ปรับแต่งการตั้งค่าความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณนำทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละหมวดด้านล่าง

คุกกี้ที่ถูกจัดประเภทเป็น "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้จำเป็นสำหรับการเปิดใช้งานฟังก์ชันพื้นฐานของไซต์... 

แสดงตลอดเวลา

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

ไม่แสดงคุกกี้

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

ไม่แสดงคุกกี้

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

ไม่แสดงคุกกี้

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

ไม่แสดงคุกกี้

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

ไม่แสดงคุกกี้

“โรคฮีทสโตรก” อันตรายใกล้ตัวมากกว่าที่คิด จากสภาพอากาศร้อนจัด

โรคฮีทสโตรก

ด้วยภูมิศาสตร์ของประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตเมืองร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้แทบตลอดทั้งปีต้องพบเจอกับสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัดตามลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น ยิ่งถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ด้วยแล้ว บางวันอุณหภูมิอาจแตะเกิน 40 องศาเซลเซียส เป็นเรื่องปกติ ด้วยอากาศแบบนี้หนึ่งในอาการอันตรายที่มักพบเจอได้จึงหนีไม่พ้น “โรคฮีทสโตรก” จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง

โรคฮีทสโตรก (Heatstroke) คืออะไร?

โรคฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือ โรคลมแดด ตามความหมายในภาษาไทย คือ ภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายเกิดความร้อนสูงมากเกินไป (ส่วนใหญ่มักเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส) จากการต้องใช้พลังงาน เช่น เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ทำงานใช้แรง การอยู่ในสถานที่อากาศร้อนจัด ไม่มีการถ่ายเท เมื่ออุณหภูมิของร่างกายพุ่งขึ้นสูงภายในเวลาอันรวดเร็วจึงไม่สามารถระบายความร้อนออกมาสู่ภายนอกได้ทันจนความร้อนได้สร้างอันตรายต่ออวัยวะหลายส่วน เช่น สมอง ปอด หัวใจ ไต ไปจนถึงกล้ามเนื้อ หากไม่ได้รับการรักษาให้ทันท่วงที หรือการรักษาอย่างถูกต้อง ก็มีโอกาสเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

โรคฮีทสโตรก อาการเป็นอย่างไร?

การสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างที่ต้องทำกิจกรรมหรืออยู่บริเวณที่มีความร้อนสูงมาก ๆ จะช่วยทำให้รู้ได้เร็วขึ้นถึงอาการของโรคฮีทสโตรกที่กำลังเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักมีลักษณะ ดังนี้

  • ความร้อนในร่างกายพุ่งสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการไข้ร่วมด้วยแบบฉับพลัน
  • ผิวหนังแห้ง เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงมากขึ้น เมื่อสัมผัสไปตามร่างกายแล้วเริ่มตัวร้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่มีการระบายของเหงื่อออกมา หรือออกเพียงเล็กน้อยเหตุเพราะต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ
  • มีอาการปวดศีรษะ หน้ามืด วิงเวียน เมื่อยล้า อ่อนเพลีย มึนงง สับสน บางรายอาจถึงขั้นหมดสติได้เลย
  • ระดับความดันโลหิตลดต่ำลงแบบเฉียบพลัน
  • หัวใจเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ ใจสั่น รู้สึกคล้ายมีอาการช็อก ชีพจรพุ่งสูงและถี่มาก
  • บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
  • เมื่อเป็นหนักมาก ๆ แต่ยังไม่ถูกรักษาหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีอาจมีอาการชักเกร็ง กระตุก และหมดสติ
  • บางรายมีปัสสาวะสีเข้มมากกว่าปกติสาเหตุจากการที่กล้ามเนื้อสลายตัว และมีโอกาสร้ายแรงถึงขั้นภาวะไตวายเฉียบพลันเนื่องจากความร้อนไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ

ภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่เกิดได้จากโรคฮีทสโตรก

ด้วยความร้อนในร่างกายที่สูงขึ้นแบบฉับพลันจึงอาจส่งผลให้โรคฮีทสโตรกสร้างภาวะแทรกซ้อนกับอวัยวะต่าง ๆ จนกลายเป็นความเสียหายและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

  • สมอง อาจมีภาวะสมองบวม การชักเกร็ง ร้ายแรงจนถึงขั้นเซลล์สมองเกิดความเสียหายถาวร
  • กล้ามเนื้อ สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) สารต่าง ๆ จึงเข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะอื่นส่งผลให้การทำงานผิดปกติ
  • ไต เนื่องจากกล้ามเนื้อสลายไตจึงต้องทำงานหนักในการกำจัดของเสีย มีโอกาสเสี่ยงภาวะไตวายเฉียบพลัน
  • หัวใจ เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูง หัวใจย่อมทำงานหนักขึ้น ชีพจรเต้นเร็ว เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวัด ช็อก หรือหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
  • ตับ การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ปริมาณมากส่งผลให้เลือกที่ไหลไปเลี้ยงตับลดลง บวกกับการทำหน้าที่ขจัดสารพิษของร่างกายที่อาจเกิดจากกล้ามเนื้อสลายเข้าเส้นเลือด จึงเสี่ยงต่อภาวะตับวายเฉียบพลัน
  • ปอด เสี่ยงต่อการเกิดภาวะวิกฤตในระบบทางเดินหายใจ (Acute Respiratory Distress Syndrome) ถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน
  • เลือด โอกาสการเกิดลิ่มเลือดและเลือดออกง่ายกว่าปกติมีสูง

การปฐมพยาบาลผู้ป่วย Heat Stroke ควรทำอย่างไรบ้าง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโรคฮีทสโตรกถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะลดความรุนแรงจากหนักให้น้อยลง ลดความเสี่ยงต่อการชักเกร็ง ช็อก หมดสติ และเสียชีวิต ซึ่งเบื้องต้นแม้ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ก็สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ได้

1. ระบายอุณหภูมิในร่างกายของผู้ป่วยให้ลดลงโดยเร็วที่สุด

เช่น การถอดเสื้อผ้าหนา ๆ บางชิ้นออก การคลายเสื้อผ้าให้หลวมเพื่อการถ่ายเทและระบายอากาศ การย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่อากาศเย็นและถ่ายเท เช่น ห้องแอร์ พื้นที่ร่มโล่งแจ้ง การดื่มน้ำเย็น ไม่ห้อมล้อม รุมล้อมตัวผู้ป่วยเป็นอันขาด

2. จัดท่าทางการนอนอย่างถูกต้อง

ขั้นตอนถัดไปต้องทำการจัดท่าทางการนอนของผู้ป่วยอย่างถูกต้องโดยเริ่มจากการจับนอนหงายบริเวณพื้นราบ ยกขาสูงทั้ง 2 ข้าง เป็นเทคนิคเพิ่มการไหลเวียนเลือดให้สามารถเข้าไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น

3. เช็ดตัวผู้ป่วยด้วยน้ำเย็น

อีกวิธีที่จะช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงเร็วขึ้นนั่นคือการเช็ดตัวผู้ป่วยด้วยน้ำเย็น หรือการประคบน้ำแข็งตามบริเวณต่าง ๆ เข่น ลำตัว แขน ใบหน้า ลำคอ ข้อพับ รักแร้ ขาหนีบ และอาจช่วยเพิ่มการถ่ายเทในบริเวณดังกล่าวให้มากขึ้นด้วยการเปิดพัดลมให้พัดเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้เร็วที่สุด

4. ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือแร่

กรณีที่ผู้ป่วยเริ่มมีสติขึ้นมาบ้างต้องรีบให้ดื่มน้ำเปล่าเย็น ๆ น้ำเกลือแร่ หรือน้ำเกลือ เพื่อสร้างพลังงานทดแทนจากการที่ร่างกายพึ่งสูญเสียน้ำกับเกลือแร่ไปภายในเวลาอันรวดเร็วมากที่สุด

5. รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

หลังปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคฮีทสโตรกเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการโทรเรียกประสานหน่วยรถพยาบาลเพื่อรีบเข้ามารับตัวผู้ป่วยให้ไปส่งถึงโรงพยาบาลและทำการรักษาตามขั้นตอนของแพทย์ในลำดับถัดไป

หากผู้ป่วยโรคฮีทสโตรกหมดสติควรทำอย่างไร?

อย่างที่อธิบายเอาไว้ว่าการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ถ้ากรณีที่ผู้ป่วยฮีทสโตรกอยู่ในภาวะหมดสติ สิ่งที่ผู้ใกล้ชิดต้องดำเนินการทันทีนั่นคือคลายเสื้อผ้าหรือถอดเสื้อผ้าตัวหนา ๆ ที่ผู้ป่วยกำลังสวมใส่ออก หาวิธีลดอุณหภูมิในร่างกายให้เร็วที่สุด เช่น ย้ายไปห้องแอร์ เปิดพัดลม และรีบโทรตามรถพยาบาลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีความเชี่ยวชาญมากกว่าเข้ามารับหน้าที่ต่ออย่างทันท่วงที พร้อมทั้งยังต้องคอยสังเกตอาการขณะเจ้าหน้าที่กำลังเดินทางมารับตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ที่สำคัญผู้ใกล้ชิดต้องมีสติอยู่ตลอด

ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฮีทสโตรกบ้าง?

หากประเมินกันตามสถานการณ์ความเป็นจริงผู้ที่อยู่ในสภาพอากาศร้อนจัด อุณหภูมิแวดล้อมโดยรอบสูงแตะระดับ 40 องศาเซลเซียส ก็มีโอกาสเกิดโรคฮีทสโตรกได้ เช่น ทหารที่กำลังฝึกฝน นักกีฬาที่ต้องเล่นกีฬากลางแจ้ง เช่น ตีกอล์ฟ ฟุตบอล วิ่งแข่ง ไตรกีฬา วิ่งมาราธอน ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร เป็นต้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางกลุ่มคนที่อาจเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ได้มากกว่าคนปกติ ได้แก่

  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่อายุเกิน 65 ปี เนื่องจากร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่ากับวัยหนุ่มสาว
  • ผู้มีน้ำหนักตัวเกิน หรือผู้ป่วยโรคอ้วน
  • ผู้มีโรคประจำตัวบางประเภทของร่างกาย เช่น โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
  • ผู้ที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอในแต่ละวัน นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง / วัน
  • ผู้ที่ต้องเจอกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจากเย็นไปร้อนจัดในเวลาเฉียบพลัน เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานห้างที่เดินออกจากออฟฟิศมาเจอเข้ากับแสงแดดร้อนจัด อุณหภูมิสูง
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์บริเวณอากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูง เพราะร่างกายมักสูญเสียแร่ธาตุและน้ำมากกว่าปกติ จึงอาจเกิดภาวะขาดน้ำ ไปจนถึงการดื่มแอลกอฮอล์ยังทำให้หัวใจทำงานเร็วกว่าปกติจากการที่เลือดลมสูบฉีด ระดับความดันโลหิตพุ่งสูง หัวใจทำงานหนัก จนอาจเป็นลมแดดและรุนแรงถึงขั้นช็อก หมดสติ เสียชีวิตได้เลย

วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรกไม่ให้เกิดกับตนเองและคนรอบข้าง

การรู้วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรกเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับตนเองและคนรอบข้าง จะช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงของตัวโรคได้อย่างดี ซึ่งทุกคนสามารถทำตามหรือนำไปบอกต่อด้วยเทคนิคง่าย ๆ ด้งนี้เลย

  • สวมเสื้อผ้าเนื้อบาง โปร่ง โล่งสบาย ไม่ต้องรัดแน่น หรือหนาจนเกินไป หากบริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูง เพื่อให้ร่างกายสามารถคายความร้อนออกมาได้ตามปกติ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวันเฉลี่ย 8-10 แก้ว รวมถึงพยายามจิบน้ำดื่มบ่อย ๆ หากต้องอยู่พื้นที่อากาศร้อนเพื่อป้องกันร่างกายสูญเสียน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในพื้นที่มีแสงแดดจัด อุณหภูมิสูง เข่น ตีกอล์ฟตอนเที่ยง เตะฟุตบอลตอนบ่าย หากชอบออกกำลังกายแนะนำเป็นช่วงเช้าหรือเย็นซึ่งอุณหภูมิจะลดลงกว่า ไม่เสี่ยงต่ออาการฮีทสโตรก รวมถึงก่อนออกกำลังกายจริงต้องต้องวอร์มอัพเตรียมความพร้อมเสมอ
  • หาอุปกรณ์ช่วยปกป้อง หรือปิดบังไม่ให้แสงแดดสัมผัสกับร่างกายจนเกิดการเพิ่มความร้อนในตัว เช่น ใช้ร่ม หมวก แว่นตาดำ
  • หากมีเหตุจำเป็นให้ต้องอยู่พื้นที่กลางแจ้ง หรือทำงานหนักภายใต้ภาวะอุณหภูมิสูง ควรมีการดื่มน้ำเยอะ ๆ พร้อมดื่มเกลือแร่เพื่อทดแทนการขาดน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
  • เมื่อเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ต้องรีบหาวิธีคลายความร้อนดังกล่าวออกมาให้เร็ว หรือไปอยู่บริเวณมีอุณหภูมิเย็นกว่า เช่น ห้องแอร์ การเปิดพัดลมระบายความร้อน เป็นต้น

สรุป

จากข้อมูลทั้งหมดนี้จะเห็นว่าโรคฮีทสโตรก (Heatstroke) มีความอันตรายและอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน อุณหภูมิสูงแทบตลอดทั้งปีโดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม การรู้วิธีสังเกตอาการ วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นของโรคนี้จึงช่วยลดโอกาสเสี่ยงถึงขั้นการเสียชีวิตลงได้พอสมควร และอย่าลืมหมั่นดูแลสุขภาพของตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคนี้ด้วย

Ref:

  1. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/heatstroke
    https://www.synphaet.co.th/โรคฮีทสโตรก-heat-stroke-หรือโรคลม/
    https://www.vimut.com/article/heat-stroke-symptoms-causes
    https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/disease-treatment/hot-weather-must-be-careful-of-heatstroke

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เขียนความคิดของคุณ