ลูกปวดหู ต้องทำอย่างไร? วิธีดูแลและป้องกัน

ลูกปวดหู

การดูแลความสะอาดร่างกายให้ลูกเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เว้นแม้กระทั่งส่วนที่แคบและลึกที่สุดอย่างช่องหูหรือรูหู และควรดูแลสุขอนามัยในหูของเด็กๆ ให้ถูกวิธี ไม่อย่างนั้นอาจก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับหู ส่งผลให้ลูกปวดหูทรมานได้

ลูกปวดหู สาเหตุเกิดจากอะไร?

อาการปวดหูส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อในหู การติดเชื้อในหูชั้นกลาง หูชั้นกลางอักเสบ มักเกิดขึ้นเมื่อ มีอาการป่วยอื่นๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือภูมิแพ้ ทำให้เกิดอาการคัดจมูกและบวมที่ช่องจมูก คอ หรือการสะสมของขี้หูอาจไปปิดกั้นช่องหู ทำให้เกิดแรงกดดันต่อแก้วหู และทำให้รู้สึกไม่สบาย มีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในหู หรือการบาดเจ็บที่โครงสร้างในหู ที่เกิดจากการทำความสะอาดหู

อาการ

  • ปวดหู โดยเฉพาะเวลานอนราบ 
  • มีปัญหาในการได้ยินหรือตอบสนองต่อเสียง 
  • การระบายของเหลวออกจากหู
  • อาการคันหรือรอยแดงของช่องหูชั้นนอก 
  • มีไข้
  • ดังก้องอยู่ในหู 
  • เวียนหัว
  • การมีของเหลวออกจากหู เจ็บปวดมากขึ้น เป็นสัญญาณที่เป็นไปได้ว่าแก้วหูแตก

อาการปวดหูโดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อที่หูและไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง การติดเชื้อที่หูส่วนใหญ่ จะหายเองภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์ ในบางครั้งการสะสมของหนองและของเหลวในหูชั้นกลางอาจทำให้แก้วหูฉีกขาดหรือแตก เสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำได้  ให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

ในเด็กทารกและเด็กเล็ก ช่องระหว่างหูชั้นกลางและลำคอ (ท่อยูสตาเชียน) จะแคบและสั้นกว่า และมีมุมในแนวนอนมากกว่าในผู้ใหญ่ ทำให้มีการสะสมของของเหลวในหูชั้นกลาง เป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส 

วิธีดูแลรักษาเมื่อลูกปวดหู

หยอดยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ ยาหยอดอาจมีสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ หากแก้วหูไม่หายภายใน 2-3 เดือน ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

สิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้เพื่อดูแลเบื้องต้น 

  • ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นซับบนหู ช่วยลดอาการปวดได้
  • รับประทานยาแก้ปวดเบื้องต้น เช่น ไทลินอล หรือไอบู-โพรเฟน ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างระมัดระวัง
  • ให้ลูกล้างมือบ่อยๆ  เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในหู 
  • ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารและดื่มร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นที่ป่วย 
  • เมื่อมีอาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ หรือมีอาการหวัดนานเกิน 1 สัปดาห์ ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์
  • เด็กที่ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำจนกว่าจะหายดี
  • ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางซ้ำบ่อยๆ ควรตรวจหาสาเหตุ เช่น แก้วหูทะลุ ภูมิแพ้ ต่อมอดีนอยด์โต เพื่อทำการรักษาต่อไป
  • ฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในหูได้
  • เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่ชื้น การดูแลหูของลูกให้แห้งสามารถช่วยรักษาและป้องกันได้ 
  • หากน้ำเข้าหู ให้เด็กเอียงศีรษะไปด้านข้างเพื่อไล่น้ำออก และทำให้ช่องหูแห้ง ใช้เครื่องเป่าผมในบริเวณที่เปียกเพื่อทำให้ช่องหูแห้งเบาๆ หลังจากอาบน้ำหรือว่ายน้ำ

ขี้หู

สร้างจากต่อมสร้างขี้หู ซึ่งอยู่ในช่องหูชั้นนอก เป็นส่วนที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมชาติในการป้องกันร่างกาย ช่วยปกป้องช่องหูด้วยการดักจับสิ่งสกปรก ชะลอการเติบโตของแบคทีเรีย และป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอม เข้าไปในช่องหู ปกติจะแห้งและหลุดออกจากหูเอง ปัญหาของขี้หูเกิดขึ้นได้ ถ้ามีการสะสมของขี้หูขึ้น มีปริมาณมากขึ้น หรือแม้แต่การใช้ไม้สำลีพันก้านหรืออุปกรณ์อื่นๆ ในการทำความสะอาดหูของเด็ก อาจทำให้ดันขี้หูเข้าไปด้านใน และทำให้เกิดอุดตันช่องหูชั้นนอก  และเกิดความเสียหายร้ายแรง ต่อเยื่อบุช่องหูหรือแก้วหู ทำให้มีอาการหูอื้อ มีเสียงดังในหูหรือปวดหูหน่วงๆได้ 

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด

คือ การใช้ไม้พันสำลี ทำความสะอาดช่องหูชั้นนอก โดยเฉพาะหลังอาบน้ำลูก แล้วมีน้ำเข้าหู การทำแบบนี้จะยิ่งกระตุ้น ทำให้ต่อมสร้างขี้หู ทำงานมากขึ้น มีปริมาณขี้หูที่ผลิตมามากขึ้นและยิ่งดันขี้หู ในช่องหูให้อัดแน่นยิ่งขึ้น ทำให้ขี้หูอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น  

อาการที่พบเมื่อขี้หูอุดตัน

  • ปวดหู
  • หูอื้อ
  • คันในรูหู
  • ได้ยินเสียงในหู
  • มีปัญหาเรื่องการได้ยิน
  • มีของเหลวหรือกลิ่นออกมาจากหู
  • วิงเวียนศีรษะ

วิธีดูแลรักษา

  • หากเห็นว่ามีขี้หูเหนียวไหลออกมาจากหูของเด็กเป็นจำนวนมาก หรือสังเกตเห็นปัญหาการได้ยิน ทำให้เกิดอาการผิดปกติของหู  ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย แพทย์จะใช้ที่ส่องหูส่องตรวจช่องหูชั้นนอก เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติของหู 
  • หากลูกมีอาการขี้หูสะสมบ่อยครั้ง อาจใช้ยาละลายขี้หู หยอดในหูเป็นประจำ เพื่อทำการล้างขี้หู อาจใช้เพียงอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่มีปัญหาอาจห่างออกไป หยอด 1 ครั้ง ก็จะช่วยลดการอุดตันของขี้หูในช่องหูชั้นนอกได้ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกร และอ่านฉลากยาอย่างรอบคอบ
  • หรือหยดยาละลายขี้หู เช่นน้ำมันแร่ (mineral oil) เบบี้ออยล์ กลีเซอรีน และยาหยอดหูที่มีเปอร์ออกไซด์  2-3 หยด เพื่อทําให้ขี้หูนิ่มลง จนสามารถหลุดออกมาตามธรรมชาติได้

คุณพ่อคุณแม่สามารถทำความสะอาดใบหูด้านนอกได้โดยใช้ผ้าสะอาดเช็ดหูด้านนอกทุกวันเพื่อกำจัดฝุ่นผง

โดยใช้ผ้านุ่มหรือคอตตอนบัดเช็ดบริเวณด้านนอกของหู ห้ามใช้ไม้แคะหู ดังนั้น ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรแคะหรือปั่นหู หากมีอาการหูอื้อ ได้ยินไม่ชัด ปวดหู หรือลูกมีขี้หูเยอะ แนะนำให้พาลูกไปพบแพทย์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *