เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพชนิดต่างๆ และประโยชน์ต่อร่างกาย

เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพชนิดต่างๆ และประโยชน์ต่อร่างกาย

เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมีอะไรบ้าง เริ่มไล่จากที่เราคุ้นเคยกันดีมากเลยก่อนเลย “น้ำเปล่า” หาง่าย, ราคาไม่แพง, สดชื่น, ช่วยเติมเต็มของเหลวที่เสียไปในร่างกาย ก่อนเราจะเกิดบรรพบุรุษของเราใช้ชีวิตอยู่ด้วยน้ำเปล่านี้มาเป็นล้านปี

หลังจากนั้นในยุคเกษตรกรรม “นม” ก็เริ่มเป็นที่นิยมจากการผลิตในฟาร์มปศุสัตว์ที่เราสร้างขึ้น แล้วหลังจากนั้นก็มาเป็น “เบียร์” “ไวน์” “กาแฟ” และ “ชา” เราเริ่มมีความสุขมากขึ้นกับรสชาติที่เครื่องดื่มเหล่านี้ให้ได้นอกเหนือจากแค่ของเหลวที่เราได้จากน้ำเปล่า

ล่าสุดมีน้องใหม่ “เครื่องดื่มผสมน้ำตาล” เช่น โซดา, น้ำอัดลม, เครื่องดื่มเกลือแร่, เครื่องดื่มชูกำลัง แน่นอนว่าช่วยแก้กระหาย แต่ก็มาพร้อมกับแคลลอรี่มหาศาลที่หลายครั้งก็เกินกว่าที่เราจะใช้ได้หมด  จนวิวัฒนาการมาเป็น “เครื่องดื่ม Diet” ที่ใช้สารแทนความหวานแต่ลดแคลลอรี่

แต่มันดีต่อสุขภาพจริงรึเปล่านะ?

กระหายจังเลย ดื่มอะไรดี?

เพราะตัวเลือกในการดื่มในปัจจุบันเยอะมาก คำโฆษณาก็ชวนซื้อ บางทีเราในฐานะผู้บริโภคก็อาจจะสงสัยว่าเครื่องดื่มอะไรกันแน่ที่ดีต่อสุขภาพ ด้านล่างจะมีลิ้งที่พาคุณตามไปดูเชิงลึกว่าเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแต่ละประเภทดีเสียต่างกันอย่างไร, แต่ถ้าคุณเวลาน้อย เราสรุปให้เบื้องต้นตามนี้ครับ:

  • น้ำเปล่า เหมาะที่สุดสำหรับแก้การกระหาย ในขณะที่ กาแฟ และ ชา ที่ไม่มีความหวานเพิ่มเติม ก็ดีต่อสุขภาพเหมือนกัน
  • เครื่องดื่มบางประเภทแนะนำให้ดื่มแต่พอประมาณ รวมไปถึง น้ำผลไม้, นม, และเครื่องดื่มที่ให้ความหวานแบบโล-แคล (low-calorie) เช่น พวก เครื่องดื่ม Diet, ส่วนเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ก็สามารถดื่มได้ในปริมาณพอเหมาะ ดีต่อสุขภาพสำหรับบางคน แต่ไม่ใช่ทุกคน
  • และถ้าสรุปไวๆในกรณีส่วนมาก ถ้าเลี่ยงได้คุณควรเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น โซดา, น้ำอัดลม, เครื่องดื่มเกลือแร่, และเครื่องดื่มชูกำลัง

เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพชนิดใด ที่ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ (ไม่มากเกินไป)

เครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานเทียม (Artificial Sweetener)

  • ผลงานวิจัยบอกว่าเครื่องดื่มที่ให้ความหวานเทียมก็อาจทำให้น้ำหนักขึ้นได้ สาเหตุเพราะเครื่องดื่มที่เขียนว่า “diet” หรือ ความหวานเทียม จะทำให้ความอยากหวานและอาหารของคุณเพิ่มขึ้น! ซึ่งนำมาสู่การเพิ่มน้ำหนักในที่สุด
  • องค์กรสำคัญ เช่น World Health Organizations, Mayo Clinic (US No.1 hospital) เริ่มออกมาประกาศถึงงานวิจัยเกี่ยวกับ side effect ของสารให้ความหวาน เช่น ทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ไปจนถึง โรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด, โรคหัวใจ, เบาหวาน, และโรคมะเร็ง
  • สารให้ความหวานเทียมไม่ได้มีประโยชน์ต่อร่างกาย-ไม่ได้ให้พลังงาน (นอกจากทำให้เรา “รู้สึก” หวาน) ดังนั้นถ้าอดใจได้ทานน้อยหน่อยก็จะดีนะครับ 🙂

น้ำผลไม้ 100% (Fresh Fruit Juice/Pasteurized)

  • น้ำผลไม้มีวิตามิน แต่ก็มาพร้อมน้ำตาลธรรมชาติ (น้ำตาลผลไม้) ที่ให้แคลลอรี่ปริมาณมากเกินกว่าที่ lifestyle ปกติจะเผาผลาญได้หมด ดังนั้นจำกัดไว้วันละ 1 แก้วเล็ก (150-200ml) ดีกว่า
  • น้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) ก็เลือกที่ไม่มีการเติมน้ำตาลหรือสารปรุงแต่งอื่นๆ, การพาสเจอร์ไรซ์อาจทำให้สารอาหารบางรายการในน้ำผลไม้ลดลงแต่โดยรวมก็ยังคงให้สารอาหารที่ดีครับ
  • ผลไม้ลูกๆดีที่สุด ถ้าอยากทาน ผลไม้ทั้งลูกให้ผลลัพธ์ในทางสุขภาพยอดเยี่ยมที่สุด ทั้งมีน้ำตาลต่ำกว่า, มีไฟเบอร์, ลดการสูญเสียของสารอาหาร และส่วนใหญ่ราคาถูกกว่าน้ำผลไม้ด้วยครับ

นม (Milk)

  • ดื่มนมวันละ 1-2 แก้วเพียงพอต่อความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัน (หรืออาจจะน้อยกว่านั้นถ้าเราได้แคลเซียมจากอาหารประเภทอื่นด้วย)
  • นม เป็นแหล่งสารอาหารของแคลเซียม, วิตามิน D, โปรตีน และ สารอาหารประเภทอื่นด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณแคลเซียมจากนมที่ส่งผลชัดเจนต่อร่างกายจริงก็ยังไม่มีความชัดเจนมาก (ความหมายคือทานมากไปก็ใช่ว่าผลลัพธ์จะดีขึ้น) ดังนั้น 2 แก้วต่อวันเพียงพอในปริมาณแนะนำ

แอลกอฮอลล์ (Alcohol)

  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณที่เหมาะสมก็สุขภาพดี *แต่ไม่ใช่ทุกคนนะครับ และยังมีความเสี่ยงบางอย่างตามมาด้วย
  • แอลกอฮอล์บางประเภทก็มีผลดีเยอะ? เช่น ไวน์แดง โดยเฉพาะเมื่อดื่มไวน์แดงคู่กับอาหารช่วยต้านอนุมูลอิสระและโรคหลอดเลือดกว่าประเภทอื่น? จริงอยู่ว่าสารประกอบในไวน์แดงหลายประเภทถูกพิสูจน์ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามยังไม่ได้วิจัยทางการแพทย์ชัดเจนว่าไวน์แดงช่วยลดการเกิดโรคหลอดโรคหัวใจได้จริง
  • ทางที่ดีถ้าใครยังไม่ได้ติดการดื่มแอลกอฮอล์ ยังมีอีกหลายวิธีที่ช่วยให้สุขภาพดีแบบไม่ต้องกังวลผลข้างเคียง ดังนั้นไม่เริ่มดื่มเลยก็ดีกว่าครับ : )

ตัวเลือกเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพชนิดอื่นๆ

นอกจากน้ำเปล่าแล้ว ชา กาแฟ คือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มนุษย์เราให้ความนิยมรองลงมา มันเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ, ฟลาโวนอยด์, และเคมีอื่นๆ ที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

กาแฟ (Coffee)

  • กาแฟมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด, โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง รวมถึงโรคเรื้อรังอื่นๆ
  • ปริมาณแนะนำดื่มคือ 3-5 ถ้วย (150-200ml) ต่อวัน
  • ควรระวัง สำหรับคนที่อ่อนไหวต่อกาแฟ จะมีอาการใจสั่น, หวาดกลัว, นอนไม่หลับ โดยเฉพาะความดันในเลือดสูงควรจำกัดในปริมาณที่ลดลง
  • โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งท้อง คาเฟอีน (Caffeine) สูงสุดไม่ควรเกิน 200mg (2 ถ้วย) เพราะคาเฟอีนในกาแฟสามารถผ่านรกไปยังลูกน้อยและอาจเป็นสาเหตุของน้ำหนักทารกต่ำกว่าความเป็นจริง ตลอดจนสูญเสียทารกในครรภ์
  • ด้วยความเสี่ยงสำหรับคนที่อ่อนไหวต่อกาแฟ ถ้าใครยังไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มกาแฟก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเริ่มดื่ม หรือเพิ่มจำนวนการดื่ม (สำหรับคนที่ดื่มอยู่แล้ว) และดูวิธีอื่นที่จะเสริมสุขภาพโดยไม่มีผลข้างเคียงแทน
  • ดื่มกาแฟดีคาฟ (Decaffeinated) แทนก็เหมาะสำหรับคนที่อ่อนไหวต่อกาแฟ เพราะไม่ทำให้เกิดผลเสียข้างต้น และงานวิจัยยังบอกว่าให้ผลดีต่อสุขภาพในระดับที่ใกล้เคียงกัน
  • หลีกเลี่ยงส่วนเสริม ที่เราคุยกันทั้งหมดคือกาแฟดำนะครับ ดังนั้นน้ำตาล, ครีมเทียม, syrup หรือส่วนประกอบอื่นๆที่ใส่เพื่อเพิ่มรสชาติและไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพถ้าทานรวมกันไป แทนที่จะได้ผลดีจากการทานกาแฟ อาจจะขาดทุนได้ไม่คุ้มเสียครับ

ชา (Tea)

  • ชา เตรียมดื่มง่ายมาก เติมน้ำร้อนลงในใบชา (พืชพันธุ์ Camellia Sinensis)
  • รสชาติชาขึ้นอยู่กับวิธีการปลูก, ดินฟ้าอากาศ, ขั้นตอนการผลิต, พันธุ๋ของชา, ชาดำ (Black tea) ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก ตามมาด้วยชาเขียว (Green tea), อู่หลง (Oolong) และชาขาว (White tea)
  • ชาสมุนไพร (Herbal tea) เรียกว่าชาเหมือนกัน แต่ทำจาก สมุนไพร, เครื่องเทศ, ดอกไม้, ผลไม้, เมล็ดต้นไม้, รากไม้ แทนพืชจากตระกูล Camellia และไม่มีคาเฟอีน (Caffeine) เหมือนกับชาปกติ
  • งานวิจัยในสัตว์แสดงผลที่ลัพธ์ทางบวกต่อสุขภาพที่ชัดเจนจาก โพลีฟีนอล (Polyphenol) -สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในพืช และวิจัยในคนก็แสดงผลในทางบวกมากแม้จะยังไม่ได้รับการสรุปชัดเจนถึงผลลัพธ์
  • ตัวอย่างงานวิจัยในคนที่ดื่มชา 2-3 ถ้วย (150-200ml) ต่อวัน ลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (Premature death), โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดหัวใจ (Hearth Stroke), เบาหวาน
  • ไม่เติม, reminder ว่าคุณประโยชน์ที่เราพูดถึงคือตัวนน้ำชา แต่น้ำตาล, ครีมเทียม, syrup, อื่นๆที่ใส่เพิ่มเข้าไปอาจไม่เป็นประโยชน์และเกิดโทษมากเกินกว่าที่ประโยชน์จะครอบคลุมไหว
  • แต่ดื่มร้อนมากไม่ดี ความร้อนที่มากเกินกว่า (60องศา) มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดอาหาร ตลอดจนมะเร็งช่องท้อง
  • ดื่มชาโดยภาพรวมมีประโยชน์มากกว่าโทษ อย่าดื่มร้อนเกินไป เลือกสี กลิ่น ที่ถูกใจรอให้เย็นแล้วดื่มด่ำกับรสชาติและคุณประโยชน์ได้เลย

Reference

  1. Healthy Drinks, Havard T.H.CHAN

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *