ลูกไม่มีเพื่อน ! 9 วิธีช่วยลูก ก่อนเป็นโรคซึมเศร้า

ลูกไม่มีเพื่อน

ลูกไม่มีเพื่อน ! 9 วิธีช่วยลูก ก่อนจะเป็นโรคซึมเศร้า

ปัญหา ลูกไม่มีเพื่อน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้ลูกเราเป็นโรคซึมเศร้าได้ในอนาคต หากไม่ได้รับความเอาใจใส่จากครอบครัวด้วยแล้วโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าก็ยิ่งมีมาก เนื่องด้วยว่ามันเป็นโรคทางจิตใจทำให้เราสังเกตได้ยาก แถมเวลาส่วนใหญ่ก็เอาไปลงกับงานหมด บางคนแทบจะไม่มีเวลาดูลูก ฉะนั้น การที่ลูกเรามีเพื่อนที่คอยดูแลกันคงจะดีไม่น้อย

วัยเด็กเป็นวัยที่เรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดีที่สุด และข้อดีของการมีเพื่อนคือ การขยายขอบเขตการเรียนรู้ออกไปให้ไกลกว่าคนในครอบครัว เมื่อได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น จะทำให้เด็กพัฒนาและค้นพบตัวเองได้เร็วขึ้น ได้รู้ว่าตัวเองชอบอะไร สนใจในเรื่องอะไร

บทความนี้จะช่วยให้ลูกคุณมีเพื่อนมากขึ้น ได้เรียนรู้ทักษะการเข้าสังคม ได้เปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น โดยมีคุณเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ เลือกอ่าน :

ลูกไม่มีเพื่อน เพราะขาดทักษะการเข้าสังคม?

ปกติแล้วทักษะการเข้าสังคมนั้นจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในเด็ก แต่ปัญหาคือเด็กแต่ละคนมีความต้องการเพื่อนในแบบที่แตกต่างกัน ไม่เหมือนผู้ใหญ่แบบเราๆที่ดูเหมือนมีความสัมพันธ์กับผู้คนเยอะ ซึ่งส่วนมากก็ทำไปตามมารยาททางสังคม แต่กับเด็กไม่ใช่

เนื่องจากเด็กยังไม่ได้เรียนรู้เรื่องมารยาททางสังคม จึงพุ่งเป้าไปที่เพื่อนที่ตัวเองอยากเล่นด้วยเท่านั้น ยิ่งอายุน้อยจำนวนเพื่อนยิ่งน้อย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ทักษะการเข้าสังคมปฐมวัยสามารถแบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้

ช่วงอายุ 3 ถึง 5 ขวบ

เด็กก่อนวัยเรียน เพื่อนวัยนี้คือเพื่อนเล่น เล่นอย่างเดียวจริงๆ  เล่นของเล่น เล่นเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น เล่นผ่านกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเวลานี้เด็กๆ จะเริ่มเกิดทักษะการเข้าสังคม

อายุ 6 ถึง 8 ขวบ

เมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียน เด็กจะเจอเพื่อนที่โรงเรียนมากขึ้น เพื่อนที่มีนิสัยหลากหลายมากขึ้น การสร้างความสัมพันธ์ก็จะซับซ้อนมากขึ้น  เล่นกับเพื่อนที่อาศัยอยู่ละแวกบ้านแล้วมีของเล่นเจ๋งๆ การทำกิจกรรมที่ชอบเหมือนกัน เช่น เล่นรถบรรทุกด้วยกัน เล่นทำอาหารด้วยกัน ในช่วงอายุนี้ เด็กๆจะเลือกผูกมิตรกับเด็กที่ดูน่าสนใจสำหรับเขา

อายุ 9 ถึง 11 ปี

เด็กในวัยนี้เริ่มพึ่งพาเพื่อน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดความผูกพันทางอารมณ์ มีความยึดมั่นและจริงใจต่อกัน สนใจในสิ่งเดียวกัน การคาดหวังให้เพื่อนเข้าใจ การแบ่งปันความคิดและความรู้สึกส่วนตัวต่อกันSapiens Health แนะนำ

หากคุณสนใจแนวคิดการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์ที่สุด โดยแบ่งสัดส่วนของอาหารใน 1 มื้อให้เหมาะสมต่อสุขภาพอย่างที่ควรจะเป็น และส่งผลดีต่อร่างกายในระยะยาว ผมแนะนำให้ลองอ่านบทความ “Healthy Plate จานอาหารสุขภาพสไตล์ Harvard” ครับ

9 วิธีช่วย ลูกไม่มีเพื่อน ให้มีเพื่อนมากขึ้น

1. ถ้าลูกไม่มีเพื่อน ก็ให้ตัวเราเองเล่นเป็นเพื่อนลูก

แม้ว่าลูกคุณไม่มีเพื่อน แต่คุณสามารถเล่นเป็นเพื่อนลูกได้ ใช่ครับ คุณนั่นแหล่ะ! ไม่ต้องมองไปทางอื่น คุณคือเพื่อนคนแรกของลูกคุณ 

หากลูกคุณอายุยังน้อย เทคนิคที่ผมใช้คือระหว่างที่เล่นต้องทำตัวติงต๊องให้มากที่สุด ทำเหมือนเราเป็นเด็กวัยเดียวกับเขา แล้วลูกคุณจะสนุกมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เช่น กระโดดเต้นกับลูกพร้อมทำหน้าแลบลิ้นล้อเลียนให้ลูกคุณหัวเราะก๊าก การนอนกลิ้งไปมาแล้วร้องเพลงเต่า 4 ขาให้ลูกคุณฟังแบบอมยิ้ม หรืออะไรก็ตามแต่ที่คุณจะจินตนาการถึง

สิ่งนี้จะช่วยในเรื่องการพัฒนาความสัมพันธ์เชิงบวกของคุณกับลูก มันจะยิ่งดีมากขึ้นหากทุกคนในครอบครัวช่วยกันเล่น ลูกจะยิ่งซึมซับทักษะการเข้าสังคมได้มากขึ้น ลูกจะรู้สึกได้ว่าคุณคิดยังไงกับเขา เกิดความไว้วางใจ เกิดความสุข เมื่อลูกรู้สึกรักและเคารพคนที่บ้าน เขาจะรับรู้ความรู้สึกของบเพื่อนได้และตัดสินใจได้ดีขึ้น

2. ออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น ๆ

พยายามหาเวลาในแต่ละสัปดาห์ให้ลูกได้ออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นๆ ให้สังเกตดูว่าลูกชอบเด็กที่มีนิสัยแบบไหน ชอบสถานที่แบบไหน เมื่อเจอสถานที่ที่ลูกชอบให้สนับสนุนและส่งเสริมให้ลูกได้มีเวลาสนุกกับกิจกรรมนั้น

ลูกเราจะมีโอกาสได้เจอกับเด็กคนอื่นๆที่สนใจในกิจกรรมเดียวกัน แนวโน้มความเข้ากันได้ก็จะมีมากขึ้น เช่น นั่งเล่นปั้นดินน้ำมันด้วยกัน ซึ่งในทางเทคนิคนั้นการจับคู่เล่นด้วยกันเป็นการเรียนรู้วิธีสร้างมิตรภาพได้ดีที่สุด ซึ่งดีกว่าการเล่นเป็นกลุ่ม

3. หากิจกรรมที่เล่นเป็นกลุ่ม

เล่นกิจกรรมที่มีผู้เล่นหลายคน เช่น เล่นโยนบอล เล่นเกมกระดาน สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกเข้าใจกฎและมารยาททางสังคม ทักษะการโต้ตอบ การผลัดกันเล่น การยอมรับผลแพ้ชนะ 

นอกจากนี้ยังพัฒนาความสนใจในกิจกรรมที่มีผู้เล่นหลายคน หากลูกคุณสนใจกิจกรรมที่เล่นเป็นกลุ่ม ขอแนะนำให้คุณมองหากลุ่มเด็กที่มีระดับทักษะการเล่นที่ใกล้เคียงกับลูกคุณ การเล่นจะได้ดำเนินไปอย่างสนุกสนาน ไม่ใช่แพ้อยู่ฝ่ายเดียว

4. มีเพื่อนหลายกลุ่ม ช่วยป้องกันลูกไม่มีเพื่อน

หาโอกาสให้ลูกได้มีเพื่อนหลายกลุ่ม อย่าลืมว่าเพื่อนในวัยเด็กมีโอกาสที่จะจากลาได้บ่อยมากจากการย้ายโรงเรียน ย้ายที่อยู่ ผมยังจำได้ตอนที่ผมเด็กๆผมมีเพื่อนน้อย เวลาที่ต้องจากลากับเพื่อนแล้วมันเศร้าไปหลายวันเลยทีเดียว

การมีเพื่อนหลายกลุ่มมีข้อดีคือจะช่วยให้ทักษะการเข้าสังคมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่สะดุด นอกจากเพื่อนที่โรงเรียน ลองพาลูกไปทำกิจกรรมหลังเลิกเรียน กิจกรรมทางศาสนา ชมรมเด็กในละแวกใกล้บ้าน หรือไม่ก็พาไปเล่นกับลูกเพื่อน

5. จัดกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัวอื่น

ติดต่อกับครอบครัวอื่นๆในละแวกบ้านผ่านกลุ่มออนไลน์ อาจเป็นกลุ่ม Facebook แนว Home School หรือกลุ่มที่ลูกไม่มีเพื่อนเหมือนกัน ให้เด็กๆได้ไปเล่นด้วยกัน เช่น โซนของเล่นเด็กในห้าง เตะบอลที่สวนสาธารณะ ทัศนศึกษาที่สวนสัตว์แบบเป็นกลุ่ม เป็นต้น 

สอนให้ลูกรู้จักการต้อนรับแขกหากเราเป็นเจ้าของสถานที่ สอนให้ช่วยเหลือดูแลกัน การมีน้ำใจต่อกัน

และเมื่อลูกคุณเจอเพื่อนที่สามารถเข้ากันได้ ก็ให้นัดวันไปทำกิจกรรมกับครอบครัวนั้นอีกเมื่อมีโอกาส หากลูกคุณโตหน่อยก็อาจแลกไลน์ไว้คุยกัน หรือแวะมาเที่ยวเล่นที่บ้านก็ยังได้เพราะอยู่ไม่ได้ไกลกันมาก

6. ให้อิสระในการเลือกคบเพื่อน หากดูแล้วไม่ได้อันตรายจนเกินไป

“ความผิดพลาด ทำให้คนฉลาดขึ้น” ผมว่าคำนี้จริง หากเราเห็นว่าเพื่อนลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกใจเรา แต่ก็ไม่ถึงขั้นที่จะสร้างความเสียหายมาก เราไม่ควรจะไปห้ามลูกว่าไม่ให้คบ แต่ให้เราติดตามอย่างใกล้ชิด ลูกอาจจะชอบนิสัยบางอย่างของเพื่อนคนนี้ อาจเป็นการชดเชยบางสิ่งที่ขาดหายไปในตัวเอง

เช่น หากเราพร่ำสอนลูกแต่เรื่องให้ทำตามกฎ เมื่อลูกไปเจอเพื่อนที่ครอบครัวให้อิสระมาก ลูกอาจจะมีความสนใจในตัวเพื่อนคนนี้ บอกให้ลูกรู้ถึงผลที่ตามมาหากจะปฏิบัติตามเพื่อน ฝึกให้ลูกหัดใช้ไม้บรรทัดทางความคิด วัดดูว่าคุ้มค่าที่จะทำตามหรือไม่ ถือเป็นการฝึกฝนการตัดสินใจของลูกไปในตัวSapiens Health แนะนำ

หากคุณสนใจเรื่องการส่งเสริมพฤติกรรมเด็กให้ไปในทางที่ดีขึ้น ผมแนะนำให้ลองอ่านบทความ “การสนับสนุนให้ลูกมีพฤติกรรมเชิงบวก” ครับ

7. สร้างสคริปต์ให้ลูก

สอนให้ลูกรู้จักการโต้ตอบอย่างเป็นมิตร เช่น เวลาที่มีเด็กมาขอเล่นด้วย ให้ลูกเราตอบว่า “ได้เลย” เวลาที่มีคนให้ของก็ให้ลูกตอบว่า “ขอบคุณครับ/ค่ะ” สิ่งเหล่านี้จะทำให้ทักษาเรื่องการสื่อสารมีการพัฒนาขึ้น

8. ป้องกันไม่ให้ลูกถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อน

สอนให้ลูกรู้จักการโต้ตอบอย่างเป็นมิตร เช่น เวลาที่มีเด็กมาขอเล่นด้วย ให้ลูกเราตอบว่า “ได้เลย” เวลาที่มีคนให้ของก็ให้ลูกตอบว่า “ขอบคุณครับ/ค่ะ” สิ่งเหล่านี้จะทำให้ทักษาเรื่องการสื่อสารมีการพัฒนาขึ้น

9. จำกัดการใช้โซเชียลมิเดีย

การเล่นโซเชียลมิเดียมากเกินไปจะทำให้เด็กเกิดการเปรียบเทียบกับเด็กที่ดีกว่าในหลายๆด้าน เกิดภาวะซึมเศร้าทีละนิด  

เด็กจะเริ่มชินและชอบความเศร้าโดยไม่รู้ตัว สะสมไปเรื่อยๆ จนความเศร้านั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น กลายเป็นปัญหาในอนาคตที่แก้ได้ยากและใช้เวลานานในการเยียวยา เปรียบเหมือนกล้ามแขนที่กว่าคุณจะมีได้ต้องออกกำลังกายหลายเดือน อยู่มาวันหนึ่งจะบอกให้กล้ามจงหายไปซะ มันทำไม่ได้ มันต้องใช้เวลาหลายเดือนเท่าๆกันกับที่สร้างมันมา

การจดจำเนื้อหาที่รุนแรงในโซเชียลมิเดียอาจทำให้เด็กมีนิสัยที่ก้าวร้าวขึ้น อาจเกิดการลอกเลียนแบบนำไปใช้กับเพื่อนได้ 

ขนาดลูกสาวผม 3 ขวบ เห็นแฟนผมตีแขนผม เธอก็เดินเข้ามาตีด้วย เล่นเอาฮาทั้งบ้าน นี่แค่ 3 ขวบนะ!

ให้จำกัดการเล่นเวลาในการเล่นแต่ละวัน อาจใช้สูตร 20/20/20 คือดูจอ 20 นาที พักสายตามองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อป้องกันโรคสายตาสั้นเทียม 

คอยสอดส่องว่าลูกชอบเสพข้อมูลแบบไหน หากพบว่าไม่เหมาะสมให้อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าทำไมจึงไม่ควรดูสิ่งเหล่านี้ ยกตัวอย่างคนที่เป็นโรคซึมเศร้าว่าทำร้ายตัวเองมากแค่ไหน คนที่ก้าวร้าวรุนแรงทำร้ายคนอื่นมากแค่ไหน 

หากลูกไม่เชื่อฟัง แสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกคงไม่ดีเท่าไร ให้พยายามริ้อฟื้นความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นจนกว่าลูกจะหันมาฟังคุณ

บทส่งท้าย

วิธีที่ผมกล่าวมาข้างต้นหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อย แต่ให้พึงระลึกไว้เสมอว่าความสัมพันธ์ครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กมากๆ

กว่าคนเราจะบรรลุนิติภาวะคิดเองได้นั้นใช้เวลาหลายสิบปี แล้วถ้าระหว่างทางเด็กคนนั้นสะสมแต่เรื่องที่แย่ๆมาจะเกิดอะไรขึ้น มันไม่ได้แก้ไขได้ในวันเดียว อาจต้องใช้เวลาหลายปีในการแก้ไขมัน กว่าลูกจะรู้จักกับความสุขได้จริงๆก็คงเสียเวลาชีวิตไปหลายปีเลย

ผมเชื่ออยู่เสมอว่า ถ้าในครอบครัวคุยกันดี ไม่มีการใส่อารมณ์ต่อกัน เวลามีปัญหามันจะแก้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ถับถมบานปลาย

จะรู้ได้ไงว่าความสัมพันธ์ดี ดูง่ายๆ เวลาคุยกันในครอบครัวมีเสียงหัวเราะบ้างไหมหรือมีแต่คิ้วขมวดใส่กัน 

ส่วนตัวผมใช้วิธีสอนแบบอธิบายเหตุและผลให้ลูกฟัง เช่น เวลาวิ่งอย่าส่ายหัวไปมาเดี๋ยวมันจะล้ม ลูกผมตอนแรกก็ไม่ฟังนะ สุดท้ายก็ล้มจริงๆร้องไห้ขี้มูกโป่ง หลังๆผมพูดอะไรก็จะค่อนข้างทำตาม 

ส่วนใหญ่ผมจะเน้นเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยเป็นหลัก ถ้าไม่อันตรายจริงๆจะไม่ค่อยห้าม แค่บอกผลลัพธ์แล้วให้ตัดสินใจเอง เรียนรู้เอง

คุณสามารถทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้ เริ่มจากตัวคุณก่อน เริ่มวันนี้ เริ่มเดี๋ยวนี้ ถ้าคุณตั้งใจคุณจะทำได้แน่นอน 

SapiensHealth ขอเอาใจช่วยอย่างเต็มที่ เราหวังจะให้ครอบครัวทุกคนมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น มีความสุขที่มากขึ้นกว่าเดิม ขอบคุณที่ติดตามครับReference

  1. the australian parenting website | raisingchildren.net.au
  2. HARVARD T.H .CHAN | School of Public Health

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *