วิตามินบี 9 – โฟเลต (กรดโฟลิก)

วิตามินบี 9 – โฟเลต (กรดโฟลิก)

เลือกอ่านตามหัวข้อ

    Add a header to begin generating the table of contents

    โฟเลตเป็นวิตามิน B9 ที่ละลายในน้ำได้ และพบได้ในอาหารหลากหลายชนิดตามธรรมชาติ และมีในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งวิตามินโฟเลต หรือที่เรียกอีกชื่อได้ว่ากรดโฟลิกนี้ถูกดูดซึมได้ดีจากแหล่งอาหาร  

    ทั้งนี้โฟเลตยังช่วยในการสร้าง DNA  RNA และมีส่วนช่วยในการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย รวมถึงมีบทบาทสำคัญในการลดระดับสารโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายหากได้รับในปริมาณมากเกินไป 

    โฟเลตเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรง และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต เช่น ระหว่างการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ

    ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ] 

    วิตามิน B9 มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

    ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defects)

    หนึ่งในการค้นพบที่เปลี่ยนมุมมองในประโยชน์ของวิตามินคือการค้นพบว่าร่างกายที่มีโฟเลตที่น้อยเกินไปนั้นมีความสัมพันธ์ุกับการบกพร่องทางโครงสร้างแต่กำเนิดของกระดูกสันหลัง (Spina bfida) และสมอง (anencephaly)

    เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ไม่มีใครทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของความพิการแต่กำเนิดที่เกิดขึ้นในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารเกิดขึ้นในช่วงที่เนื้อเยื่อเริ่มมีการพัฒนากลายเป็นกระดูกสันหลังและสมอง เมื่อ 30 ปีที่แล้ว นักวิจัยชาวอังกฤษพบว่าแม่ของเด็กที่มีความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังตั้งแต่กำเนิดมักเกิดจากการมีระดับวิตามินต่ำ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการได้รับโฟเลตน้อยเกินไปของคุณแม่จะเพิ่มโอกาสของภาวะพิการทางระบบประสาทจากหลอดประสาทไม่ปิดในเด็กดังนั้นการได้รับโฟเลตที่เพียงพอจึงสามารถลดความผิดปกติโดยกำเนิดได้

    ช่วงเวลาของการทานโฟเลตถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรเสริมโฟเลตในช่วงประมาณ 2-3สัปดาห์แรกหลังการปฏิสนธิ ซึ่งเป็นช่วงที่ก่อนคุณแม่จะทราบว่ามีการตั้งครรภ์ การได้รับโฟเลตที่เพียงพออย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวันจากแหล่งอาหารไม่ใช่เรื่องง่ายต นั่นคือเหตุผลที่ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ควรได้รับการสนับสนุนให้ได้รับกรดโฟลิกมากขึ้นจากอาหารเสริม และยังเป็นเหตุผลว่าทำไมสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาจึงกำหนดให้เพิ่มกรดโฟลิกในขนมปัง แป้ง ข้าวโพด พาสต้า ข้าว และผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพืชอื่นๆ รวมถึงธาตุเหล็กและสารอาหารอื่นๆ  

    ตั้งแต่มีการเสริมกรดโฟลิกที่จำเป็นในปี 2541 ความผิดปกติโดยกำเนิดของหลอดประสาทก็ลดลงถึง 28% และจากการศึกษาพบว่ามีคนจำนวนน้อยมากที่มีระดับโฟเลตในเลือดต่ำ 

    มะเร็ง

    โฟเลตมีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของเซลล์และการสร้าง DNA ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของเรา เชื่อกันว่าโฟเลตอาจมีบทบาทในการยับยั้งมะเร็งบางชนิดในระยะแรกแต่ก็สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้หากใช้กรดโฟลิกในปริมาณสูง

    การศึกษาเชิงสังเกตแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับโฟเลตในปริมาณที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยจากอาหารหรืออาหารเสริมเป็นเวลา 15 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านมน้อยกว่าคนปกติ การศึกษานี้ยิ่งทำให้เห็นประโยชน์โดยเฉพาะในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถรบกวนการเผาผลาญโฟเลตและทำให้โฟเลตในร่างกายไหลเวียนได้ไม่ดี ข้อสังเกตที่น่าสนใจจากการศึกษาคือการบริโภคโฟเลตที่สูงขึ้นอาจลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าหนึ่งแก้วต่อวัน 

    ทั้งยังมีงานวิจัยอื่นๆ ที่มีการค้นพบที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งงานวิจัยหนึ่งจากสวีเดนที่พบว่าการบริโภคโฟเลตที่เพียงพอจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมได้แม้ในผู้หญิงที่ดื่มเพียงวันละแก้วหรือน้อยกว่านั้น 

    อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างโฟเลตกับมะเร็งนั้นมีความซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือโรคติ่งเนื้อเมือกในลำไส้ใหญ่ (Colorectal adenomas or polyps) ที่เป็นการเจริญเติบโตของเนื้องอกชนิดที่สามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มีการทดลองเป็นเวลาหลายปีว่าการเสริมกรดโฟลิกขนาดในปริมาณมากสามารถป้องกันติ่งเนื้องอกในผู้ที่มีประวัติติ่งเนื้อได้หรือไม่ การทดลองพบว่าการรับประทานยาเม็ดทุกวันที่มีกรดโฟลิกปริมาณ 1,000 ไมโครกรัมไม่ได้ป้องกันติ่งเนื้อใหม่ แต่กลับเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดติ่งเนื้อเพิ่มหรือติ่งเนื้อที่ร้ายแรงกว่านั้น

    โปรดทราบว่าการทดลองนี้ทดสอบปริมาณกรดโฟลิกในปริมาณที่สูงกว่าที่พบในวิตามินรวมตามมาตรฐานกว่าสองเท่า นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการทดลองเองก็มีความเสี่ยงสูงมากในการเกิดติ่งเนื้องอกอยู่แล้ว อาจเป็นไปได้ว่าช่วงเวลาของการบริโภคโฟเลตเป็นสิ่งสำคัญ การได้รับโฟเลตอย่างเพียงพออาจป้องกันการเกิดติ่งเนื้อได้ในผู้ที่ไม่เคยมีติ่งเนื้อมาก่อน แต่การเสริมกรดโฟลิกในปริมาณสูงมากๆ อาจเร่งการเติบโตของติ่งเนื้อได้สำหรับผู้ที่เคยมีติ่งเนื้ออยู่แล้ว 

    ในสหรัฐอเมริกา หนึ่งในการศึกษามีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางชี้ให้เห็นว่าการเสริมกรดโฟลิกอาจทำให้จำนวนการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 

    การลดลงอย่างต่อเนื่องของในการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั้งก่อนและหลังการเริ่มมีการเสริมกรดโฟลิก บ่งชี้ว่าการตรวจคัดกรอง (ไม่ใช่การเสริมกรดโฟลิก) เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลักฐานโดยรวมจากการศึกษาในมนุษย์แสดงให้เห็นถึงการลอดลงของความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมเมื่อได้รับโฟเลตหรือกรดโฟลิกมากขึ้น

    การศึกษาในผู้สูงอายุ 1,400 คนในแบบสำรวจการตรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติ (NHANES) พบว่าความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งโดยรวมลดลงอย่างมากในผู้ที่มีโฟเลตไบโอมาร์คเกอร์ในระดับสูงที่สุด (เรียกว่าเซรั่ม และโฟเลตเม็ดเลือดแดง) การศึกษาไม่พบผลกระทบเชิงลบของโปรแกรมการเสริมสร้างโฟเลตต่อความเสี่ยงมะเร็ง และยังมีการเสนอบทบาทในเชิงป้องกัน 

    เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารเสริมวิตามินกับมะเร็ง ต้องคำนึงไว้เสมอว่าเซลล์มะเร็งโดยพื้นฐานแล้วเป็นเซลล์ของตัวเราเองที่สามารถเติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และพวกมันต้องการสารอาหารมากกว่าเซลล์ปกติส่วนใหญ่ในตัวเรา มีการศึกษาในหลายทศวรรษที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าโฟเลตนั้นส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกเช่นกันดังนั้นสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งหรือระยะก่อนมะเร็งเจริญเติบโต การเสริมอาหารโฟเลตอาจเป็นดาบสองคม เราแนะนำว่าหากคุณพบว่าเป็นมะเร็งควรได้รับคำวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนเริ่มรับประทานวิตามินเสริมจะดีกว่า

    ภาวะสมองเสื่อมและการทำงานของสมอง

    การศึกษาเชิงสังเกตพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับโฮโมซีสเตอีนสูงกับการเพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ โฮโมซีสเตอีนสามารถส่งผลเสียต่อสมองโดยทำให้สมองและเซลล์ประสาทขาดเลือด การศึกษาเชิงสังเกตบางชิ้นพบความเชื่อมโยงระหว่างระดับโฟเลตในเลือดต่ำกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของภาวะสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม การทดลองทางคลินิกไม่พบว่าการเสริมกรดโฟลิกสามรถช่วยป้องกันการพัฒนาของภาวะสมองเสื่อมหรือส่งผลต่อการทำงานของการรับรู้ของสมองในเชิงบวก 

    วิตามิน B9 สามารถพบในอาหารชนิดไหนบ้าง?

    โฟเลตสามารถพบได้ตามธรรมชาติในอาหารหลากหลายประเภท แต่ร่างกายจะสามารถดูดซึมกรดโฟลิกที่เป็นประเภทเสริมในอาหารและจากอาหารเสริมได้ดีกว่า 

    ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกากำหนดให้ผู้ผลิตอาหารเพิ่มกรดโฟลิกในอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน เช่น

    ขนมปัง ซีเรียล พาสต้า ข้าว และผลิตภัณฑ์จากธัญพืชอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อความพิการทางระบบประสาทจากหลอดประสาทไม่ปิดในเด็ก ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยานี้สามารถช่วยเพิ่มการบริโภคกรดโฟลิกโดยเฉลี่ยของประชากรประมาณ 100 ไมโครกรัม/วัน 

    แหล่งโฟเลตที่ดีได้แก่: 

    • ผักใบเขียวเข้ม (ผักกาด กะหล่ำปลี ผักโขม ผักกาดโรเมนหรือผักคอส หน่อไม้ฝรั่ง บรอกโคลี)
    • ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วลิสง
    • เมล็ดทานตะวัน
    • ผลไม้สด,น้ำผลไม้
    • ธัญพืช
    • ตับ
    • อาหารทะเล
    • ไข่
    • อาหารเสริม

    สัญญาณเตือนของการขาดวิตามิน B9

    การขาดโฟเลตนั้นพบได้ยากเพราะพบได้ในอาหารหลากหลายประเภท อย่างไรก็ตามภาวะต่อไปนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้:

    • พิษสุราเรื้อรัง: แอลกอฮอล์สามารถรบกวนการดูดซึมโฟเลตและเร่งอัตราการสลายโฟเลตและขับออกจากร่างกาย นอกจากนั้นผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมักจะรับประทานอาหารคุณภาพต่ำที่มีปริมาณโฟเลตต่ำอีกด้วย
    • การตั้งครรภ์: กรดโฟลิกนั้นมีความสำคัญมากสำหรับคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากมีบทบาทในการช่วยสร้างตัวอ่อนของทารกในครรภ์
    • การผ่าตัดลำไส้หรือความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหารที่ทำให้การดูดซึมผิดปกติ: ผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac Disease) และโรคลำไส้อักเสบจะมีความสามารถในการดูดซึมของโฟเลตลดลง การผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะที่ใช้ในการย่อยอาหารหรือการลดระดับกรดในกระเพาะอาหารตามปกติอาจรบกวนการดูดซึมโฟเลตได้เช่นกัน
    • ตัวแปรทางพันธุกรรม: ผู้ที่มียีน MTHFR ไม่สามารถเปลี่ยนโฟเลตให้อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ได้

    แหล่งโฟเลตที่ดีได้แก่: 

    • ผักใบเขียวเข้ม (ผักกาด กะหล่ำปลี ผักโขม ผักกาดโรเมนหรือผักคอส หน่อไม้ฝรั่ง บรอกโคลี)
    • ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วลิสง
    • เมล็ดทานตะวัน
    • ผลไม้สด,น้ำผลไม้
    • ธัญพืช
    • ตับ
    • อาหารทะเล
    • ไข่
    • อาหารเสริม

    ความเป็นพิษ

    • ภาวะโลหิตจางจากขาดวิตามินบี (Megaloblastic anemia) หรือภาวะที่เกิดจากการขาดโฟเลตในอาหารหรือการดูดซึมที่ไม่ดีซึ่งทำให้ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้น้อยลงและมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
    • อาการอ่อนเพลีย หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจถี่ ไม่ค่อยมีสมาธิ
    • ผมร่วง ผิวสีซีด แผลในปาก

    อาการของการขาดวิตามิน B9

    การรับประทานโฟเลตจากอาหารทั่วไปจนถึงระดับที่เป็นพิษเป็นไปได้ยากมาก แต่อย่างไรก็ตามการรับกรดโฟลิกระดับสูงสุดควรอยู่ที่ 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน เนื่องจากการศึกษาพบว่าการรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณที่มากเกินไปสามารถปิดบังอาการขาดวิตามิน B12 ได้ โดยภาวะขาดสารวิตามิน B12 มักเกิดกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ทั้งโฟเลตและ B12 มีส่วนในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งการขาดแคลนอย่างใดอย่างหนึ่งจึงสามารถส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางได้ 

    ผู้ที่รับประทานกรดโฟลิกเสริมในปริมาณสูงอาจสามารถรักษาภาวะโลหิตจางและทำให้รู้สึกดีขึ้นได้ แต่ภาวะขาดวิตามินบี 12 ยังคงอยู่ กล่าวได้ว่าหากการบริโภคโฟเลตในปริมาณสูงปิดบังอาการของการขาดวิตามินบี 12 เป็นเวลานาน สมองและระบบประสาทอาจค่อยๆ เกิดความเสียหายและไม่สามารถฟื้นฟูได้ ดังนั้นหากคุณต้องการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีกรดโฟลิก ให้รับประทานในปริมาณที่ต่ำกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวันหรือน้อยกว่า เพราะคุณอาจได้รับกรดโฟลิกที่ถูกเสริมจากอาหารอยู่แล้ว เช่น ซีเรียลและขนมปัง รวมถึงโฟเลตในอาหาร

    โดยรวมแล้ว ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ที่บ่งชี้ว่าปริมาณกรดโฟลิกโดยทั่วไปในวิตามินรวมสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ และยังอาจช่วยป้องกันโรคบางชนิดได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่รับประทานอาหารที่มีโฟเลตไม่เพียงพอ และในกลุ่มผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์

    รู้หรือไม่?

    โฟเลตเรียกอีกอย่างว่าวิตามิน B9 แม้ว่ากลุ่มวิตามิน B จะมีจำนวนเพียงแค่แปดชนิดเท่านั้น

    Reference

    1. Smithells RW, Sheppard S, Schorah CJ. Vitamin dificiencies and neural tube defects. Archives of disease in childhood. 1976 Dec 1;51(12):944-50.
    2. Czeizel AE, Dudás I. Prevention of the first occurrence of neural-tube defects by periconceptional vitamin supplementation. New England journal of medicine. 1992 Dec 24;327(26):1832-5.
    3. MRC Vitamin Study Research Group. Prevention of neural tube defects: results of the Medical Research Council Vitamin Study. The Lancet. 1991 Jul 20;338(8760):131-7.
    4. Federal Register. Food Standards: Amendment of Standards of Identity For Enriched Grain Products to Require Addition of Folic Acid. Final rule, 5 March 1996. Food and Drug Administration: Washington, DC,
    5. Pitkin RM. Folate and neural tube defects. The American journal of clinical nutrition. 2007 Jan 1;85(1):285S-8S.
    6. McCully KS. Vascular pathology of homocysteinemia: implications for the pathogenesis of arteriosclerosis. The American journal of pathology. 1969 Jul;56(1):111.
    7. Rimm EB, Willett WC, Hu FB, Sampson L, Colditz GA, Manson JE, Hennekens C, Stampfer MJ. Folate and vitamin B6 from diet and supplements in relation to risk of coronary heart disease among women. JAMA. 1998 Feb 4;279(5):359-64.
    8. He K, Merchant A, Rimm EB, Rosner BA, Stampfer MJ, Willett WC, Ascherio A. Folate, vitamin B6, and B12 intakes in relation to risk of stroke among men. Stroke. 2004 Jan 1;35(1):169-74.
    9. Ishihara J, Iso H, Inoue M, Iwasaki M, Okada K, Kita Y, Kokubo Y, Okayama A, Tsugane S, JPHC Study Group. Intake of folate, vitamin B6 and vitamin B12 and the risk of CHD: the Japan Public Health Center-Based Prospective Study Cohort I. Journal of the American College of Nutrition. 2008 Feb 1;27(1):127-36.
    10. Larsson SC, Männistö S, Virtanen MJ, Kontto J, Albanes D, Virtamo J. Folate, vitamin B6, vitamin B12, and methionine intakes and risk of stroke subtypes in male smokers. American journal of epidemiology. 2008 Feb 12;167(8):954-61.
    11. Forman JP, Stampfer MJ, Curhan GC. Diet and lifestyle risk factors associated with incident hypertension in women. JAMA. 2009 Jul 22;302(4):401-11.
    12. Forman JP, Rimm EB, Stampfer MJ, Curhan GC. Folate intake and the risk of incident hypertension among US women. JAMA. 2005 Jan 19;293(3):320-9.
    13. Toole JF, Malinow MR, Chambless LE, Spence JD, Pettigrew LC, Howard VJ, Sides EG, Wang CH, Stampfer M. Lowering homocysteine in patients with ischemic stroke to prevent recurrent stroke, myocardial infarction, and death: the Vitamin Intervention for Stroke Prevention (VISP) randomized controlled trial. JAMA. 2004 Feb 4;291(5):565-75.
    14. Heart Outcomes Prevention Evaluation (HOPE) 2 Investigators. Homocysteine lowering with folic acid and B vitamins in vascular disease. New England Journal of Medicine. 2006 Apr 13;354(15):1567-77.
    15. Bønaa KH, Njølstad I, Ueland PM, Schirmer H, Tverdal A, Steigen T, Wang H, Nordrehaug JE, Arnesen E, Rasmussen K. Homocysteine lowering and cardiovascular events after acute myocardial infarction. New England Journal of Medicine. 2006 Apr 13;354(15):1578-88.
    16. Albert CM, Cook NR, Gaziano JM, Zaharris E, MacFadyen J, Danielson E, Buring JE, Manson JE. Effect of folic acid and B vitamins on risk of cardiovascular events and total mortality among women at high risk for cardiovascular disease: a randomized trial. JAMA. 2008 May 7;299(17):2027-36.
    17. Armitage JM, Bowman L, Clarke RJ, Wallendszus K, Bulbulia R, Rahimi K, Haynes R, Parish S, Sleight P, Peto R, Collins R. Effects of homocysteine-lowering with folic acid plus vitamin B12 vs placebo on mortality and major morbidity in myocardial infarction survivors: a randomized trial. JAMA. 2010 Jun;303(24):2486-94.
    18. VITATOPS Trial Study Group. B vitamins in patients with recent transient ischaemic attack or stroke in the VITAmins TO Prevent Stroke (VITATOPS) trial: a randomised, double-blind, parallel, placebo-controlled trial. The Lancet Neurology. 2010 Sep 1;9(9):855-65.
    19. Lee M, Hong KS, Chang SC, Saver JL. Efficacy of homocysteine-lowering therapy with folic acid in stroke prevention: a meta-analysis. Stroke. 2010 Jun 1;41(6):1205-12.
    20. Yang Q, Botto LD, Erickson JD, Berry RJ, Sambell C, Johansen H, Friedman JM. Improvement in stroke mortality in Canada and the United States, 1990 to 2002. Circulation. 2006 Mar 14;113(10):1335-43.
    21. Yang HT, Lee M, Hong KS, Ovbiagele B, Saver JL. Efficacy of folic acid supplementation in cardiovascular disease prevention: an updated meta-analysis of randomized controlled trials. European journal of internal medicine. 2012 Dec 1;23(8):745-54.
    22. Huang T, Chen Y, Yang B, Yang J, Wahlqvist ML, Li D. Meta-analysis of B vitamin supplementation on plasma homocysteine, cardiovascular and all-cause mortality. Clinical nutrition. 2012 Aug 1;31(4):448-54.
    23. Martí‐Carvajal AJ, Sola I, Lathyris D, Dayer M. Homocysteine‐lowering interventions for preventing cardiovascular events. Cochrane Database of Systematic Reviews. 2017(8).
    24. Li Y, Huang T, Zheng Y, Muka T, Troup J, Hu FB. Folic acid supplementation and the risk of cardiovascular diseases: a meta‐analysis of randomized controlled trials. Journal of the American Heart Association. 2016 Aug 15;5(8):e003768.
    25. Giovannucci E, Stampfer MJ, Colditz GA, Hunter DJ, Fuchs C, Rosner BA, Speizer FE, Willett WC. Multivitamin use, folate, and colon cancer in women in the Nurses’ Health Study. Annals of internal medicine. 1998 Oct 1;129(7):517-24.
    26. Zhang S, Hunter DJ, Hankinson SE, Giovannucci EL, Rosner BA, Colditz GA, Speizer FE, Willett WC. A prospective study of folate intake and the risk of breast cancer. JAMA. 1999 May 5;281(17):1632-7.
    27. Larsson SC, Giovannucci E, Wolk A. Folate and risk of breast cancer: a meta-analysis. Journal of the National Cancer Institute. 2007 Jan 3;99(1):64-76.
    28. Ericson U, Sonestedt E, Gullberg B, Olsson H, Wirfält E. High folate intake is associated with lower breast cancer incidence in postmenopausal women in the Malmö Diet and Cancer cohort. The American journal of clinical nutrition. 2007 Aug 1;86(2):434-43.
    29. Ulrich CM. Folate and cancer prevention: a closer look at a complex picture. Am J Clin Nutr. 2007; 86:271–273.
    30. Cole BF, Baron JA, Sandler RS, Haile RW, Ahnen DJ, Bresalier RS, McKeown-Eyssen G, Summers RW, Rothstein RI, Burke CA, Snover DC. Folic acid for the prevention of colorectal adenomas: a randomized clinical trial. JAMA. 2007 Jun 6;297(21):2351-9.
    31. Zhang SM, Cook NR, Albert CM, Gaziano JM, Buring JE, Manson JE. Effect of combined folic acid, vitamin B6, and vitamin B12 on cancer risk in women: a randomized trial. JAMA. 2008 Nov 5;300(17):2012-21.
    32. Mason JB, Dickstein A, Jacques PF, Haggarty P, Selhub J, Dallal G, Rosenberg IH. A temporal association between folic acid fortification and an increase in colorectal cancer rates may be illuminating important biological principles: a hypothesis. Cancer Epidemiology and Prevention Biomarkers. 2007 Jul 1;16(7):1325-9.
    33. Sanjoaquin MA, Allen N, Couto E, Roddam AW, Key TJ. Folate intake and colorectal cancer risk: a meta‐analytical approach. International Journal of Cancer. 2005 Feb 20;113(5):825-8.
    34. Ferrari P, Jenab M, Norat T, Moskal A, Slimani N, Olsen A, Tjønneland A, Overvad K, Jensen MK, Boutron‐Ruault MC, Clavel‐Chapelon F. Lifetime and baseline alcohol intake and risk of colon and rectal cancers in the European prospective investigation into cancer and nutrition (EPIC). International journal of cancer. 2007 Nov 1;121(9):2065-72.
    35. Hu J, Juan W, Sahyoun NR. Intake and biomarkers of folate and risk of cancer morbidity in older adults, NHANES 1999-2002 with Medicare linkage. PLoS One. 2016 Feb 10;11(2):e0148697.
    36. Ho RC, Cheung MW, Fu E, Win HH, Zaw MH, Ng A, Mak A. Is high homocysteine level a risk factor for cognitive decline in elderly? A systematic review, meta-analysis, and meta-regression. The American Journal of Geriatric Psychiatry. 2011 Jul 1;19(7):607-17.
    37. Smith AD, Refsum H, Bottiglieri T, Fenech M, Hooshmand B, McCaddon A, Miller JW, Rosenberg IH, Obeid R. Homocysteine and dementia: an international consensus statement. Journal of Alzheimer’s Disease. 2018 Jan 1;62(2):561-70.
    38. Pfeiffer CM, Caudill SP, Gunter EW, Osterloh J, Sampson EJ. Biochemical indicators of B vitamin status in the US population after folic acid fortification: results from the National Health and Nutrition Examination Survey 1999–2000–. The American journal of clinical nutrition. 2005 Aug 1;82(2):442-50.
    39. Institute of Medicine. Dietary reference intakes for thiamin, riboflavin, niacin, vitamin B6, folate, vitamin B12, pantothenic acid, biotin, and choline. Washington, DC: National Academy Press, 1999.

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *