ปรับแต่งการตั้งค่าความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณนำทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละหมวดด้านล่าง

คุกกี้ที่ถูกจัดประเภทเป็น "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้จำเป็นสำหรับการเปิดใช้งานฟังก์ชันพื้นฐานของไซต์... 

แสดงตลอดเวลา

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

ไม่แสดงคุกกี้

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

ไม่แสดงคุกกี้

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

ไม่แสดงคุกกี้

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

ไม่แสดงคุกกี้

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ไม่แสดงคุกกี้

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ โรคไบโพลาร์ ลองสังเกตอาการตัวเองให้ดี

โรคอารมณ์สองขั้ว

ด้วยปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ส่งผลให้คนในยุคปัจจุบันจำนวนไม่น้อยป่วยด้วยโรคทางใจ หรือในภาษาแพทย์สามารถใช้คำว่า “จิตเวช” คงไม่ผิดเท่าใดนัก ซึ่งหนึ่งในโรคที่พบเจอมากนั่นคือ “โรคอารมณ์สองขั้ว” หรือที่คุ้นชินกันในชื่อ “โรคไบโพลาร์” การทำความเข้าใจกับตัวโรค สาเหตุ อาการ รวมถึงแบบทดสอบเพื่อเช็กตนเองจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยนำไปสู่การรักษาอย่างถูกต้องและสามารถหายจากโรคดังกล่าวได้จริง

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ โรคไบโพลาร์ คืออะไร?

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) คือ อาการทางจิตเวชชนิดหนึ่งอันถือเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ลักษณะเด่นที่สังเกตได้ชัดเจนมาก ผู้ป่วยมักมีอารมณ์เปลี่ยนไปมาสลับกันระหว่างอารมณ์ความรู้สึกซึมเศร้า (Major Depressive Episode) กับช่วงอารมณ์ดีมากกว่าปกติ (Mania หรือ Hypomania) บางครั้งก่อนจะสับไปอีกขั้วหนึ่งอาจเกิดอารมณ์ปกติคั่นกลางได้ สามารถเป็นตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงแบบสุดขั้ว ขณะที่ระยะเวลาก็ไม่มีความแน่นอน บางครั้งอาจเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือต่อเนื่องติดกันหลายเดือนก็ได้เช่นกัน

สิ่งสำคัญคืออาการดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาขึ้นเมื่อต้องใช้ชีวิตในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็นการมีปัญหากับคนรอบข้าง ครอบครัว คนรัก เพื่อนฝูง ปัญหาด้านการทำงาน การประกอบอาชีพ เมื่ออารมณ์ไม่นิ่งงานบางอย่างจึงไม่สามารถทำได้ หรือทำออกมาไม่ดีพอ บางคนอาจรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถบังคับร่างกายและจิตใจของตนเองได้จนทำในสิ่งไม่สมควร ใครที่กำลังมีปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้การแบ่งกลุ่มของโรคอารมณ์สองขั้ว สามารถแยกออกแบบกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภท ประกอบไปด้วย

  • Bipolar I Disorder มักแสดงอาการระยะ Mania หรือคึกคักไม่ต่ำกว่า 1 สัปดาห์ สลับกับภาวะซึมเศร้า
  • Bipolar II disorder มักแสดงอาการระยะ Hypomania หรือคึกคักไม่เกิน 1 สัปดาห์ สลับกับภาวะซึมเศร้า

โรคอารมณ์สองขั้ว สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง?

สำหรับการเกิดโรคอารมณ์สองขั้ว สาเหตุมีขึ้นได้จากหลายปัจจัยซึ่งขอสรุปให้ชัดเจน เพื่อการประเมินอย่างถูกต้องของแต่ละบุคคล ดังนี้

1. สาเหตุจากการทำงานของร่างกาย

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วมักมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองหรือโครงสร้างสมองผิดปกติไปจากเดิม บางรายอาจเกิดจากระบบฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายเกิดความผิดปกติ ไปจนถึงการทำงานของสมองบางส่วนโดยเฉพาะบริเวณที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการควบคุมอารมณ์ทำงานไม่เหมือนเดิม

2. สาเหตุจากพฤติกรรม สังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว

เป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้คนจำนวนมากในยุคปัจจุบันมีอาการป่วยโรคไบโพลาร์ เช่น มีระดับความเครียด ความวิตกกังวลสูงติดต่อกันเป็นเวลานานจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญ อาทิ เรื่องงาน ครอบครัว ความรัก และไม่สามารถปรับตนเองให้อยู่ในสภาพจิตใจที่ปกติได้ แม้แพทย์อาจระบุว่านี่ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบข้างเป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรคแสดงออกอย่างเด่นชัด การพักผ่อนน้อย อดนอน การใช้สารเสพติดเป็นระยะเวลานาน ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ การทานยาบางประเภทติดต่อกันนานเกินไป อาการป่วยด้วยโรคทางระบบประสาท โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง

3. สาเหตุจากพันธุศาสตร์ร่างกาย

สาเหตุสุดท้ายแม้ในเชิงการแพทย์ยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน แต่ภาพรวมก็มีความเป็นไปได้ถึงการป่วยด้วยโรคนี้อาจมาจากพันธุกรรม การถ่ายทอดยีน เพราะมักพบได้บ่อยกับครอบครัวที่บุคคลเครือญาติเคยมีประวัติป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว

โรคอารมณ์สองขั้ว อาการเป็นอย่างไร?

อย่างที่อธิบายไปว่าโรคอารมณ์สองขั้ว อาการของผู้ป่วยจะแสดงออกเกี่ยวกับลักษณะทางอารมณ์ที่มีความสุดขั้วใน 2 ด้าน นั่นคือ อาการช่วงซึมเศร้าและช่วงคึกคัก ถ้าลองประเมินแล้วอาการไบโพลาร์เบื้องต้นสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. Major Depressive Episode

ช่วงระยะที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า มักมีอาการนานกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งตนเองหรือคนรอบข้างสามารถสังเกตเห็นอาการต่อไปนี้ได้ชัดเจนอันเป็นภาพรวมของคนที่รู้สึกเบื่อหน่ายชีวิต ไม่มีความสุข ได้แก่

  • ตื่นเช้ามาไม่สดใส มีอาการซึมเศร้า ไม่รู้สึกสนุกยินดีกับสิ่งต่าง ๆ จิตใจว่างเปล่า ชอบร้องไห้บ่อย บางรายมีอารมณ์หงุดหงิดง่ายมาก
  • ขาดความสุขในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตนเองเคยชอบ จนแทบไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น ไม่มีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในชีวิตแทบทุกอย่าง
  • น้ำหนักลดแม้ไม่ได้มีการควบคุมอาหาร เบื่ออาหาร แต่ในบางรายกลับน้ำหนักขึ้น และเจริญอาหารมากผิดปกติ
  • นอนหลับยาก นอนไม่ค่อยหลับ ในสมองรู้สึกเหมือนมีอะไรกังวลอยู่ตลอดเวลา หรือบางรายอาจหลับมากกว่าปกติ
  • เซื่องซึม เชื่องช้า ไม่สดชื่นแจ่มใส สีหน้าหม่นหมองจนคนรอบข้างสังเกตเห็น บางรายอาจรู้สึกกระสับกระส่าย จิตใจไม่นิ่ง
  • ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย รู้สึกอยากนอนตลอดเวลาแต่นอนไม่หลับ
  • เริ่มมีความคิดว่าตนเองไม่มีค่า ไม่น่าอยู่บนโลกใบนี้ รู้สึกผิดซ้ำ ๆ กับสิ่งที่เคยกระทำผิดพลาด
  • ไม่มีสมาธิในการทำสิ่งที่เคยคุ้นชินหรือทำประจำ เช่น การขับรถ
  • รู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ บางรายอาจถึงขั้นลงมือทำร้ายตัวเอง

2. Manic Episode หรือ Hypomanic Episode

ช่วงระยะที่อยู่ในภาวะคึกคักมากผิดปกติ แสดงออกชัดเจนจนคนรอบข้างสังเกตเห็น หรือบางรายอาจหงุดหงิดง่ายยิ่งกว่าเดิม มักเป็นไม่เกิน 1 สัปดาห์ หรืออาจมากกว่านั้น อาการเบื้องต้น ได้แก่

  • รู้สึกมั่นใจในตนเองมากเกินไป คิดว่าตนเองเก่งและดีที่สุด ยิ่งใหญ่มากกว่าคนอื่น
  • ไม่ค่อยอยากนอน เมื่อรู้สึกตัวแล้วจะพร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ต้องนอนต่อ ซึ่งแต่ละคืนอาจน้อยเพียงแค่ 3-4 ชั่วโมง
  • พูดไม่หยุด พูดคุยได้ทุกเรื่องมากกว่านิสัยเดิมของตนเอง
  • ชอบคิดหลาย ๆ เรื่องพร้อมกัน และความคิดเหล่านั้นมักออกมาอย่างลื่นไหล
  • มีอาการรน วอกแวกบ้าง สมาธิสั้น มักถูกดึงความสนใจได้ง่าย ทั้งที่สิ่งเร้ารอบตัวอาจไม่ได้เกี่ยวพันกับเรื่องที่ตนเองกำลังคิดหรือทำอยู่
  • อยากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้น มีเป้าหมายในตนเอง เช่น การทำงาน การเรียน หรือแม้แต่เรื่องเพศ การช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว เล่นเกม จนบ่อยครั้งอาจล้ำหน้าหรือรุนแรงมากเกินเหตุจนส่งผลเสียตามมา เช่น ใช้เงินในอนาคต การขาดความยับยั้งเรื่องเพศ การตัดสินใจลงทุนโดยไม่คิดให้ถี่ถ้วน การใช้สารเสพติด ติดเหล้า

โรคอารมณ์สองขั้ว สังเกตได้ง่าย ๆ เริ่มจากการลองทำแบบทดสอบ

คนส่วนใหญ่เมื่อป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วแต่มักไปพบแพทย์โดยเข้าใจผิดคิดว่าตนเองป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ใครที่รู้สึกเหมือนตนเองมีอาการบางอย่างที่แต่ยังไม่แน่ใจว่าใช่หรือไม่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแถมยังดีด้วยซ้ำ แต่ในปัจจุบันก็มีโรงพยาบาล หรือหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้พยายามให้ทุกคนประเมินตนเองเกี่ยวกับโรคอารมณ์สองขั้วผ่านแบบทดสอบต่าง ๆ โดยสามารถลองไปทำแล้วเช็กคะแนนของตนเองได้ เพื่อจะได้เข้าใจและรีบเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ดีกว่าปล่อยเอาไว้

คลิกเพื่อลองประเมินโรคอารมณ์สองขั้วผ่านแบบทดสอบ

โรคอารมณ์สองขั้ว การรักษาเป็นอย่างไรบ้าง?

เมื่อรู้สึกว่าตนเองมีอารมณ์แปลกไปจากเดิม หรือมีข้อสงสัยว่าอาจป่วยด้วยโรคไบโพลาร์ คำแนะนำแรกต้องรีบพบจิตแพทย์เพื่อให้ประเมินอาการ และเมื่อแพทย์วินิจฉัยเรียบร้อยว่าป่วยด้วยโรคอารมณ์สองขั้ว การรักษาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและความเหมาะสมที่แพทย์เจ้าของไข้เห็นตามสมควร ซึ่งแบ่งออกได้ ดังนี้

1. การรักษาด้วยวิธีทานยา

ถือเป็นวิธีเบื้องต้นที่แพทย์มักเลือกใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านจิตเวช รวมถึงผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว ยาที่ต้องทานมักอยู่ในกลุ่มยาต้านโรคจิต ยาต้านเศร้า (มักให้ในช่วงระยะซึมเศร้า และยากลุ่มควบคุมอารมณ์ ซึ่งกลไกสำคัญของตัวยาจะเข้าไปปรับสารเคมีในสมองเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์เป็นกลาง ไม่สุดเหวี่ยงไปในทิศทางใดมากเกินไป สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกวิตกกังวลไปก่อนเกี่ยวกับผลข้างเคียงเมื่อทานยา จึงต้องปรึกษาแพทย์ให้ละเอียดเพื่อสร้างความมั่นใจและเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาด

2. การรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด

การรักษารูปแบบต่อมาเมื่อป่วยทางจิตใจจิตแพทย์ก็จะใช้เทคนิครักษาด้วย “จิตบำบัด” เป็นลักษณะของการพูดคุยเพื่อให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึก อารมณ์ต่าง ๆ ออกมา จากนั้นนักจิตบำบัดจะค่อย ๆ หาวิธีเพื่อบำบัดจิตใจของผู้ป่วยเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง เสริมแนวคิดสำหรับการแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับตนเอง มักทำควบคู่ไปกับการทานยา หรือใครที่ทานยามาพักใหญ่จนอาการดีขึ้นชัดเจนก็อาจยังคงเลือกวิธีนี้เพื่อดูแลสภาพจิตใจอย่างต่อเนื่อง นอกจากการพูดคุย การให้คำแนะนำของแพทย์แล้ว กลุ่มการใช้ดนตรีบำบัด โยคะบำบัด หรือศิลปะบำบัด ก็ถูกจัดอยู่ในวิธีรักษานี้ด้วยเช่นกัน

3. การรักษาด้วยวิธีไฟฟ้า

วิธีสุดท้ายในการรักษาผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วที่มีอาการรุนแรงมาก ๆ ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือจิตบำบัด การใช้วิธี ECT หรือกระแสไฟฟ้าก็เป็นเทคนิคที่ถูกนำมาใช้ หลักการคือเมื่อเกิดการช็อตไฟฟ้าแล้วตัวกระแสไฟจะเข้าไปกระตุ้นสมองให้เกิดการปรับสารเคมีบางชนิด อย่างไรก็ตามแพทย์ต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดส่วนใหญ่ผู้ป่วยจึงต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสักระยะใหญ่ ซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้บ้างจะเป็นเรื่องของปัญหาด้านความจำเพียงช่วงสั้น ๆ ไม่นานก็กลับมาเป็นปกติ และปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัยใดที่ระบุว่าวิธีช็อตไฟฟ้ากระตุ้นสมองนี้ส่งผลกระทบต่อสมองในระยะยาว

ทั้งนี้สำหรับผู้ที่สงสัยว่าโรคไบโพลาร์ระยะสุดท้ายเป็นอย่างไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน ปัจจุบันหากเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีโอกาสหายขาดจากโรคก็มีอยู่จริง แต่โดยทั่วไปแล้วสิ่งสำคัญมากของผู้ที่ป่วยโรคนี้ต้องยอมรับตนเองและเข้ารับการรักษา ไม่ควรปล่อยเอาไว้เป็นอันขาด เพราะถ้าเข้าสู่ช่วงซึมเศร้าจนดาวน์แบบขั้นสุดก็อาจอันตรายถึงขั้นทำร้ายตัวเองได้เลย

มากไปกว่านั้นการรู้จักปรับอารมณ์ของตนเองให้ครองสติได้ดี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การใช้สารเสพติด ความเครียดสะสม การทานยาบางประเภท เช่น ยาสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐาน ยาลดน้ำหนัก พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ หาสิ่งที่สร้างความสุขของชีวิตทำ ย่อมช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวชทุกประเภทได้ ส่วนใครที่มีคนรอบข้างป่วยด้วยโรคนี้ก็ต้องพยายามทำความเข้าใจเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

Ref:

  1. https://www.bangkokhospital.com/content/bipolar-disorder
  2. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1105
  3. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/bipolar-disorder
  4. https://www.mhc2.go.th/bipolar/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *