วิตามิน B7 (ไบโอติน)
เลือกอ่านตามหัวข้อ
Add a header to begin generating the table of contents
คุณอาจเคยได้ยินชื่อวิตามิน B7 จากความนิยมของไบโอติน ซึ่งเป็นวิตามิน B ที่ละลายน้ำได้ พบได้ในอาหารบางชนิดและมีอยู่ในรูปแบบของอาหารเสริม วิตามิน B7 มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือเอนไซม์ในการสลายไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนในอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมการทำงานต่างๆ ของเซลล์และกระบวนการของยีน
ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ
ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ]
วิตามิน B7 มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?
อาหารเสริมวิตามิน B7 มักถูกใช้ในการรักษาสุขภาพผม ผิวหนัง และเล็บ แม้ว่าการขาดวิตามิน B7 จะทำให้ผมร่วงและปัญหาผิวหนังหรือเล็บได้ แต่หลักฐานที่แสดงถึงประโยชน์ของการเสริมนั้นยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด รายงานกรณีศึกษาจำนวนหนึ่งและการทดลองขนาดเล็กแสดงให้เห็นประโยชน์ของวิตามิน B7 แต่การศึกษานี้ก็ยังมีจุดอ่อนในบางจุด เช่น:
- การวินิจฉัยประเภทของสภาพเส้นผมนั้นแตกต่างกันไปหรือไม่ได้อ้างถึงเลย นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าอาการผมร่วงบางอย่าง เช่น อาการผมร่วงเป็นหย่อมสามารถรักษาให้หายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาเสริม ดังนั้นจึงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าอาหารเสริมวิตามิน B7 ส่งผลทำให้เกิดการงอกใหม่ของผมจริงหรือไม่
- การศึกษาไม่ได้วัดระดับวิตามิน B7 ในเลือดของผู้เข้าร่วมเพื่อดูว่าอยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ตั้งแต่เริ่มการศึกษา งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าอาหารเสริมวิตามิน B7 อาจมีประโยชน์มากที่สุดในผู้ที่กำลังขาดสารอาหาร อย่างไรก็ตาม ยังขาดการศึกษาที่วัดระดับวิตามิน B7 ก่อนและระหว่างการเสริมเพื่อยืนยันข้อสรุปนี้
- จนถึงปัจจุบัน ก็ยังขาดการศึกษาอย่างเป็นทางการที่แนะนำว่าอาหารเสริมวิตามิน B7 นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพเส้นผมและเล็บจริงหรือไม่
แม้จะมีหลักฐานที่สรุปไม่ได้ แต่อาหารเสริมวิตามิน B7 ยังคงเป็นที่นิยม ซึ่งในระหว่างปี 2542 ถึง 2559 สัดส่วนของผู้ใช้อาหารเสริมวิตามิน B7 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบสามสิบเท่า และในเดือนพฤศจิกายน 2560 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ออกคำเตือนตามรายงานของอาหารเสริมวิตามิน B7 ว่าสามารถรบกวนการตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการ ส่งผลให้มีโอกาสเกิดผลลัพธ์บางอย่างที่ไม่ถูกต้อง ปริมาณวิตามิน B7 ที่สูงเกินไปสามารถทำให้ค่าระดับเลือดมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างผิดปกติ (ขึ้นอยู่กับการทดสอบ) ซึ่งสามารถส่งผลต่อผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของฮอร์โมนบางชนิด เช่น ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์และวิตามิน D รวมถึงตัวชี้วัดทางชีวภาพสำหรับอาการหัวใจวายที่เรียกว่า โทรโปนิน
รายงานนี้แสดงให้เห็นว่ามีหลายคนที่รับประทานวิตามิน B7 ในปริมาณที่สูงกว่าระดับที่ร่างกายต้องการ (ปริมาณที่ร่างกายต้องการอยู่ที่ 30 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 0.03 มิลลิกรัม แต่ในปริมาณที่พบได้ทั่วไปในอาหารเสริมอยู่ที่ 10-300 มิลลิกรัม)
วิตามิน B7 มักถูกเติมลงในอาหารเสริมวิตามินรวมและอาหารเสริมสำหรับเส้นผม เล็บ และผิวหนัง องค์การอาหารและยาแนะนำให้ประชาชนแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเกี่ยวกับอาหารเสริมและปริมาณที่รับประทานอยู่เป็นประจำ
วิตามิน B7 สามารถพบในอาหารชนิดไหนบ้าง?
- ตับวัว
- ไข่สุก
- แซลมอน
- อะโวคาโด
- เนื้อหมู
- มันเทศ
- ถั่ว และเมล็ดพืช
สัญญาณเตือนของการขาดวิตามิน B7
การขาดวิตามิน B7 ในสหรัฐอเมริกานั้นพบได้ยาก เนื่องจากคนส่วนใหญ่รับประทานวิตามิน B7 ในปริมาณที่เพียงพอจากอาหารที่หลากหลายอยู่แล้ว
โรคพิษสุราเรื้อรังสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการขาดวิตามิน B7 และสารอาหารอื่นๆ ได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถขัดขวางการดูดซึมของวิตามิน B7 และเนื่องจากโดยทั่วไปแล้วการดื่มแอลกอฮอล์มักจะพบร่วมกับการบริโภคอาหารที่ไม่ดี
ประมาณหนึ่งในสามของสตรีมีครรภ์แสดงอาการขาดวิตามิน B7 เล็กน้อย แม้จะรับประทานในปริมาณที่เพียงพอก็ตาม อย่างไรก็ตามยังไม่มีเหตุผลที่สนับสนุนในเรื่องนี้อย่างแน่ชัด
อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากการขาดวิตามิน B7
- ผมบาง
- ผื่นคันบริเวณตา จมูก ปาก
- เล็บเปราะ
รู้หรือไม่?
ผู้ที่ชอบทานมายองเนสที่มีส่วนผสมของไข่ดิบ ที่มักจะนำมาใช้เป็นน้ำสลัดซีซาร์ หรือผู้ที่ชอบทาน Eggnog บ่อยๆ อาจต้องพิจารณาใหม่ เนื่องจากโปรตีนในไข่ดิบที่เรียกว่าอะวิดิน สามารถจับกับวิตามิน B7 และขัดขวางการดูดซึมของร่างกาย ในขณะที่ไข่ที่ปรุงสุกแล้วจะไม่พบปัญหาที่ว่ามานี้ เนื่องจากอะวิดีนจะแตกตัวเมื่อถูกกับความร้อน
- Institute of Medicine. Dietary reference intakes for thiamin, riboflavin, niacin, vitamin B6, folate, vitamin B12, pantothenic acid, biotin, and choline. Washington, DC: National Academy Press, 1999.
- U.S. Department of Health and Human Services. Vitamin B6 Fact Sheet for Health Professionals. Accessed 5/6/19.
- Lichtenstein AH, Appel LJ, Brands M, Carnethon M, Daniels S, Franch HA, Franklin B, Kris-Etherton P, Harris WS, Howard B, Karanja N. Diet and lifestyle recommendations revision 2006: a scientific statement from the American Heart Association Nutrition Committee. Circulation. 2006 Jul 4;114(1):82-96.
- Ebbing M, Bønaa KH, Arnesen E, Ueland PM, Nordrehaug JE, Rasmussen K, Njølstad I, Nilsen DW, Refsum H, Tverdal A, Vollset SE. Combined analyses and extended follow‐up of two randomized controlled homocysteine‐lowering B‐vitamin trials. Journal of internal medicine. 2010 Oct 1;268(4):367-82.
- Martí‐Carvajal AJ, Sola I, Lathyris D, Dayer M. Homocysteine‐lowering interventions for preventing cardiovascular events. Cochrane Database of Systematic Reviews. 2017(8).
- Rutjes AWS, Denton DA, Di Nisio M, Chong LY, Abraham RP, Al‐Assaf AS, Anderson JL, Malik MA, Vernooij RWM, Martínez G, Tabet N, McCleery J. Vitamin and mineral supplementation for maintaining cognitive function in cognitively healthy people in mid and late life. Cochrane Database of Systematic Reviews. 2018(12).
- Mocellin S, Briarava M, Pilati P. Vitamin B6 and cancer risk: a field synopsis and meta-analysis. JNCI: Journal of the National Cancer Institute. 2017 Mar 1;109(3).
- Zhang XH, Ma J, Smith-Warner SA, Lee JE, Giovannucci E. Vitamin B6 and colorectal cancer: current evidence and future directions. World journal of gastroenterology: WJG. 2013 Feb 21;19(7):1005.
- Wei EK, Giovannucci E, Selhub J, Fuchs CS, Hankinson SE, Ma J. Plasma vitamin B6 and the risk of colorectal cancer and adenoma in women. J Natl Cancer Inst. 2005; 97:684–692.
- Lee JE, Li H, Giovannucci E, et al. Prospective study of plasma vitamin B6 and risk of colorectal cancer in men. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev. 2009; 18:1197–1202.
- Sharifzadeh F, Kashanian M, Koohpayehzadeh J, Rezaian F, Sheikhansari N, Eshraghi N. A comparison between the effects of ginger, pyridoxine (vitamin B6) and placebo for the treatment of the first trimester nausea and vomiting of pregnancy (NVP). The Journal of Maternal-Fetal & Neonatal Medicine. 2018 Oct 2;31(19):2509-14.
- McParlin C, O’Donnell A, Robson SC, Beyer F, Moloney E, Bryant A, Bradley J, Muirhead CR, Nelson-Piercy C, Newbury-Birch D, Norman J. Treatments for hyperemesis gravidarum and nausea and vomiting in pregnancy: a systematic review. JAMA. 2016 Oct 4;316(13):1392-401.
- Erick M, Cox JT, Mogensen KM. ACOG Practice Bulletin 189: Nausea and Vomiting of Pregnancy. Obstetrics & Gynecology. 2018 May 1;131(5):935.