ทองแดง

ทองแดง

เลือกอ่านตามหัวข้อ

    Add a header to begin generating the table of contents

    ทองแดงเป็นโลหะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบได้ในดิน น้ำ และหิน เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นซึ่งพบได้ในอาหารบางชนิดและในอาหารเสริม ทองแดงช่วยเอ็นไซม์ต่างๆ ในการผลิตพลังงานให้กับร่างกาย ช่วยสลายและดูดซึมธาตุเหล็ก รวมถึงสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง คอลลาเจน เนื้อเยื่อ และสารสื่อประสาทในสมอง นอกจากนี้ยังช่วยในการพัฒนาสมองและการทำงานของภูมิคุ้มกัน และเป็นส่วนประกอบของซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (Superoxide Dismutase; SOD) ซึ่งเป็นเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระที่แยกออกซิเจนที่เป็นอันตราย ทองแดงถูกดูดซึมในลำไส้เล็กและพบมากในกระดูกและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

    หลักๆ แล้วร่างกายของเรานั้นดึงแคลเซียมออกมาใช้ได้ 2 ทาง โดยทางแรกคือการรับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารและอาหารเสริม ส่วนอีกทางคือการดึงเอาแคลเซียมมาใช้จากกระดูกในกรณีที่ร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่พอ

    ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ

    ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ] 

    ทองแดงมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

    เนื่องจากเอนไซม์หลายสิบชนิดในร่างกายใช้ทองแดงในกระบวนการเผาผลาญทั่วร่างกาย จึงเชื่อกันว่าการที่มีปริมาณทองแดงเกินหรือขาดอาจรบกวนการทำงานของกระบวนการเผาผลาญได้ และจำเป็นต้องมีระดับที่คงที่เพื่อสุขภาพที่ดีที่สุด  

    ระดับทองแดงที่ผิดปกติส่วนมากเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของยีนส์ อายุที่มากขึ้น หรือจากสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดสภาวะต่างๆ เช่น มะเร็ง การอักเสบ และการเสื่อมของระบบประสาท

    โรคหัวใจและหลอดเลือด

    ทองแดงอาจก่อให้เกิดความเครียดและความเสียหายต่อเซลล์ การมีปริมาณทองแดงเข้มข้นสูงในกล้ามเนื้อหัวใจอาจก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ได้ ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดหัวใจ 

    โดยการศึกษาจากบางกลุ่มพบว่าการบริโภคทองแดงที่สูงขึ้นสามารถลดความดันโลหิตและคอเลสเตอรอล LDL และการขาดธาตุทองแดงนั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจอีกด้วย ในขณะเดียวกันการศึกษาจากกลุ่มอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีระดับทองแดงในเลือดสูง 

    มะเร็ง

    ทองแดงอาจเป็นส่วนหนึ่งในการก่อเกิดมะเร็ง เนื่องจากทองแดงนั้นช่วยการสร้างหลอดเลือดใหม่ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเนื้องอกและการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง การวิจัยบทบาทของทองแดงในเซลล์มะเร็งระยะแพร่กระจาย (เซลล์เหล่านี้คือเซลล์ที่แยกตัวออกจากเนื้องอกหลักและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย) พบว่าระดับของทองแดงในเซลล์มะเร็งที่แพร่กรายเหล่านั้นมีระดับสูงกว่าในเซลล์มะเร็งที่ไม่แพร่กระจาย

    ทองแดงสามารถพบในอาหารชนิดไหนบ้าง?

    ทองแดงพบได้ในปริมาณสูงจากอาหารโปรตีน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องในสัตว์หอย ปลา ถั่ว ธัญพืช และช็อคโกแลต  นอกจากนี้ยังรวมถึงอาหารเหล่านี้

    • ตับวัว
    • หอยนางรม ปู
    • แซลมอน
    • ดาร์กช็อกโกแลตที่ไม่มีน้ำตาล
    • เม็ดมะม่วงหิมพานต์
    • เมล็ดทานตะวัน งา
    • ถั่วลูกไก่
    • ข้าวฟ่าง
    • พาสต้าข้าวสาลี
    • มันฝรั่ง
    • ผักโขม

    สัญญาณเตือนของการขาดทองแดง

    การขาดทองแดงเป็นสิ่งที่พบได้ยากในกลุ่มคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ผู้ที่ขาดทองแดงส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรม (genetic disorder) หรือการดูดซึมของร่างกายผิดปกติ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s) และโรคเซลิแอค (Celiac Disease) 

    ภาวะทางพันธุกรรมที่เรียกว่าโรคเมนเคส (Menkes syndrome) เป็นโรคที่รบกวนการดูดซึมทองแดง ซึ่งนำไปสู่การขาดทองแดงอย่างรุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับทองแดงเพิ่ม นอกจากนี้การรับประทานสังกะสี (zinc) เสริมในปริมาณมากสามารถขัดขวางการดูดซึมทองแดงในลำไส้เล็กได้และนำไปสู่การขาดทองแดงได้

    สัญญาณของการขาดรวมถึง:

    • โรคโลหิตจาง
    • คอเลสเตอรอลสูง
    • โรคกระดูกพรุน กระดูกหัก
    • การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น
    • สีผิวจางผิดปกติ

    ความเป็นพิษ

    ความเป็นพิษนั้นพบได้ยากเช่น เนื่องจากร่างกายสามารถขับทองแดงส่วนเกินออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

    อย่างไรก็ตามความเป็นพิษของทองได้อาจพบได้ในผู้เป็นโรควิลสัน (Wilson’s disease) หรือภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่หาได้ยาก ร่างกายผู้ป่วยจะไม่สามารถกำจัดแร่ธาตุทองแดงส่วนเกินออกไปจากร่างกายได้ และส่งผลให้ระดับเลือดสูง ระบบการทำงานของตับถูกทำลายอย่างรุนแรงและอาจมีอาการเกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง แม้ว่าจะการบริโภคทองแดงเกินจะเป็นไปได้ยาก แต่ก็เป็นไปได้หากได้รับทองแดงอย่างต่อเนื่องจากการต้มน้ำในภาชนะทองแดงหรือทองเหลืองที่สึกกร่อน

    รู้หรือไม่?

    แม้ว่าทองแดงจะพบได้ตามธรรมชาติในน้ำ แต่ระดับทองแดงที่มากเกินไปในน้ำดื่มมักเกิดจากทองแดงที่รั่วไหลจากท่อและก๊อกน้ำในครัวเรือนเก่าที่สึกกร่อน และจะมีความเสี่ยงมากขึ้นหากน้ำประปานั้นขาดการใช้นานหรือใช้น้ำร้อน เนื่องจากทองแดงละลายน้ำได้ง่ายกว่าเมื่อเจออุณหภูมิที่สูงขึ้น ทั้งนี้เราสามารถลดปริมาณทองแดงลงได้โดยใช้น้ำประปาเย็นเป็นเวลาหลายนาทีก่อนใช้งาน จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะน้ำประปาเย็นสำหรับดื่มและปรุงอาหารเท่านั้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำร้อนจากน้ำประปา

    Reference

    1. National Institutes of Health Office of Dietary Supplements: Magnesium Fact Sheet for Health Professionals https://ods.od.nih.gov/factsheets/Copper-HealthProfessional/. Accessed 6/25/2022.
    2. Gromadzka G, Tarnacka B, Flaga A, Adamczyk A. Copper dyshomeostasis in neurodegenerative diseases—therapeutic implications. International journal of molecular sciences. 2020 Dec 4;21(23):9259.
    3. Kunutsor SK, Dey RS, Laukkanen JA. Circulating serum copper is associated with atherosclerotic cardiovascular disease, but not venous thromboembolism: a prospective cohort study. Pulse. 2021;9(3-4):109-15.
    4. Ford ES. Serum copper concentration and coronary heart disease among US adults. American journal of epidemiology. 2000 Jun 15;151(12):1182-8.
    5. Bo S, Durazzo M, Gambino R, Berutti C, Milanesio N, Caropreso A, Gentile L, Cassader M, Cavallo-Perin P, Pagano G. Associations of dietary and serum copper with inflammation, oxidative stress, and metabolic variables in adults. The Journal of nutrition. 2008 Feb 1;138(2):305-10.
    6. Grammer TB, Kleber ME, Silbernagel G, Pilz S, Scharnagl H, Lerchbaum E, Tomaschitz A, Koenig W, März W. Copper, ceruloplasmin, and long-term cardiovascular and total mortality (the Ludwigshafen Risk and Cardiovascular Health Study). Free radical research. 2014 Jun 1;48(6):706-15.
    7. Squitti R, Simonelli I, Ventriglia M, Siotto M, Pasqualetti P, Rembach A, Doecke J, Bush AI. Meta-analysis of serum non-ceruloplasmin copper in Alzheimer’s disease. Journal of Alzheimer’s Disease. 2014 Jan 1;38(4):809-22.
    8. Kessler H, Bayer TA, Bach D, Schneider-Axmann T, Supprian T, Herrmann W, Haber M, Multhaup G, Falkai P, Pajonk FG. Intake of copper has no effect on cognition in patients with mild Alzheimer’s disease: a pilot phase 2 clinical trial. Journal of Neural Transmission. 2008 Aug;115(8):1181-7.
    9. Garber K. Cancer’s copper connections. Science. 2015 Jul 10;349(6244):129.
    10. Lelièvre P, Sancey L, Coll JL, Deniaud A, Busser B. The multifaceted roles of copper in cancer: A trace metal element with dysregulated metabolism, but also a target or a bullet for therapy. Cancers. 2020 Dec 1;12(12):3594.
    11. Ramchandani D, Berisa M, Tavarez DA, Li Z, Miele M, Bai Y, Lee SB, Ban Y, Dephoure N, Hendrickson RC, Cloonan SM. Copper depletion modulates mitochondrial oxidative phosphorylation to impair triple negative breast cancer metastasis. Nature communications. 2021 Dec 15;12(1):1-6.

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *