ฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์

เลือกอ่านตามหัวข้อ

    Add a header to begin generating the table of contents

    ฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติพบได้ในอาหารหลากหลายชนิดแม้ว่าจะพบเพียงปริมาณเล็กน้อย ถูกเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถป้องกันและรักษาโรคฟันผุได้ ตลอดจนการสร้างฟันและกระดูกที่แข็งแรง ฟลูออไรด์ส่วนใหญ่ถูกดูดซึมในลำไส้และสะสมไว้ในกระดูกและฟัน ฟลูออไรด์ที่ไม่ดูดซึมจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ทั้งนี้เด็กจะดูดซึมฟลูออไรด์ได้ดีกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นวัยที่ฟันและกระดูกกำลังสร้างตัวอย่างรวดเร็ว

    หลักๆ แล้วร่างกายของเรานั้นดึงแคลเซียมออกมาใช้ได้ 2 ทาง โดยทางแรกคือการรับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารและอาหารเสริม ส่วนอีกทางคือการดึงเอาแคลเซียมมาใช้จากกระดูกในกรณีที่ร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่พอ

    ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ

    ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ] 

    ฟลูออไรด์มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

    สุขภาพฟัน

    โรคฟันผุเกิดขึ้นจากแบคทีเรียหรือการติดเชื้อที่ไปทำลายฟัน โดยแบคทีเรียหรือเชื้อโรคเหล่านั้นจะย่อยและหมักหมมอยู่ในเศษอาหารที่อยู่ในซอกฟันจนทำให้เกิดเป็นกรด ซึ่งกรดนั้นจะค่อยๆ กัดกร่อนผิวเคลือบฟัน และสามารถลุกลามไปถึงชั้นในของฟันหรือเนื้อฟันจนอาจทำให้ฟันเป็นรู เป็นช่องได้

    หากปล่อยทิ้งไว้นาน ฟันผุอาจนำไปสู่การติดเชื้อ ปวดฟัน และฟันร่วง จนอาจส่งผลกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และคุณภาพชีวิตที่แย่ลงได้ การได้รับฟลูออไรด์อย่างเพียงพอช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุเนื่องจากฟลูออไรด์สามารถยับยั้งการสร้างกรดของแบคทีเรียและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ทำให้ผลึกเคลือบฟันแข็งแรงขึ้น และช่วยให้สร้างฟันให้แข็งแรง

    ในสหรัฐอเมริกา น้ำประปาได้รับการผสมฟลูออไรด์ตั้งแต่ปี 2488 เพื่อป้องกันโรคฟันผุ โดยปริมาณที่แนะนำสำหรับการลดความเสี่ยงต่อโรคฟันผุในปัจจุบันคือ 0.7 มิลลิกรัม ต่อลิตร ซึ่งหากมีปริมาณมากกว่านั้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงภาวะฟลูออไรด์เป็นพิษ (fluorosis) ได้ 

    การศึกษาพบเห็นว่าน้ำที่มีฟลูออไรด์ช่วยลดความเสี่ยงของฟันผุและการสูญเสียฟันก่อนวัยอันควรในเด็กและผู้ใหญ่ได้ การป้องกันโรคฟันผุในเด็กนั้น นอกจากการบริโภคน้ำที่มีฟลูออไรด์แล้ว การบริโภคฟลูออไรด์เสริม หรือการใช้ยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปากก็ยังเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอีกเช่นกันหากไม่มีน้ำที่มีฟลูออไรด์

    การได้รับฟลูออไรด์เฉพาะที่ เช่น การแปรงฟันหรือบ้วนปากด้วยยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ ยังทำให้เคลือบฟันแข็งแรงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันโรคฟันผุ

    สุขภาพกระดูก

    ฟลูออไรด์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของกระดูกโดยทั่วไปเนื่องจากฟลูออไรด์กระตุ้นเซลล์สร้างกระดูกและฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ซึ่งหากขาดฟลูออไรด์เป็นเวลานานอาจทำให้กระดูกอ่อนแอหรือเปราะได้โดยเฉพาะในวัยเด็ก อย่างไรก็ตามในผู้ใหญ่ การวิจัยไม่พบว่าการใช้ฟลูออไรด์เสริมนั้นสามารถป้องกันกระดูกหักหรือเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกอย่างภาวะกระดูกบาง (osteopenia) หรือโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ได้ การทดลองยังแสดงให้เห็นอีกว่าการเสริมฟลูออไรด์ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะกระดูกบางนั้นไม่ได้ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มแต่อย่างใด และยังมีการทดลองอื่นๆอีกทีพบว่าไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญในการลดการแตกหักของกระดูก

    การบริโภคฟลูออไรด์มากเกินไปเป็นเวลานานอาจนำไปสู่ภาวะฟลูออไรด์เป็นพิษต่อกระดูก (skeletal fluorosis) ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่โรคกระดูกพรุนหรือการสูญเสียความหนาแน่นในกระดูก ไปจนถึงโรคกระดูกแข็ง หรือการที่กระดูกพอกหนา แข็งอย่างผิดปกติจากมวลกระดูกเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของการแตกหักได้ อย่างไรก็ตามภาวะฟลูออไรด์เป็นพิษต่อกระดูกนี้ไม่ค่อยพบเจอในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากส่วนใหญ่พบในประเทศที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีฟลูออไรด์สูงเกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร และจะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากพื้นที่เหล่านี้มีอากาศร้อนซึ่งผู้คนมักจะดื่มน้ำมากขึ้น

    ฟลูออไรด์สามารถพบในอาหารชนิดไหนบ้าง?

    ฟลูออไรด์สามารถพบได้ตามธรรมชาติในอาหารต่างๆแม้ว่าจะพบในปริมาณเล็กน้อย อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่ได้รับฟลูออไรด์จากน้ำและยาสีฟัน นอกจากนั้นชาดำและกาแฟยังมีฟลูออไรด์ตามธรรมชาติจากการดูดซับแร่ธาตุในดินของพืชที่ใช้ปลูก 

    และฟลูออไรด์ยังสามารถพบได้ในอาหารเหล่านี้ เช่น

    • ใบชาดำ และกาแฟ
    • น้ำที่มีฟลูออไรด์
    • อาหารกระป๋อง อย่างกุ้งและปูม้า
    • ข้าวโอ๊ต
    • ลูกเกด
    • มันฝรั่ง

    สัญญาณเตือนของการขาดฟลูออไรด์

    ฟลูออไรด์ไม่ถือเป็นสารอาหารที่จำเป็น แต่มีบทบาทสำคัญในสุขภาพฟันและกระดูก การขาดฟลูออไรด์สามารถนำไปสู่โรคฟันผุและปัญหากระดูกได้ 

    ความเป็นพิษ

    ทารกและเด็กที่รับประทานฟลูออไรด์มากกว่าขนาดที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดฟันตกกระ ( dental fluorosis) ได้ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นในช่วงวัยที่ร่างกายเริ่มสร้างฟันเท่านั้น ทำให้เกิดจุดหรือรอยสีขาวถาวรบนฟัน ในกรณีที่รุนแรงกว่านั้น ชั้นเคลือบฟันอาจได้รับความเสียหายขรุขระและทำให้เกิดคราบสีน้ำตาลบนฟันได้ ซึ่งภาวะฟันตกกระนั้นพบได้ยากในชุมชนที่มีน้ำที่มีฟลูออไรด์น้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตร 

    ความเป็นพิษของฟลูออไรด์มีผลต่อความสวยงามของฟันแต่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยให้เด็กแปรงฟันไม่เกินวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในปริมาณเท่าเมล็ดถั่ว และการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดฟันตกกระ และสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีที่มีแนวโน้มที่จะกลืนยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ความเสี่ยงของการเกิดฟันตกกระจะลดลงเองตามธรรมชาติที่อายุปรมาณ 8 ขวบหรือเมื่อการสร้างชั้นเคลือบฟันเสร็จสมบูรณ์ 

    ความเป็นพิษของฟลูออไรด์ที่แท้จริงนั้นหาได้ยาก แต่อาจเกิดขึ้นจากฟลูออไรด์ในน้ำที่มากเกินไป ไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือการบริโภคฟลูออไรด์เสริมมากเกินไปโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งจะมีอาการ ดังนี้

    • คลื่นไส้อาเจียน
    • อาการปวดท้อง
    • ท้องเสีย
    • ปวดข้อ
    • ภาวะฟลูออไรด์เป็นพิษต่อกระดูก หรือการสูญเสียกระดูก (จากการบริโภคมากเกินไป)

    Reference

    1. Institute of Medicine. Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes for Vitamin A, Vitamin K, Arsenic, Boron, Chromium, Copper, Iodine, Iron, Manganese, Molybdenum, Nickel, Silicon, Vanadium, and Zinc Washington, DC: National Academy Press; 2001.
    2. National Institutes of Health Office of Dietary Supplements: Fluoride Fact Sheet for Health Professionals. Accessed 1/6/2022.
    3. Iheozor-Ejiofor Z, Worthington HV, Walsh T, O’Malley L, Clarkson JE, Macey R, Alam R, Tugwell P, Welch V, Glenny AM. Water fluoridation for the prevention of dental caries. Cochrane database of systematic reviews. 2015(6).
    4. Slade GD, Sanders AE, Do L, Roberts-Thomson K, Spencer AJ. Effects of fluoridated drinking water on dental caries in Australian adults. Journal of dental research. 2013 Apr;92(4):376-82.
    5. Moyer VA. Prevention of dental caries in children from birth through age 5 years: US Preventive Services Task Force recommendation statement. Pediatrics. 2014 Jun;133(6):1102-11.
    6. Walsh T, Worthington HV, Glenny AM, Marinho VC, Jeroncic A. Fluoride toothpastes of different concentrations for preventing dental caries. Cochrane database of systematic reviews. 2019(3).
    7. Marinho VC, Chong LY, Worthington HV, Walsh T. Fluoride mouthrinses for preventing dental caries in children and adolescents. Cochrane Database of Systematic Reviews. 2016(7).
    8. Ciosek Ż, Kot K, Kosik-Bogacka D, Łanocha-Arendarczyk N, Rotter I. The effects of calcium, magnesium, phosphorus, fluoride, and lead on bone tissue. Biomolecules. 2021 Mar 28;11(4):506.
    9. Grey A, Garg S, Dray M, Purvis L, Horne A, Callon K, Gamble G, Bolland M, Reid IR, Cundy T. Low-dose fluoride in postmenopausal women: a randomized controlled trial. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism. 2013 Jun 1;98(6):2301-7.
    10. Vestergaard P, Jorgensen NR, Schwarz P, Mosekilde L. Effects of treatment with fluoride on bone mineral density and fracture risk-a meta-analysis. Osteoporosis international. 2008 Mar;19(3):257-68.
    11. Guth S, Hüser S, Roth A, Degen G, Diel P, Edlund K, Eisenbrand G, Engel KH, Epe B, Grune T, Heinz V. Toxicity of fluoride: critical evaluation of evidence for human developmental neurotoxicity in epidemiological studies, animal experiments and in vitro analyses. Archives of toxicology. 2020 May;94(5):1375-415.
    12. Grandjean P, Landrigan PJ. Neurobehavioural effects of developmental toxicity. The lancet neurology. 2014 Mar 1;13(3):330-8.
    13. Yin XH, Huang GL, Lin DR, Wan CC, Wang YD, Song JK, Xu P. Exposure to fluoride in drinking water and hip fracture risk: a meta-analysis of observational studies. PLoS One. 2015 May 28;10(5):e0126488.
    14. Helte E, Donat Vargas C, Kippler M, Wolk A, Michaëlsson K, Åkesson A. Fluoride in drinking water, diet, and urine in relation to bone mineral density and fracture incidence in postmenopausal women. Environmental health perspectives. 2021 Apr 6;129(4):047005.
    15. Dharmaratne RW. Fluoride in drinking water and diet: the causative factor of chronic kidney diseases in the North Central Province of Sri Lanka. Environmental health and preventive medicine. 2015 Jul;20(4):237-42.
    16. Dharmaratne RW. Exploring the role of excess fluoride in chronic kidney disease: a review. Human & experimental toxicology. 2019 Mar;38(3):269-79.
    17. National Center for Chronic Disease Prevention and Health Promotion, Division of Oral Health. Fluorosis. Accessed 1/14/2022.

     

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *