วิตามิน K

วิตามิน K

เลือกอ่านตามหัวข้อ

    Add a header to begin generating the table of contents

    วิตามิน K เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายในการสร้างโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือดและการสร้างกระดูก โดยจะมีอยู่ 2 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ ไฟโลควิโนน ซึ่งพบได้ในผักใบเขียว เช่น กะหล่ำปลี คะน้า และผักโขม ส่วนอีกประเภทคือ เมนาควิโนน พบได้ในอาหารสัตว์และอาหารหมักดองบางชนิด ทั้งนี้วิตามิน K ยังสามารถพบได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่นตับ สมอง หัวใจ ตับอ่อน และกระดูก 

    ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ

    ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ] 

    วิตามิน K มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

    ลิ่มเลือด

    วิตามิน K ช่วยสร้างโปรตีนที่สำคัญ 4 ชนิด (จากทั้งหมด 13 ชนิด) ซึ่งมีความจำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือดช่วยให้ร่างกายสามารถหยุดการเลือดออกเมื่อเกิดแผลได้เร็วขึ้น ในผู้ที่มีอาการลิ่มเลือดหัวใจ ปอด หรือขาที่ต้องได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามใบสั่งแพทย์มักได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานวิตามิน K อยู่บ่อยๆ เพราะยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน สามารถรบกวนการทำงานของวิตามิน K ได้ จึงมีการแนะนำให้ทานวิตามิน K อย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะจากอาหารหรืออาหารเสริม

    ทั้งนี้ยังต้องมีการวัดระดับวิตามิน K ในเลือดที่เรียกว่า prothrombin time (PT) หรือระยะเวลาที่เลือดจับตัวเป็นก้อนอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับวิตามิน K ในเลือดอย่างกะทันหันก็จะส่งผลให้รบกวนประสิทธิภาพของยาได้เช่นเดียวกัน 

    ความแข็งแรงของกระดูก

    วิตามิน K มีความเกี่ยวข้องกับการผลิตโปรตีนในกระดูก รวมทั้งออสทีโอแคลซินซึ่งจำเป็นต่อการป้องกันอาการกระดูกเสื่อม โดยมีการศึกษาหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าการบริโภควิตามิน K ในปริมาณสูงนั้นมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงกระดูกสะโพกหักและกระดูดพรุน 

    รายงานจาก Nurses’ Health Study ระบุว่าผู้หญิงที่ได้รับวิตามิน K อย่างน้อย 110 ไมโครกรัมต่อวัน มีโอกาสเสี่ยงเกิดการสะโพกหักลดลงถึง 30% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ได้รับวิตามิน K ในปริมาณที่น้อยกว่านั้น

    การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มการรับประทานผักกาดหอมหรือผักใบเขียวอื่น ๆ อย่างน้อย 1 มื้อต่อวันสามารถช่วยลดความเสี่ยงของกระดูกสะโพกหักได้กว่า 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานผักเหล่านี้เพียง 1 มื้อต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ข้อมูลจาก Framingham Heart Study ยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภควิตามิน K ต่อความแข็งแรงของกระดูกที่ให้ผลลัพธ์ไปในทิศทางเดียวกัน 

    ทั้งนี้ยังต้องมีการวัดระดับวิตามิน K ในเลือดที่เรียกว่า prothrombin time (PT) หรือระยะเวลาที่เลือดจับตัวเป็นก้อนอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับวิตามิน K ในเลือดอย่างกะทันหันก็จะส่งผลให้รบกวนประสิทธิภาพของยาได้เช่นเดียวกัน 

    โรคหัวใจ

    มีงานวิจัยไม่กี่ชิ้นที่วิจัยเกี่ยวกับบทบาทของวิตามิน K ต่อสุขภาพหัวใจ เนื่องจากมีการค้นพบว่าวิตามิน K มีความเกี่ยวข้องกับการผลิตเมทริกซ์กลาโปรตีน (MGP) ซึ่งช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามการวิจัยในด้านนี้ยังมีจำนวนจำกัดจึงไม่สามารถบอกถึงผลลัพธ์ที่แน่ชัดได้

    ทั้งนี้ยังต้องมีการวัดระดับวิตามิน K ในเลือดที่เรียกว่า prothrombin time (PT) หรือระยะเวลาที่เลือดจับตัวเป็นก้อนอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับวิตามิน K ในเลือดอย่างกะทันหันก็จะส่งผลให้รบกวนประสิทธิภาพของยาได้เช่นเดียวกัน 

    วิตามิน K สามารถพบในอาหารชนิดไหนบ้าง?

    วิตามิน K ไฟโลควิโนน

    • ผักใบเขียว ได้แก่ กระหล่ำปลีและหัวผักกาด เคล ผักโขม บรอกโคลี กะหล่ำดาว กะหล่ำปลี ผักกาดหอม
    • น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันคาโนลา
    • น้ำสลัดทำจากน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันคาโนลา

    วิตามิน K เมนาควิโนน

    • นัตโตะ (ถั่วแระหมัก)
    • ชีส 
    • ไข่

    สัญญาณเตือนของการขาดวิตามิน K

    การขาดวิตามิน K ในผู้ใหญ่นั้นพบได้ยาก แต่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่รับประทานยาที่มีฤทธิ์รบกวนการเผาผลาญวิตามิน K เช่น ยาปฏิชีวนะ หรือในผู้ที่มีสภาวะการดูดซึมอาหารและสารอาหารบกพร่อง 

    อาการต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อขาดวิตามิน K

    • เลือดจับตัวเป็นก้อนนานขึ้น (ตามที่วัดได้จากสำนักงานแพทย์)
    • เลือดออก
    • ตกเลือด
    • โรคกระดูกพรุน

    รู้หรือไม่?

    • ยาปฏิชีวนะอาจทำลายแบคทีเรียที่ผลิตวิตามิน K ในลำไส้ ซึ่งส่งผลให้ระดับวิตามิน K ลดลง โดยเฉพาะเมื่อมีอาการรับประทานยาติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ 
    • เนื่องจากวิตามิน K สามารถละลายในไขมัน จึงควรรับประทานอาหารที่มีวิตามิน K ร่วมกับไขมันบางส่วนเพื่อพัฒนาการดูดซึมสารอาหาร

    Reference

    1. National Institutes of Health Office of Dietary Supplements: Vitamin K Fact Sheet for Health Professionals https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminK-HealthProfessional/. Accessed 6/25/2018.
    2. Weber P. Vitamin K and bone health. Nutrition. 2001;17:880–7.
    3. Feskanich D, Weber P, Willett WC, Rockett H, Booth SL, Colditz GA. Vitamin K intake and hip fractures in women: a prospective study. Am J Clin Nutr. 1999;69:74–9.
    4. Booth SL, Tucker KL, Chen H, et al. Dietary vitamin K intakes are associated with hip fracture but not with bone mineral density in elderly men and women. Am J Clin Nutr. 2000;71:1201–8.
    5. Booth SL, Broe KE, Gagnon DR, et al. Vitamin K intake and bone mineral density in women and men. Am J Clin Nutr. 2003;77:512–6.

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *