ลูกเป็นไข้บ่อย เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันในเด็กที่ยังไม่แข็งแรงเหมือนผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะเชื้อไวรัสที่มักแพร่กระจายอยู่ในอากาศ รวมถึงเด็กๆ มักเล่นซนกับเพื่อนๆ และไม่รู้วิธีในการดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
โรคหวัด เป็นไข้ ปวดหู ทั้งหมดนี้เป็นการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในเด็ก เมื่อเด็กเติบโตและพัฒนา ความถี่ในการเจ็บป่วยโดยรวมมีแนวโน้มลดลง เมื่อลูกของคุณยังคงเติบโต ระบบภูมิคุ้มกันของเขาก็แข็งแรงขึ้น และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น แนวโน้มที่จะไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรคที่พบบ่อยๆ น้อยลงมาก นอกจากนี้ การให้ลูกได้รับการฉีดวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็นตามกำหนดที่แนะนำ สำหรับแต่ละช่วงอายุจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้
เลือกอ่าน :
การดูแลเบื้องต้นเมื่อลูกเป็นไข้บ่อย
เมื่อลูกไม่สบายโดยเฉพาะมีไข้ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลเองได้เบื้องต้นก่อนพาไปหาแพทย์ สิ่งแรกที่ควรทำ คือการเช็ดตัวเพื่อช่วยลดไข้หรือลดอุณหภูมิในตัวลูกให้ต่ำลง เพราะถ้าหากลูกมีไข้สูงและตัวร้อนจัดอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้
เช็ดตัวลูกน้อยอย่างไรเมื่อไข้สูง
- เตรียมอ่างใส่น้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง ไม่ควรใช้น้ำเย็น ทดสอบว่าน้ำไม่ร้อนเกินไปโดยการใช้หลังมือแตะ
- ล้างมือให้สะอาด ถอดเสื้อผ้าเด็กออก ปิดแอร์ ควรเช็ดตัวในห้องที่ระบายอากาศได้ดี
- นำผ้าขนหนูผืนเล็ก 2 -3 ผืน ชุบน้ำ บิดให้หมาด ให้เช็ดเข้าหาหัวใจ เปิดรูขุมขน เช็ดตามขั้นตอนดังนี้
- เช็ดบริเวณใบหน้า หน้าผาก ซอกคอ
- เช็ดแขนและขาทั้ง 2 ข้าง
- เช็ดหลังและก้น
- เช็ดและพักผ้าไว้ที่บริเวณข้อพับต่าง ๆ ซอกรักแร้ ซอกคอ และขาหนีบ เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย
- เช็ดตัวลูกด้วยผ้าขนหนูแห้งอีกครั้ง และสวมใส่เสื้อผ้า ที่โปร่งสบาย
- วัดไข้ลูก ซ้ำทุก ๆ 15-30 นาที หากไข้ยังไม่ลด ให้เช็ดตัวซ้ำร่วมกับการรับประทานยาลดไข้ ตามขนาดและเวลาที่เหมาะสม
ให้ดื่มน้ำมากๆ
กระตุ้นให้ลูกดื่มน้ำบ่อยๆ เป็นวิธีลดไข้ และเพื่อชดเชยน้ำส่วนที่ร่างกายสูญเสียเพิ่มขึ้น ในระหว่างมีไข้
จัดท่านอน
ช่วยลดอาการคัดแน่นจมูก อาการคัดจมูก หายใจไม่ออก พ่อแม่ควรจัดท่านอนให้ลูกในท่าตะแคง หนุนหมอนสูง เพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น
ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
หากลูกเริ่มมีน้ำมูก คุณพ่อคุณแม่ลองล้างจมูกลูกน้อยด้วยน้ำเกลือ NSS 0.9% จะช่วยลดน้ำมูกที่เหนียวข้นลงได้
ปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม
ควรปรับอุณหภูมิของห้องให้พอเหมาะแก่การพักผ่อน ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
ข้อปฏิบัติข้างต้นเป็นการดูแลอาการป่วยของลูกเบื้องต้นเท่านั้น หากอาการไม่ดีขึ้น ซึมลง ไม่ทานอาหาร หรือมีความน่าเป็นห่วง ควรพาลูกไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
ทานยาลดไข้
ยาลดไข้เป็นเพียงยาบรรเทา ไม่ใช่ยารักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้ เมื่อกินยา 1 ครั้ง ยาจะออกฤทธิ์ ลดไข้อยู่ได้ นาน 4-6 ชั่วโมง ถ้าสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้ยังไม่หาย เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้วไข้ก็จะสูงขึ้นใหม่ ค่อยให้ทานยาใหม่ ถ้ามีไข้ไม่สูง มีเพียงศีรษะอุ่น ไม่กวน หรือกระวนกระวาย ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ เพราะยาลดไข้เป็นเพียงยาระงับหรือบรรเทาไข้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น
เมื่อให้ยาลูก ให้ปฏิบัติตามข้อควรระวังเหล่านี้:
- การให้ยาในขนาดที่เหมาะสม ยาสำหรับเด็กมักมาในรูปแบบของเหลวแต่จะมีความเข้มข้น ต่างกันขึ้นอยู่กับยาแต่ละชนิด และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก อย่างระมัดระวังเพื่อให้ลูกได้รับยา ในปริมาณที่เหมาะสมตามขนาดน้ำหนักตัวของลูก
- หลีกเลี่ยงการให้ยาเกินขนาด การให้ยาหลายชนิดที่มีส่วนประกอบออกฤทธิ์เดียวกัน ในเวลาเดียวกัน เช่น ยาแก้ปวดและยาแก้คัดจมูก ซึ่งอาจนำไปสู่การให้ยาเกินขนาดโดยไม่ตั้งใจ (ผู้ปกครองบางคนสลับระหว่างยาแก้ปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน และไอบูโพรเฟน ยาแต่ละชนิดต้องมี ช่วงเวลาระหว่างปริมาณที่เจาะจง อาจให้ยาเกินขนาดกับลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ)
- หลีกเลี่ยงแอสไพริน แอสไพรินไม่แนะนำสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากเป็น
- อาเจียนหรือมีผื่นหลังจากรับประทานยา ให้ติดต่อโรงพยาบาลหรือกุมารแพทย์ประจำตัวลูก
ยาลดไข้ที่ใช้มี 2 ชนิด คือ
1. พาราเซทามอล หรือ อะเซทามิโนเฟน
หรือที่เรียกว่า Tylenol®, Tempra®, และ Panadol® เป็นยาที่ใช้ลดไข้และปวด เป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ซึ่งหมายความว่า สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
ขนาดยาที่ใช้ คือ 10 มก./กก./มื้อ ซ้ำได้ทุก 4 ชม. เมื่อกลับมีไข้อีก
ชนิดหยด | 1 มล. มีตัวยา 100 มก. |
ชนิดน้ำเชื่อม | 1 ช้อนชา (5 มล.) มีตัวยา 120, 250 มก. |
ชนิดเม็ด | 1 เม็ด มีตัวยา 325, 500 มก. |
พิษของยา หากขนาดสูงเกิน อาจทำให้ตับถูกทำลาย และอาจทำให้เสียชีวิตจากตับล้มเหลว
**อย่าให้เกิน 4 โดสใน 24 ชั่วโมง**
2. Ibuprofen มักใช้เมื่อให้พาราเซทามอลแล้ว 30 – 45 นาทีแล้วไข้ไม่ลดลง
ขนาดยาที่ใช้ คือ 10 มก./กก./มื้อ ซ้ำได้ทุก 6 ชม. เมื่อกลับมีไข้อีก
ชนิดแขวนตะกอน (suspension) | 1 ช้อนชา (5 มล.) มีตัวยา 100 มก. |
ชนิดเม็ด | 1 เม็ด มีตัวยา 200, 400 มก. |
สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน หรือน้ำหนักต่ำกว่า 7 กิโลกรัม ให้ปรึกษากุมารแพทย์
**อย่าให้ยานี้บ่อยเกินทุกๆ 6 ชั่วโมง**
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นไข้บ่อย
- อย่าใช้อะเซตามิโนเฟนที่มีอายุต่ำกว่า 12 สัปดาห์ เว้นแต่กุมารแพทย์จะแจ้งให้คุณพ่อคุณแม่ทราบ (หมายเหตุ: อาจมีไข้หลังฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป) ฉะนั้น ท่านจึงควรให้ยาลดไข้เมื่อเด็กมีอุณหภูมิร่างกายถึงเกณฑ์ของไข้เท่านั้น
- กุมารแพทย์ในสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ยาลดไข้เมื่ออุณหภูมิเกิน 38.3 องศาเซลเซียส หรือกระวนกระวาย ไม่สุขสบายตัว และให้ในขนาดที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัว ห้ามให้ถี่กว่าทุก 4 ชั่วโมงเมื่อให้ยาพาราเซทามอล และทุก 6 ชั่วโมงเมื่อให้ยา Ibuprofen ถ้าให้ยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ควรให้เด็กดื่มน้ำเพิ่ม เพื่อแก้ร่างกายขาดน้ำ ร่วมกับการเช็ดตัวจนกว่าไข้จะลด
- พ่อแม่ยังไม่จำเป็นต้องพาเด็กไปพบแพทย์ทันทีของการมีไข้ ถ้าเด็กยังคุย เล่น หรือดูทีวีได้ ให้ยาลดไข้ เป็นครั้งเป็นคราว แต่ถ้ามีไข้สูง หรือให้ยาลดไข้แล้ว เช็ดตัวแล้ว หรือมีไข้นาน 48-72 ชม.อาการไข้ยังไม่ทุเลา ร่วมกับไม่คุย ไม่เล่น ซึมลง ควรพาไปพบแพทย์
- การให้ยาเหลวในปริมาณที่เหมาะสม ใช้ Syring ยาจะง่ายกว่าใช้ช้อนชาหรือช้อนโต๊ะในครัว (ใช้ Syring ยาหรือเครื่องมือที่มาพร้อมกับยา)
- ให้ใช้ยาตามน้ำหนักของเด็กเสมอ ไม่ใช่อายุ!!**
- อะเซตามิโนเฟนอาจเป็นอันตรายหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากได้รับยาเกินขนาด
ขนาดยาเด็กมีความซับซ้อน ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา ยาทั้ง 2 ชนิดเป็นเพียงยาบรรเทาอาการ หากไม่ดีขึ้น แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
ฉีควัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน
คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ถ้าได้รับนานเกิน 6 เดือนแล้ว ก็ควรจะพาไปฉีดซ้ำเพื่อกระตู้นภูมิ จะมีส่วนช่วยลดปัญหาการป่วยบ่อยได้มาก
วิตามิน
ควรให้รับประทานวิตามินรวม หรือวิตามินซีเสริมด้วย ก็จะช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานมากขึ้น (แต่ถ้าเด็กๆ ชอบรับประทานผักผลไม้อยู่แล้วก็อาจจะไม่จำเป็น) ถ้าไม่แน่ใจว่าจะให้ลูกรับประทานวิตามิน ชนิดไหน และต้องรับประทานอย่างไร ก็สามารถพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำได้
อาการเจ็บป่วย หรือไม่สบาย (ไม่ว่าจะในเด็กหรือผู้ใหญ่) เป็นเรื่องธรรมชาติ สิ่งสำคัญก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกๆ ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ การออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงแดด การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการดูแลความสะอาดของร่างกาย หมั่นให้ลูกล้างมือบ่อย สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่คนพลุกพล่าน เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ลูกๆมีสุขภาพที่แข็งแรงได้
Ref.