ข้อเสียของการกินเนื้อวัว เนื้อแดง สาเหตุของโรคร้ายแรง

ข้อเสียของการกินเนื้อวัว

ข้อเสียของการกินเนื้อวัว เนื้อแดง
สรุปงานวิจัยหัวข้อโรคต่างๆกับอาหารที่ให้โปรตีน

อ้างอิงจาก Harvard Chan School of Public Health งานวิจัยมากมายได้บ่งชี้ถึงผลกระทบทางสุขภาพจากแหล่งที่มาของโปรตีน (หรือหมายถึง “โปรตีนแพ็คเกจ”) ที่มีนัยยะสำคัญมากกว่าปริมาณโปรตีนที่ได้รับในแต่ละวัน ในเนื้อหาของบทความนี้จะเป็นการอิงตามหลักฐานที่มีถึง ข้อเสียของการกินเนื้อวัว เนื้อแดง การแนะนำให้รับประทานแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพอย่างถั่ว, ปลา, หรือเนื้อสัตว์ปีกทั้งหลายแทนที่จะทานเนื้อแดง หรือเนื้อแปรรูปนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคภัยหลายต่อหลายโรค เช่น โรคหัวใจ, เบาหวาน, มะเร็ง และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้อย่างไร

เลือกอ่านตามหัวข้อ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ข้อเสียของการกินเนื้อวัว เนื้อแดง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆดังนี้

1.โรคหัวใจ

  • การทานเนื้อแดงแปรรูปทุก ๆ 85 กรัมในแต่ละวันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจขึ้นถึง 13%
  • ทุก ๆ 42 กรัมที่บริโภคเนื้อแดงเข้าไปในแต่ละวัน (หรือกินฮอทด็อกที่มีไส้กรอกหนึ่งเส้น และสอดไส้ด้วยเบค่อนอีกสองแผ่น) มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจขึ้น 20%

งานวิจัยจาก Harvard Chan School of Public Health พบว่าการกินเนื้อแดงเป็นประจำ แม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะเนื้อแดงแปรรูปมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ กับโรคหลอดเลือดสมองที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสาเหตุอื่น ๆ อีกด้วย

ซึ่งหากทดแทนการกินเนื้อแดงหรือแปรรูปด้วยแหล่งโปรตีนดี เช่น ถั่ว, อาหารจากถั่วเหลือง, ปลา, และเนื้อไก่ จะสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเหล่านี้ได้ เพราะแหล่งโปรตีนจากพืชและโปรตีนเนื้อแดง มีความแตกต่างในด้านของโปรตีนแพ็คเกจ หรือสารอาหารไม่ดีที่ติดมาด้วย เช่นชนิดของไขมัน โปรตีนจากพืชจะมีความไม่อิ่มตัวกว่าและไม่มีคอเลสเตอรอล ซึ่งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

การศึกษาอีกชิ้นจากฮาเวิร์ดได้ทำการติดตามชายหญิงจำนวน 120,000 คนเป็นเวลามากกว่ายี่สิบปี พบว่าการทานเนื้อแดงแปรรูปทุก ๆ 85 กรัมในแต่ละวันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจขึ้นถึง 13%

และเนื้อแดงแปรรูปมีความเชื่อมโยงชัดเจนกับการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ แม้จะกินในปริมาณเล็กน้อย  โดยทุก ๆ 42 กรัมที่บริโภคเข้าไปในแต่ละวัน (หรือกินฮอทด็อกที่มีไส้กรอกหนึ่งเส้น และสอดไส้ด้วยเบค่อนอีกสองแผ่น) มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจขึ้น 20%

จากผลการวิจัยนี้นักวิจัยคาดกันว่าหากชายและหญิงในการศึกษาลดการบริโภคเนื้อแดง กับเนื้อแปรรูปลงกว่าครึ่งของแต่ละวัน จะมีโอกาสป้องกันการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ถึง 1 ใน 10

2.เบาหวาน

  • การกินเนื้อแดง กับเนื้อแปรรูปมากกว่าหนึ่งจานต่อวันจะทำให้ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 12% กับ 32% ตามลำดับ
  • นักวิจัยยังพบด้วยว่าการเปลี่ยนจากเนื้อแดงไปเป็นการกินถั่ว, ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ, หรือโฮลเกรนในแต่ละวันมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อเบาหวานประเภท 2 ที่ลดลง 16% กับ 35% ตามลำดับ

ผลการศึกษามากมาย เน้นย้ำถึงแหล่งที่มาของโปรตีนนั้นมีความสำคัญมากกว่าปริมาณของโปรตีนเมื่อพูดถึงความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน  การกินเนื้อแดงมาก ๆ ส่งผลให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 มากขึ้น ในขณะที่การกินฝัก, ถั่ว, และเนื้อสัตว์ปีกจะช่วยลดความเสี่ยงลง

*ทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างเบาหวานประเภทที่ 1 และปรเภทที่ 2: ความแตกต่างระหว่างเบาหวานประเภท 1 กับ 2 คือ เบาหวานประเภท 1 เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่มักแสดงอาการตั้งแต่อายุน้อย ในขณะที่เบาหวานประเภท 2 มาจากวิธีการใช้ชีวิต ซึ่งก่อตัวขึ้นตามระยะเวลา โดยสัดส่วนผู้ป่วยระหว่างสองประเภทนี้คือประเภทที่ 1 พบได้ 8% ส่วนประเภทที่ 2 มีจำนวนมากกว่าถึง 90%

การศึกษาในปี 2011 พบว่าผู้ที่กินอาหารที่มีเนื้อแดงมาก ๆ โดยเฉพาะพวกเนื้อแปรรูปจะมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มากกว่าผู้ที่กินเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูปในปริมาณน้อย สำหรับการกินเนื้อแดง กับเนื้อแปรรูปมากกว่าหนึ่งจานต่อวันจะทำให้ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 12% กับ 32% ตามลำดับ  นักวิจัยยังพบด้วยว่าการเปลี่ยนจากเนื้อแดงไปเป็นการกินถั่ว, ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ, หรือโฮลเกรนในแต่ละวันมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อเบาหวานประเภท 2 ที่ลดลง 16% กับ 35% ตามลำดับ

วิธีการปรุงเนื้อยังส่งผลต่อความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 อีกด้วย  การศึกษานี้ติดตามสุขภาพของชายหญิงมากกว่า 289,000 คน พบว่าคนที่กินเนื้อแดงกับไก่ปรุงสุกในอุณหภูมิสูงบ่อย ๆ จะมีโอกาสเป็นเบาหวานประเภท 2 มากขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่กินน้อย  อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะน้ำหนักเพิ่มหรือเป็นโรคอ้วนในกลุ่มคนที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูงมากขึ้นด้วย  มีหมายเหตุว่างานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าวิธีการปรุงอาจส่งผลต่อความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน แต่ไม่ได้สำรวจถึงผลของการบริโภคเนื้อแต่อย่างใด

นักวิจัยยังพบด้วยว่าการเปลี่ยนจากเนื้อแดงไปเป็นการกินถั่ว, ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ, หรือโฮลเกรนในแต่ละวันมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อเบาหวานประเภท 2 ที่ลดลง 16% กับ 35% ตามลำดับ

3.มะเร็ง ข้อเสียของการกินเนื้อวัว

  • จากการศึกษา ข้อเสียของการกินเนื้อวัว เนื้อแดง หรือเนื้อแปรรูปเพิ่มขึ้นทุก ๆ จานจะสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากมะเร็งขึ้น 10% กับ 16% ตามลำดับ

ในปี 2015 กลุ่มนักวิจัย IARC (เป็นนักวิทยาศาสตร์ 22 คนจากสิบประเทศ) จากหน่วยงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ขององค์กรอนามัยโลก (WHO) สรุปจากการประเมินข้อมูลการศึกษากว่า 800 โครงการไว้ว่า การบริโภคเนื้อแปรรูป “เป็นสาเหตุของการก่อมะเร็งในมนุษย์” ส่วนการบริโภคเนื้อแดงจัดว่า “อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในมนุษย์”

บทสรุปนี้อ้างอิงมาจากหลักฐานสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีข้อมูลชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ที่เป็นบวกระหว่างการบริโภคเนื้อแปรรูปกับมะเร็งกระเพาะอาหาร และระหว่างการบริโภคเนื้อแดงกับมะเร็งตับอ่อนและต่อมลูกหมาก

การศึกษาของปี 2014 ยังพบความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคเนื้อแดงปริมาณมากกับโรคมะเร็งเต้านมในช่วงวัยเจริญพันธุ์ กับช่วงก่อนหมดประจำเดือนอีกด้วย ในขณะที่การบริโภคเนื้อสัตว์ปีก, ถั่ว, และฝักปริมาณมากจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวที่ลดลง  เมื่อใช้ข้อมูลสุขภาพของผู้หญิง 89,000 คน (อายุตั้งแต่ 24 – 43 ปี) เป็นเวลานาน 20 ปี นักวิจัยจึงพบว่าผู้ที่กินเนื้อแดง 1.5 จานต่อวันในช่วงที่เรียนมัธยมอยู่จะเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมสูงขึ้น 22% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่กินเพียงหนึ่งจานต่อสัปดาห์

อีกทั้งหากกินเนื้อแดงเพิ่มเข้าไปทุกวันด้วยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงขึ้นอีก 13% [19]

วิธีการปรุงเนื้อยังมีผลต่อความเสี่ยงของโรคมะเร็งเช่นกัน  การย่างในอุณหภูมิสูงมักจะก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งขึ้นในเนื้อ ซึ่งรวมถึง polycyclic aromatic hydrocarbons กับ heterocyclic amines

**Heterocyclic amines (HCAs) และ polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) เป็นสารเคมีที่ก่อตัวขึ้นเมื่อชิ้นเนื้อถูกปรุงด้วยการใช้อุณหภูมิสูง เช่น การจี่บนกระทะ หรือเตาไฟย่าง ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารกลายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน DNA ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งมากขึ้น

4.เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ในปี 2016 นักวิจัยได้ทำการศึกษาถึงเรื่องข้อเสียของการกินเนื้อวัว เนื้อแดง และได้ตรวจสอบปริมาณการบริโภคโปรตีนของชายและหญิงมากกว่า 131,000 คน หลังจากติดตามการกินอาหารนานถึง 32 ปี ก็พบว่าปริมาณการบริโภคเนื้อแดง โดยเฉพาะที่ถูกแปรรูปมาแล้ว (เช่น ไส้กรอก, เบค่อน, ซาลามี่, ฮอทด็อก) ที่มากนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่สูงขึ้น ในขณะที่การบริโภคโปรตีนจากพืชที่มากจะมีความเสี่ยงลดลง

5.สุขภาพกระดูก

การย่อยโปรตีนจะหลั่งกรดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ร่างกายต้องเข้ามาระงับฤทธิ์ของมันด้วยแคลเซียมและสารปรับความเป็นกรด-ด่างอื่น ๆ  ด้วยเหตุนี้ทำให้งานวิจัยช่วงแรก ๆ คาดกันว่าการทานโปรตีนมาก ๆ ทำให้ร่างกายต้องใช้แคลเซียมมากขึ้น ซึ่งอาจถูกดึงมาจากกระดูกได้  แต่การศึกษาในปี 2009 กลับให้ข้อมูลแย้งว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ควบคุมน้ำหนัก

อาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนเพื่อสุขภาพเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการป้องกันโรคภัย อีกทั้งยังช่วยในการควบคุมน้ำหนักอีกด้วย

ผลจากการวิจัย ข้อเสียของการกินเนื้อวัว เนื้อแดง โดยมีการติดตามกิจลักษณะการกินและการใช้ชีวิตของชายหญิงจำนวน 120,000 คนนานกว่า 20 ปีเพื่อดูว่าการปรับเปลี่ยนเล็ก ๆ น้อยช่วยในการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักได้อย่างไร ผลลัพธ์คือ 

  • คนที่กินเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปตลอดระยะเวลาการศึกษาจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมทุก ๆ  4 ปี
  • ส่วนกลุ่มคนที่กินถั่วมากกว่าจะมีน้ำหนักลดลงประมาณ 0.2 กิโลกรัมต่อทุก ๆ 4 ปี

การวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้นยังพบด้วยว่าการทานเนื้อแดง, เนื้อไก่ติดหนัง, และชีสทั่ว ๆ ไปมีความเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น  ส่วนการกินโยเกิร์ต, เนยถั่ว, วอลนัท, ไก่ไม่ติดหนัง, ชีสไขมันต่ำ, ถั่วอื่น ๆ , และอาหารทะเลจะสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักที่น้อยกว่า

สำหรับโปรตีนเองก็ไม่ต่างกัน แต่ก็มีงานวิจัยบางชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงข้อดีจากการทานอาหารโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำในระยะเวลาสั้น ๆ (เช่นการกินแบบ paleo diet) แต่การเลี่ยงรับประทานผลไม้กับธัญพืชเต็มเมล็ดนั้นหมายความว่าร่างกายจะขาดใยอาหาร, วิตามิน, แร่ธาตุ, และสารอาหารสังเคราะห์แสงที่มีคุณค่าตามไปด้วย

ข้อพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโปรตีน

มีรายงานเกี่ยวกับโปรตีนบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการแพ้อาหาร ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่มาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองมากเกินไป (เช่นโรคคาลิแอคหรือโรคแพ้กลูเทน เป็นต้น) วารสารทางการแพทย์มีรายงานที่เกี่ยวกับอาการแพ้ต่าง ๆ ที่มาจากแหล่งของโปรตีน เช่น ไข่, ปลา, นม, ถั่วลิสง, ถั่วเหลือง, และอีกมากมายที่เชื่อมโยงกับหลากหลายภาวะ/อาการ ตั้งแต่ปัญหาการหายใจ, มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเรื้อรัง ฯลฯ

ดังนั้นผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคบางอย่าง (เช่นโรคตับ โรคไต) จำต้องคอยระวังการบริโภคโปรตีนของตัวเองอย่างตลอดเวลาตามคำแนะนำของแพทย์

สุดท้ายนี้คุณคงเคยได้ยินเกี่ยวกับการใส่ยาปฏิชีวนะลงในสินค้าอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์บ้างที่กำลังถูกใช้อยู่ทั่วกัน ซึ่งนั่นทำให้เกิดอุบัติใหม่ที่เรียกว่า Superbugs หรือเชื้อแบคทีเรียดื้อยา  ในปี 2016 ทาง USFDA ออกมาประกาศระเบียบจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะกับอาหาร (รวมถึงการให้ยาปฏิชีวนะกับปศุสัตว์เพื่อเร่งการเจริญเติบโต)  แต่ ณ ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายนี้ เพื่อเป็นการป้องกันสารเหล่านี้ก่อนหยิบเลือกสินค้าเนื้อ คุณควรสังเกตฉลากที่ระบุว่า “เลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ” อย่างไรก็ตาม คงมีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่จะระบุเช่นนี้ไว้ที่ฉลากผลิตภัณฑ์

Sapiens Health แนะนำ

คุณสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่บทความ “โปรตีน คืออะไร ? และมีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพ“

Reference

  1. National Academies of Medicine. Dietary Reference Intakes for Energy, Song M, Fung TT, Hu FB, Willett WC, Longo VD, Chan AT, Giovannucci EL. Association of animal and plant protein intake with all-cause and cause-specific mortality. JAMA internal medicine. 2016 Oct 1;176(10):1453-63.
  2. Bernstein AM, Sun Q, Hu FB, Stampfer MJ, Manson JE, Willett WC. Major dietary protein sources and risk of coronary heart disease in women. Circulation. 2010 Aug 31;122(9):876-83.
  3. Pan A, Sun Q, Bernstein AM, Schulze MB, Manson JE, Stampfer MJ, Willett WC, Hu FB. Red meat consumption and mortality: results from 2 prospective cohort studies. Archives of internal medicine. 2012 Apr 9;172(7):555-63.
  4. Bernstein AM, Pan A, Rexrode KM, Stampfer M, Hu FB, Mozaffarian D, Willett WC. Dietary protein sources and the risk of stroke in men and women. Stroke. 2011 Jan 1:STROKEAHA-111.
  5. Preis SR, Stampfer MJ, Spiegelman D, Willett WC, Rimm EB. Dietary protein and risk of ischemic heart disease in middle-aged men–. The American journal of clinical nutrition. 2010 Sep 29;92[5]:1265-72.
  6. Halton TL, Willett WC, Liu S, Manson JE, Albert CM, Rexrode K, Hu FB. Low-carbohydrate-diet score and the risk of coronary heart disease in women. New England Journal of Medicine. 2006 Nov 9;355(19):1991-2002.
  7. Appel LJ, Sacks FM, Carey VJ, Obarzanek E, Swain JF, Miller ER, Conlin PR, Erlinger TP, Rosner BA, Laranjo NM, Charleston J. Effects of protein, monounsaturated fat, and carbohydrate intake on blood pressure and serum lipids: results of the OmniHeart randomized trial. JAMA. 2005 Nov 16;294(19):2455-64.
  8. Jenkins DJ, Wong JM, Kendall CW, Esfahani A, Ng VW, Leong TC, Faulkner DA, Vidgen E, Greaves KA, Paul G, Singer W. The effect of a plant-based low-carbohydrate (“Eco-Atkins”) diet on body weight and blood lipid concentrations in hyperlipidemic subjects. Archives of internal medicine. 2009 Jun 8;169(11):1046-54.
  9. Lagiou P, Sandin S, Lof M, Trichopoulos D, Adami HO, Weiderpass E. Low carbohydrate-high protein diet and incidence of cardiovascular diseases in Swedish women: prospective cohort study. BMJ. 2012 Jun 26;344:e4026.
  10. Pan A, Sun Q, Bernstein AM, Schulze MB, Manson JE, Willett WC, Hu FB. Red meat consumption and risk of type 2 diabetes: 3 cohorts of US adults and an updated meta-analysis–. The American journal of clinical nutrition. 2011 Aug 10;94(4):1088-96.
  11. Pan A, Sun Q, Bernstein AM, Manson JE, Willett WC, Hu FB. Changes in red meat consumption and subsequent risk of type 2 diabetes mellitus: three cohorts of US men and women. JAMA internal medicine. 2013 Jul 22;173(14):1328-35.
  12. Pan A, Sun Q, Bernstein AM, Manson JE, Willett WC, Hu FB. Changes in red meat consumption and subsequent risk of type 2 diabetes mellitus: three cohorts of US men and women.JAMA internal medicine. 2013 Jul 22;173(14):1328-35.
  13. Halton TL, Liu S, Manson JE, Hu FB. Low-carbohydrate-diet score and risk of type 2 diabetes in women–. The American journal of clinical nutrition. 2008 Feb 1;87[3]:339-46.
  14. Åkerblom HK, Vaarala O, Hyöty H, Ilonen J, Knip M. Environmental factors in the etiology of type 1 diabetes. American journal of medical genetics. 2002 May 30;115[2]:18-29.
  15. Vaarala O, Ilonen J, Ruohtula T, Pesola J, Virtanen SM, Härkönen T, Koski M, Kallioinen H, Tossavainen O, Poussa T, Järvenpää AL. Removal of bovine insulin from cow’s milk formula and early initiation of beta-cell autoimmunity in the FINDIA pilot study. Archives of pediatrics & adolescent medicine. 2012 Jul 1;166(7):608-14.
  16. Bouvard V, Loomis D, Guyton KZ, Grosse Y, El Ghissassi F, Benbrahim-Tallaa L, Guha N, Mattock H, Straif K. Carcinogenicity of consumption of red and processed meat. The Lancet Oncology. 2015 Dec 1;16(16):1599-600.
  17. Farvid MS, Cho E, Chen WY, Eliassen AH, Willett WC. Adolescent meat intake and breast cancer risk. International journal of cancer. 2015 Apr 15;136(8):1909-20.
  18. Darling AL, Millward DJ, Torgerson DJ, Hewitt CE, Lanham-New SA. Dietary protein and bone health: a systematic review and meta-analysis–. The American journal of clinical nutrition. 2009 Nov 4;90(6):1674-92.
  19. Mozaffarian D, Hao T, Rimm EB, Willett WC, Hu FB. Changes in diet and lifestyle and long-term weight gain in women and men. New England Journal of Medicine. 2011 Jun 23;364(25):2392-404.
  20. Smith JD, Hou T, Ludwig DS, Rimm EB, Willett W, Hu FB, Mozaffarian D. Changes in intake of protein foods, carbohydrate amount and quality, and long-term weight change: results from 3 prospective cohorts–. The American journal of clinical nutrition. 2015 Apr 8;101(6):1216-24.
  21. Li SS, Kendall CW, de Souza RJ, Jayalath VH, Cozma AI, Ha V, Mirrahimi A, Chiavaroli L, Augustin LS, Blanco Mejia S, Leiter LA. Dietary pulses, satiety and food intake: A systematic review and meta‐analysis of acute feeding trials. Obesity. 2014 Aug;22(8):1773-80.
  22. Food and Drug Administration. FDA’s Strategy on Antimicrobial Resistance – Questions and Answers. https://www.fda.gov/animalveterinary/guidancecomplianceenforcement/guidanceforindustry/ucm216939.htm. Accessed on 11/6/2018.
  23. HARVARD T.H. CHAN, School of Public Health

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *