โรคผิวหนังในเด็ก มีอะไรบ้างที่ควรระวัง

โรคผิวหนังในเด็ก

โรคผิวหนังในเด็ก อย่ารอจนเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบหรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคที่พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กเล็ก หากไม่รีบทำการรักษาและดูแลให้ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเป็นเรื้อรังจนถึงตอนโตได้ ดังนั้นการดูแลอย่างถูกวิธี รวมถึงการพบแพทย์โดยเร็ว นอกจากช่วยรักษาให้หายขาดแล้ว ยังช่วยให้ลูกไม่หงุดหงิดงอแง

ผื่นผิวหนังอักเสบ

เป็นภาวะผิวหนังที่พบบ่อยในเด็กเล็กที่ทำให้เกิดผิวแห้งคัน โดยมีตุ่มแดงและปื้น อาจเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กอาการมักเริ่มก่อนอายุ 5 ปี อาจมีผื่นคงอยู่นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ลุกลามได้เมื่อผิวหนังของลูกแห้ง เช่น ในฤดูหนาว หรือเมื่อผิวหนังติดเชื้อ

ผื่นผิวหนังอักเสบทำให้เกิดผิวหนังแห้ง หยาบกร้าน สีน้ำตาลแดง เกิดรอยแดงถึงน้ำตาลบนผิวหนัง เป็นหลุมเป็นบ่อและคัน มักเกิดด้านในข้อศอกและรอบเข่า มือ ข้อมือ และข้อเท้า จะคันมากในเวลากลางคืน เมื่อเกาบ่อยๆ อาจทำให้ผิวหนังบวม เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เมื่อเวลาผ่านไป ผิวหนังอาจหนาขึ้น แตกและเป็นสะเก็ด เป็นโรคไม่ติดต่อหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจทำให้ลูกไม่สุขสบาย นอนไม่สบายตัวเพราะคันมาก

การรักษาผื่นผิวหนังอักเสบ

ดูแลผิวของลูกให้ชุ่มชื้นและใช้ยาเมื่อจำเป็นจะช่วยบรรเทาอาการคันและไม่สบายตัวได้ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ เช่น :

  • อาการคันรบกวนการนอนหลับผักผ่อนของลูก 
  • มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง (มีรอยแดง หนอง สะเก็ดเหลือง)
  • ติดเชื้อที่ผิวหนังโดยมีไข้ร่วมด้วย 

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ เมื่อลูกเป็นผื่นผิวหนังอักเสบ

  • บำรุงผิวของลูกให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม ใช้โลชั่น ครีม ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ อย่างน้อยวันละสองครั้ง เช่น ก่อนนอน และก่อนไปโรงเรียน
  • ให้ลูกอาบน้ำอุ่นและสบู่ที่ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้และปราศจากน้ำหอม หลังจากอาบน้ำ สอนลูกให้ซับตัวจนแห้งและให้ความชุ่มชื้นอย่างรวดเร็วภายใน 3 นาที
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอมและการสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่สามารถระบายอากาศได้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคือง
  • ใช้ยาทาแก้คัน 1% ไฮโดรคอร์ติโซน ทาบริเวณรอบๆ ผื่น วันละสองครั้ง
  • ให้ทานยาแก้แพ้ หรือยาแก้คันได้  อาจช่วยควบคุมอาการคันได้ รวมถึง ยานี้ทำให้ง่วงนอน  ดังนั้นจึง ควรรับประทานก่อนนอน
  • ตัดเล็บให้สั้น และสวมถุงมือในเวลากลางคืนสามารถช่วยปกป้องบริเวณที่บอบบางได้เช่นกัน
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ให้พาลูกไปพบแพทย์

ลมพิษ

ผื่นคันที่เกิดบนผิวหนัง มีลักษณะปื้น นูนแดง ไม่มีขุย ขึ้นตามลำตัว แขนขา มีอาการคันมาก เป็นจุดเล็กๆ ไปจนถึงจุดจ้ำขนาดใหญ่ หลายสิ่งหลายอย่างสามารถกระตุ้นให้เกิดลมพิษได้ รวมถึงอาการแพ้อาหารหรือยา การติดเชื้อไวรัส แมลงสัตว์กัดต่อย สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ สภาพอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง การสัมผัสแสงแดด หรือความเครียด

อาการลมพิษ

มีอาการคันมาก รู้สึกไม่สบายตัว อาจกระจุกตัวอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง และอาจเปลี่ยนตำแหน่ง บางพื้นที่อาจขยายและรวมเข้าด้วยกัน อาจคงอยู่ 2-3 ชั่วโมงและหายไป หรืออาจเป็นๆ หายๆ สองสามวันหรือสองสามสัปดาห์ ไม่เป็นอันตราย และเกิดขึ้นชั่วคราว บางครั้งผื่นอาจเกิดขึ้นร่วมกับการหายใจ หรือกลืนลำบาก ลิ้นบวม การอาเจียน หรือท้องร่วงอย่างกะทันหัน หรืออัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณ ของอาการแพ้รุนแรง หรือ Anaphylaxis ต้องได้รับการดูแลฉุกเฉิน 

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ เมื่อลูกเป็นลมพิษ 

  • ให้ยาแก้แพ้แบบรับประทาน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการคันและไม่สบายตัวได้ 
  • ให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย หลวม 
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น จะทำให้อาการคันน้อยลง 
  • ตัดเล็บให้สั้น เพื่อไม่ให้เกาหรือเกิดรอยขีดข่วน
  • หากลูกป็นโรคลมพิษบ่อยครั้ง ให้จดบันทึกในแต่ละครั้งที่มีผื่น อาหารที่กินในวันนั้น กิจกรรมอะไร และสถานที่ที่ลูกอยู่

แผลพุพองชนิดตื้น

เป็นการติดเชื้อของหนังกำพร้าชั้นนอก ที่พบบ่อย ติดต่อได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อเด็กเล็กและทารก จะมีลักษณะคล้ายลูกแพร์ เป็นผื่นรูปเหรียญสีแดงและมีเปลือกสีน้ำผึ้งแตกเป็นสะเก็ด เกิดขึ้นที่ใบหน้า จมูก ปาก มือ และเท้า เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนังผ่านทางบาดแผล หรือแมลงกัดต่อย พบบ่อยที่สุดในเด็กอายุ 2 – 5 ปี โดยแพร่กระจายได้ง่ายในสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน เช่น สถานที่ดูแลเด็ก โรงเรียน  พบบ่อยในช่วงฤดูร้อนเมื่ออากาศอบอุ่นและชื้น

อาการแผลพุพองชนิดตื้น

คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง โดยเริ่มจากมีแผลเป็นสีแดงกลมๆ ซึ่งพุพองเป็นช่วงสั้นๆ โดยจะไหลซึมและกลายเป็นเปลือกหนา จะหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์ หากพุพองมากขึ้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

ลักษณะของผื่นแผลพุพอง สังเกตอย่างไร

  • แผลกลมสีแดงแตก มีหนองไหลออกมาสองสามวัน กลายเป็นเปลือกสีน้ำตาลอมเหลือง
  • อาการคันเล็กน้อย
  • ปวดมากขึ้น แผลมีหนองของเหลวไหลออกมา  

การรักษาแผลพุพอง

  • ดูแลผิวของลูกให้สะอาด เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ 
  • รักษาบาดแผล รอยถลอก แมลงสัตว์กัดต่อย และบาดแผลอื่นๆ ทันทีโดยการล้างบริเวณที่โดนกัด และทายาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • รับประทานยาปฏิชีวนะ (ภายใต้คำสั่งแพทย์) ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ และป้องกันการดื้อยาปฏิชีวนะ

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ เมื่อลูกเป็นแผลพุพอง

  • ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำเกลือล้างแผล ช่วยกำจัดคราบเชื้อโรค
  • หลังจากสะเก็ดหลุดออกไปแล้ว ให้ทายาปฏิชีวนะสามครั้งต่อวัน ล้างผิวและซับให้แห้งก่อนทายา
  • ตัดเล็บของเด็กเพื่อป้องกันการเกาและการแพร่กระจายของการติดเชื้อ

การป้องกันการแพร่กระจาย 

  • เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปยังผู้อื่น การล้างมือจึงเป็นสิ่งสำคัญ ให้ลูกล้างมือบ่อยๆ และทุกคนในบ้านก็ควรทำเช่นเดียวกัน
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จนกว่าจะหายดี 
  • ให้หยุดเรียน อยู่บ้าน แนะนำให้ดูแลสุขอนามัยถูกทั่วไป รักษาผิวให้สะอาดและชุ่มชื้นอยู่เสมอ

แมลงกัดและต่อย

สำหรับเด็ก การถูกแมลงกัดหรือต่อยอาจเป็นเรื่องที่น่ากลัวและเจ็บปวด  แมลงกัดต่อยทำให้เกิดปฏิกิริยา ทางผิวหนังเพียงเล็กน้อย และมีอาการคันร่วมด้วย เด็กบางคนอาจมีอาการแดงและบวมเฉพาะที่ บางคนมีอาการแพ้อย่างรุนแรงต่อแมลงบางชนิดเมื่อถูกต่อย โดยเฉพาะผึ้ง ตัวต่อ และแตน ต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน

ลักษณะอาการที่แมลงแต่ละชนิดกัดและต่อย 

  • ผึ้ง ตัวต่อ และแตน ในเด็กส่วนใหญ่ การถูกเหล็กในจะทำให้เกิดอาการปวดในช่วงแรก และจะกลายเป็นสีแดงและบวมภายในไม่กี่ชั่วโมงแรก
  • ยุง ส่วนใหญ่คันและอาจบวมเล็กน้อย
  • มดคันไฟ ตะขาบ ทำให้เกิดตุ่มสีแดง เจ็บ ปวด หรือทำให้เกิดอาการบวมได้

ความรุนแรงขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน บางคนไวต่อพิษของแมลงมากกว่าคนอื่นๆ อาจทำให้เกิดภาวะภูมิแพ้ อาการของโรคภูมิแพ้ ได้แก่ หายใจลำบากอย่างรุนแรง บวม มีอาการคันหรือลมพิษ อาเจียน ท้องเสียหรือเวียนศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตต่ำ หากพบอาการเหล่านี้ควรพาลูกไปพบแพทย์ในทันที

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ เมื่อลูกถูกแมลงกัดและต่อย

  • ให้เอาเหล็กในออกจากผิวหนังของลูกโดยเร็วที่สุด ใช้บัตร กระดาษเนื้อแน่น หรือขอบทื่อๆ ขูดเหล็กในออก หลีกหลีกเลี่ยงการบีบเหล็กใน เพราะอาจทำให้พิษกลับเข้าสู่ผิวหนัง
  • ล้างบริเวณที่โดนกัดด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นใช้ผ้าเย็นหรือน้ำแข็งประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม 
  • ทาครีมหรือขี้ผึ้งยา เช่น โลชั่นคาลาไมน์ แซมบัค หรือครีมไฮดราคอร์ติโซน 1% เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัน

วิธีป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อย

  • ให้ลูกสวมเสื้อผ้าโปร่ง เบา ปกปิดผิวหนังส่วนใหญ่เมื่ออยู่กลางแจ้ง
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มักพบแมลง เช่น ถังขยะ น้ำนิ่ง (แหล่งเพาะพันธุ์ยุง) และดอกไม้บาน
  • ใช้ยาไล่แมลงตามความจำเป็น
  • อย่าใช้น้ำหอมหรือสบู่ หรือโลชั่นที่มีกลิ่นหอมกับตัวเองหรือลูก
  • ปิดฝาถังขยะไว้อย่างมิดชิด

เหา

มีขนาดเล็ก ไม่มีปีก สีขาวอมเทา แพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานดูแลเด็กและในเด็กนักเรียน โดยผ่านทางการติดต่อส่วนตัวแบบใกล้ชิดและการใช้ของร่วมกัน

การแพร่กระจาย

โดยการสัมผัสกับแมลงหรือไข่ เหาไม่สามารถบินหรือเดินบนพื้นได้ การติดต่อแบบตัวต่อตัวเกิดขึ้นเมื่อเด็กหรือสมาชิกในครอบครัวเล่นหรือมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หรือการเก็บสิ่งของส่วนตัว เช่น หมอน ผ้าห่ม หวี เหาสามารถอยู่นอกร่างกายได้หนึ่งถึงสองวัน

จะสังเกตได้อย่างไร สัญญาณและอาการเมื่อลูกมีเหา ได้แก่

  • อาการคันรุนแรง รู้สึกจั๊กจี้บนหนังศีรษะ มีตุ่มสีแดงเล็กๆ บนหนังศีรษะ คอ หู และไหล่
  • สังเกตเห็นเหาตัวเต็มวัยบนหนังศีรษะหรือในเส้นผม เหาตัวเต็มวัยจะมีขนาด ประมาณเมล็ดงา หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย
  • มองเห็นไข่เหา (nits) บนเส้นผม ไข่เหาติดอยู่กับเส้นผม โดยเป็นสารคล้ายกาว ซึ่งทำให้ยากต่อการขจัดออก 
  • หากมีไข่เหาเพียงตัวเดียวโดยไม่มีสัญญาณของเหาตัวเต็มวัย ก็อาจไม่มีการแพร่กระจาย และไม่จำเป็นต้องทำการรักษา

การมีเหาไม่ใช่ภัยคุกคามต่อสุขภาพที่ร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็อาจกลายเป็นปัญหาซ้ำซากกับลูกได้ คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้

  • ตรวจเส้นผมของลูกเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าไข่เหาหายไปหมด
  • พบแพทย์หากมีอาการติดเชื้อหรือมีรอยถลอกที่ผิวหนังจากการเกา

ขั้นตอนกำจัดการระบาดของเหา

  • ใช้แชมพูและน้ำยาล้างที่ออกแบบมาเพื่อฆ่าเหา
  • หวีผมที่เปียก ใช้หวีเสนียดที่มีฟันละเอียดเพื่อกำจัดเหาออกจากผมที่เปียก ทำซ้ำทุก 3-4 วันเป็น เวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์ เป็นวิธีที่ได้ผลดี 
  • ล้างหวีและแปรงด้วยน้ำสบู่ที่ร้อนจัด 
  • ล้างสิ่งของที่ปนเปื้อน ซักผ้าปูที่นอน ตุ๊กตาสัตว์ เสื้อผ้า และหมวกด้วยน้ำสบู่ร้อน แล้วอบด้วยความร้อนสูงเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที
  • ทำความสะอาดบ้าน ดูดฝุ่นพื้นและเฟอร์นิเจอร์ เหาจะอยู่ได้ไม่นานหากไม่มีอาหาร
  • ห้ามใช้สิ่งของร่วมกัน ห้ามใช้หวี แปรง หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน เสื้อผ้า เช่น หมวก ผ้าพันคอ ผ้าคาดผม หรือสิ่งของต่างๆ เช่น หูฟัง

แดดเผา

ผิวของเด็กไวต่อการถูกแดดเผาเป็นพิเศษ ผิวไหม้แดดอาจเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับแสงแดดเพียง 10 – 15 นาที ผิวไหม้จากแสงแดดสามารถเกิดขึ้นได้ในวันที่มีเมฆมากหรือวันที่อากาศเย็น ไม่ใช่แสงที่มองเห็นหรือความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ทำให้ผิวไหม้ แต่เป็นแสง UV ที่มองไม่เห็น การถูกแดดเผาผิวไหม้แม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่ดีต่อสุขภาพผิว เด็กอาจเกิดตุ่มพอง มีไข้ หนาวสั่น และคลื่นไส้เมื่อโดนแสงแดด

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้

  • รักษาอาการผิวไหม้จากการถูกแดดเผาโดยประคบเย็นเบาๆ ทุกๆ สองถึงสามชั่วโมง ระวังอย่าให้ลูกรู้สึกหนาวสั่น ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์บริเวณผิวไหม้แดดเพื่อช่วยในการรักษา โลชั่นหรือเจลที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้  ให้ลูกดื่มน้ำมากๆ 
  • ให้ทานยา Tylenol เพื่อบรรเทาอาการปวดหากจำเป็น 
  • ควรทาครีมกันแดดให้ทั่วผิวที่โดนสัมผัสทั้งหมด ใช้ครีมกันแดดในวงกว้างซึ่งป้องกันรังสี UVA และ UVB อย่างน้อย 30
  • ทาซ้ำทุกสองชั่วโมงหรือบ่อยกว่านั้น หากลูกว่ายน้ำหรือเหงื่อออก อย่าลืมหลังคอ หู จมูก ริมฝีปาก และปลายเท้าด้วย

ผื่นจากไวรัส หรือผื่นสุกใส

เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อผ่านการสัมผัส พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผื่นอาจเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยจากไวรัสหลายชนิด ผื่นจากไวรัสที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ได้แก่ โรคสุกใส ทำให้เกิดจุดแดงที่คันซึ่งเต็มไปด้วยของเหลวใสอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นตุ่มพอง ผื่นเริ่มแรกจะลามไปที่ใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก และหลัง และอาจลามไปที่แขนและขา เมื่อหายแล้วก็ยัง มีจุดด่างดำเป็นเวลาหลายวัน ลูกอาจมีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และปวดศีรษะร่วมด้วย

ผื่นอีสุกอีใสจะเกิดขึ้นภายใน 10-21 วัน หลังจากที่สัมผัสเชื้อไวรัส และการติดเชื้อจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน พยายามอย่าให้ลูกเกา การเกาอาจทำให้เกิดแผลเป็นและเพิ่มความเสี่ยงที่แผลจะติดเชื้อ ตัดเล็บให้สั้น

โรคสุกใสมักเกิดในเด็ก อุบัติการณ์ของโรคสุกใสลดลงอย่างมาก นับตั้งแต่มีวัคซีนโรคอีสุกอีใส วัคซีนนี้ให้ในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปเป็น 2 โดส 

อาการที่ควรพบแพทย์ เพื่อลดความรุนแรงของโรค และรักษาภาวะแทรกซ้อน

  • ผื่นลามไปที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง หรือผื่นเริ่มอุ่น ซึ่งบ่งบอกถึงการติดเชื้อที่ผิวหนังจากแบคทีเรีย
  • มีไข้สูงกว่า 38.5 °C
  • มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ อาเจียน อาการสั่น หรือไอและหายใจลำบาก อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคปอดบวม และไข้สมองอักเสบ การฉีดวัคซีนจึงมีความสำคัญมาก

โรคหัด 

มักเริ่มต้นด้วยไข้สูง โดยมักสูงถึง 40-41.5 °C อาการแสดงอื่นๆ ไอ จาม น้ำมูกไหล เจ็บคอ ตาแดง และมีน้ำตาไหล 3-5 วันต่อมา มีผื่นแดงเป็นตุ่มปรากฏขึ้นบนใบหน้า แนวเส้นผม และหลังใบหู ลามลงมาตามคอถึงลำตัว แขน และขา ผื่นอาจเริ่มเป็นจุดเล็กๆ สีแดงที่ขยายขนาดขึ้น บางครั้งอาจเกิดจุดเล็กๆ สีขาวขึ้นที่เยื่อบุด้านในของแก้ม ผื่นมักเกิดขึ้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ โรคหัดเกิดในเด็กเป็นหลัก วัคซีนป้องกันโรคหัดสามารถลดอุบัติการณ์ของโรคได้

การดูแลจากโรคหัด

  • แยกผู้ป่วยออกจากสมาชิกคนอื่นในครอบครัวจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อของโรค สามารถให้ทานยาลดไข้ ไทลินอล  และไอบูโพรเฟนได้
  • ให้ลูกดื่มน้ำปริมาณมาก หรือสารละลายทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากการขับเหงื่อ ลดภาวะขาดน้ำ
  • คอยสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคหัด ได้แก่ การติดเชื้อที่หู หลอดลมอักเสบ หรือโรคปอดบวม ในบางกรณีที่พบไม่บ่อย คือ ไข้สมองอักเสบ

โรคหูด

เป็นตุ่มกลม หรือรูปไข่ ซึ่งอาจจางลงหรือเข้มกว่าผิวหนังที่อยู่รอบๆ บางชนิดมีจุดสีดำเล็กซึ่งเป็นหลอดเลือดขนาดเล็กที่เกาะเป็นก้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ติดต่อโดยการสัมผัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยแยกของผิวหนัง HPV มีหลายชนิด  ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย เช่น หูดทั่วไป  แต่ HPV บางชนิดทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก  หูดสามารถเกิดที่ใดก็ได้ในร่างกายของเด็ก ส่วนใหญ่เกิดที่มือหรือใกล้เล็บ เช่นเดียวกับบนใบหน้า นิ้วเท้า รอบเข่า ข้อศอก หรือบนฝ่าเท้าเรียกว่า หูดที่ฝ่าเท้า มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ เป็นเม็ดหยาบเมื่อสัมผัส มักเป็นสีเนื้อ สีขาว สีชมพู มักพบในเด็กและวัยรุ่นโดยเฉพาะเด็กที่ชอบกัดเล็บ หูดจะไม่ร้ายแรงในเด็ก ประมาณสองในสามจะหายเองโดยไม่ต้องรักษา แต่อาจต้องใช้เวลาหลายเดือนถึงหลายปีกว่าหูดจะหายไป

การรักษาโรคหูด

ควรรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โอกาสที่จะกำจัดหูดได้หมดสิ้นก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น การรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งหูด อาจรบกวนจิตใจลูกและทำให้หงุดหงิดได้ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อเอาหูดออก

สิ่งที่สามารถทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดหูด หรือลดการแพร่กระจายของหูด

  • อย่าให้ลูกกัดเล็บ หูดเกิดขึ้นบ่อยขึ้นในผิวหนังที่แตก การกัดผิวหนังรอบเล็บเป็นการเปิดประตูสู่ไวรัส
  • ล้างมือ หลังจากสัมผัสหูด หรือหลังจากสัมผัสพื้นผิวทั่วไปในที่สาธารณะ 
  • ให้ใส่รองเท้า อย่าปล่อยให้ลูกเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะและนอกบ้าน 

อย่างไรก็ตาม การหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติคือสิ่งสำคัญที่สุด หากลูกมีผื่นคันที่เป็น ๆ หาย ๆ และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค ติดตามอาการ อย่างใกล้ชิด ระมัดระวังและดูแลผิวอย่างถูกสุขอนามัยและถูกวิธี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *