระดับฟอสฟอรัสในเลือดของบุคคลนั้น บางการศึกษาแนะนำให้จำกัดโปรตีนจากสัตว์และหันมาเพิ่มโปรตีนจากพืช และอ่านฉลากอาหารเพื่อจำกัดอาหารที่มีสารเติมแต่งฟอสเฟต 

    โปรตีนจากพืช เช่น พืชตระกูลถั่ว ถั่ว และเมล็ดพืชมีไฟเตตซึ่งขัดขวางการดูดซึมฟอสฟอรัสในลำไส้ บางครั้งยา เช่น สารยึดเกาะฟอสเฟตก็ถูกกำหนดให้รับประทานพร้อมกับอาหารเพื่อลดปริมาณฟอสฟอรัสที่ดูดซึมในลำไส้

    โรคหัวใจและหลอดเลือด

    มีการศึกษาพบว่าฟอสฟอรัสส่วนเกินสามารถส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดหัวใจและเพิ่มการอักเสบได้ โดยระดับฟอสเฟตที่สูงขึ้นนั้นอาจมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด 

    การวิเคราะห์อภิมานแบบกลุ่ม 6 กลุ่มในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงกว่า 120,000 คนที่ติดตามนานถึง 29 ปี แสดงให้เห็นว่าสาเหตุทั้งหมดของความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 36% ของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดและหัวใจตีบตันนั้นมาจากผู้ที่มีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงสุด เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีระดับต่ำสุด รวมถึงการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

    อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงที่สุดคือโปรตีนจากสัตว์ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง เช่น ไขมันอิ่มตัว ดังนั้นจึงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการได้รับฟอสฟอรัสเพียงอย่างเดียวนั้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดและหัวใจ และเช่นเดียวกัน การวิจัยก็ยังไม่มีผลสรุปที่แน่ชัดว่าการจำกัดฟอสฟอรัสในอาหารสามารถป้องกันโรคหลอดเลือและหัวใจในผู้ใหญ่ที่แข็งแรงได้หรือไม่

    สุขภาพกระดูก

    ระดับฟอสฟอรัสสูงอาจทำลายสมดุลของฮอร์โมนฟอสฟอรัส แคลเซียม และวิตามิน D ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูก การศึกษาในสัตว์แสดงให้เห็นว่าการบริโภคฟอสฟอรัสสูงในอาหารเป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูก แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในการทดลองกับมนุษย์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความยากที่จะประเมิณปริมาณฟอสฟอรัสอย่างแม่นยำ การศึกษาส่วนใหญ่วัดปริมาณฟอสฟอรัสในเลือด ซึ่งอาจไม่สะท้อนถึงปริมาณฟอสฟอรัสในอาหารที่แท้จริง เนื่องจากแร่ธาตุส่วนใหญ่ถูกเก็บไว้ในกระดูก และร่างกายจะรักษาระดับของเลือดให้อยู่ในช่วงที่กำหนด อย่างไรก็ตาม การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการได้รับสารเติมแต่งฟอสเฟตในปริมาณที่มากขึ้นจากอาหารต่างๆ เช่น เครื่องดื่มโคล่าและน้ำสลัดที่ดูดซึมได้ดีในลำไส้ มีความสัมพันธ์กับผลเสียต่อเมแทบอลิซึมของกระดูก ซึ่งรวมถึงการแตกหักและความหนาแน่นของกระดูกที่ต่ำลง 

    ข้อเสียของเครื่องดื่มโซดา

    เป็นที่ทราบกันดีว่าโซดาและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอื่นๆ เป็นสาเหตุของความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน รวมถึงสามารถทำลายสุขภาพฟันได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามไม่ใช่เพียงน้ำตาลเท่านั้นที่สามารถเลี้ยงแบคทีเรียในปากของเราที่เป็นสาเหตุของฟันผุ แต่มีกรดต่างๆ ที่ถูกเติมลงไปในเครื่องดื่นโซดาหวานและไดเอทโซดาก็เป็นสาเหตุการสะสมของแบคทีเรียได้ด้วย 

    โซดาส่วนใหญ่มีกรดฟอสฟอริกและกรดซิตริกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง การดื่มโซดาบ่อยๆ จะทำให้กรดเหล่านี้เคลือบฟัน ซึ่งจะทำให้ฟันสึกกร่อน หลังจากนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโพรงและผุได้ง่าย รวมถึงทำให้เกิดอาการเสียวฟัน แนะนำให้ดื่มโซดาเป็นครั้งคราวก็เพียงพอ และลองหันมาดื่มน้ำโซดาทางเลือดที่ไม่มีฟอง

    ฟอสฟอรัสสามารถพบได้ในอาหารชนิดไหนบ้าง

    ฟอสฟอรัสสามารถถูกพบได้ในอาหารหลากหลายชนิดโดยธรรมชาติ และแหล่งที่อุดมไปด้วยฟอสฟอรัสที่สุดคือผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อแดง สัตว์ปีก อาหารทะเล พืชตระกูดถั่ว และถั่วเปลือกแข็ง ซึ่งจะสามารถดูดซึมได้ดีกว่า เราเรียกว่าฟอสฟอรัสประเภทนี้ว่า ฟอสฟอรัสอินทรีย์ (Organic phosphorus) 

    ส่วนในอาหารจากพืช เข่น เมล็ดพืช พืชตระกูลถั่วและธัญพืชไม่ขัดสี จะเป็นฟอาฟอรัสที่อยู่ในรูปแบบของไฟเตตหรือกรดไฟลิก ซึ่งสามารถลดการดูดซึมแร่ธาตุของร่างกายได้

    ฟอสฟอรัสอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่าฟอสฟอรัสอนินทรีย์เป็นรูปแบบแปรรูปที่เติมลงในอาหารเพื่อรักษาสี ความชื้น และเนื้อสัมผัสของอาหาร มักพบในอาหารจานด่วน เนื้อสำเร็จรูป เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและบรรจุขวด และอาหารแปรรูปอื่นๆ อีกมากมาย

    แหล่งอาหารที่สามารถพบฟอสฟอรัสได้แก่:

    • ผลิตภัณฑ์นม: นม โยเกิร์ต ชีส
    • แซลมอน
    • เนื้อวัว
    • สัตว์ปีก
    • เนื้อหมู
    • พืชตระกูลถั่ว
    • ถั่วเมล็ดพืช
    • ขนมปังโฮลวีตและซีเรียล
    • ผักบางชนิด: หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ กะหล่ำดอก
    • อาหารแปรรูป (ในรูปของฟอสฟอรัสอนินทรีย์) โดยเฉพาะเนื้อสำเร็จรูป เบคอน ไส้กรอก โซดา เครื่องดื่มเกลือแร่ และเครื่องดื่มบรรจุขวดอื่นๆ

    สัญญาณเตือนของการขาดฟอสฟอรัส

    การขาดฟอสฟอรัสเรียกว่าภาวะฟอสฟอรัสในเลือดต่ำซึ่งกำหนดโดยระดับเลือดที่ต่ำกว่าช่วงมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ระดับฟอสเฟตในเลือดไม่จำเป็นต้องแสดงถึงปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดในร่างกายเสมอไป เนื่องจากฟอสฟอรัสส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระดูกและฟัน โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการขาดฟอสฟอรัส  คือปัญหาเกี่ยวกับไตหรือภาวะที่เรียกว่าภาวะพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์จะหลั่งออกมามากเกินไปจนทำให้ฟอสฟอรัสขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ นอกจากนี้ การใช้ยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมมากเกินไปสามารถจับกับฟอสฟอรัสและเพิ่มความเสี่ยงของการขาดได้อีกด้วย

    คนที่สามารถพบการเกิดภาวะฟอสฟอรัสในเลือดต่ำถึงแม้ว่าจะพบได้น้อยคือกลุ่มอาการ Refeeding syndrome หรือผู้ป่วยภาวะทุพโภชนาการรุนแรง เป็นผู้ที่อดอาหารเป็นระยะเวลานานแล้วกลับมาได้รับสารอาหารตามปกติอย่างฉับพลัน เช่นในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคตับระยะลุกลาม การใช้แอลกอฮอล์ในทางทีผิด หรือจากอาการเบื่ออาหารทางประสาท 

    อาการที่มาพร้อมกับการขาดฟอสฟอรัส:

    • ความอยากอาหารน้อยลง
    • โรคโลหิตจาง
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • ปวดกระดูก
    • โรคกระดูก (osteomalacia, rickets)
    • รู้สึกสับสน
    • ไวต่อการติดเชื้อ

    ความเป็นพิษ

    ความเป็นพิษจากฟอสฟอรัสที่เรียกว่าภาวะฟอสฟอรัสสูงนั้นสามารถพบได้น้อยเนื่องจากร่างกายสามารถควบคุมระดับฟอสฟอรัสส่วนเกินได้ตามธรรมชาติ ความเป็นพิษจึงอาจเกิดขึ้นกับการใช้อาหารเสริม 

    รู้หรือไม่?

    • ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่มีในร่างกายมากเป็นอันดับสองรองจากแคลเซียม ฟอสฟอรัสในร่างกายประมาณ 85% ถูกเก็บไว้ในกระดูกและฟัน
    • ฟอสฟอรัสอนินทรีย์เป็นสารเติมแต่งฟอสฟอรัสมักพบในอาหาร เช่น เนื้อแปรรูปและขนมอบ และเครื่องดื่ม เช่น โซดา ชาเย็น เครื่องดื่มกาแฟบรรจุขวด และน้ำปรุงรส สำหรับใครที่กำลังควบคุมระดับฟอสฟอรัสโดยการรับประทานอาหารฟอสฟอรัสต่ำ สิ่งสำคัญคือต้องคอยตระหนักถึงแหล่งอาหารที่อาจมีฟอสฟอรัสซ่อนอยู่ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีเหล่านี้โดยการอ่านฉลากอาหารให้ละเอียดมากขึ้น

    Reference

      1. Institute of Medicine, Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes for Calcium, Phosphorus, Magnesium, Vitamin D, and Fluoride. Washington, DC: National Academies Press; 1997.
      2. National Institutes of Health Office of Dietary Supplements: Phosphorus Fact Sheet for Health Professionals https://ods.od.nih.gov/factsheets/Phosphorus-HealthProfessional/. Accessed 6/8/2020.
      3. Moore LW, Nolte JV, Gaber AO, Suki WN. Association of dietary phosphate and serum phosphorus concentration by levels of kidney function. The American journal of clinical nutrition. 2015 Aug 1;102(2):444-53.
      4. Chang AR, Anderson C. Dietary phosphorus intake and the kidney. Annual review of nutrition. 2017 Aug 21;37:321-46.
      5. Da J, Xie X, Wolf M, Disthabanchong S, Wang J, Zha Y, Lv J, Zhang L, Wang H. Serum phosphorus and progression of CKD and mortality: a meta-analysis of cohort studies. American Journal of Kidney Diseases. 2015 Aug 1;66(2):258-65.
      6. Hou Y, Li X, Sun L, Qu Z, Jiang L, Du Y. Phosphorus and mortality risk in end-stage renal disease: A meta-analysis. Clinica chimica acta. 2017 Nov 1;474:108-13.
      7. Selamet U, Tighiouart H, Sarnak MJ, Beck G, Levey AS, Block G, Ix JH. Relationship of dietary phosphate intake with risk of end-stage renal disease and mortality in chronic kidney disease stages 3–5: The Modification of Diet in Renal Disease Study. Kidney international. 2016 Jan 1;89(1):176-84.
      8. Murtaugh MA, Filipowicz R, Baird BC, Wei G, Greene T, Beddhu S. Dietary phosphorus intake and mortality in moderate chronic kidney disease: NHANES III. Nephrology Dialysis Transplantation. 2012 Mar 1;27(3):990-6.
      9. Mehrotra R, Peralta CA, Chen SC, Li S, Sachs M, Shah A, Norris K, Saab G, Whaley-Connell A, Kestenbaum B, McCullough PA. No independent association of serum phosphorus with risk for death or progression to end-stage renal disease in a large screen for chronic kidney disease. Kidney international. 2013 Nov 1;84(5):989-97.
      10. Chauveau P, Koppe L, Combe C, Lasseur C, Trolonge S, Aparicio M. Vegetarian diets and chronic kidney disease. Nephrology Dialysis Transplantation. 2019 Feb 1;34(2):199-207.
      11. Gutiérrez OM. The connection between dietary phosphorus, cardiovascular disease, and mortality: where we stand and what we need to know. Advances in nutrition. 2013 Nov;4(6):723-9.
      12. Bai W, Li J, Liu J. Serum phosphorus, cardiovascular and all-cause mortality in the general population: a meta-analysis. Clinica Chimica Acta. 2016 Oct 1;461:76-82.
      13. Calvo MS, Tucker KL. Is phosphorus intake that exceeds dietary requirements a risk factor in bone health?. Annals of the New York Academy of Sciences. 2013 Oct;1301(1):29-35.
      14. Vorland CJ, Stremke ER, Moorthi RN, Hill Gallant KM. Effects of excessive dietary phosphorus intake on bone health. Current osteoporosis reports. 2017 Oct;15(5):473-82.
      15. Kalantar-Zadeh K, Gutekunst L, Mehrotra R, Kovesdy CP, Bross R, Shinaberger CS, Noori N, Hirschberg R, Benner D, Nissenson AR, Kopple JD. Understanding sources of dietary phosphorus in the treatment of patients with chronic kidney disease. Clinical Journal of the American Society of Nephrology. 2010 Mar 1;5(3):519-30.

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *