เลือกอ่านหัวข้อที่น่าสนใจ
วิตามินและแร่ธาตุ มีอะไรบ้าง ? มีผลต่อร่างกายอย่างไร?
วิตามินและแร่ธาตุ เป็นไมโครนิวเทรียนซ์ หรือสารอาหารขนาดเล็กที่ร่างกายต้องการเพื่อให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายทำงาน, เติบโต, และซ่อมแซมตัวเองได้อย่างปกติแต่ร่างกายของคนเรานั้นไม่สามารถสร้างไมโครนิวเทรียนซ์ขึ้นมาเองได้ (ยกเว้นวิตามิน D เป็นข้อยกเว้น) จึงต้องรับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น เลือกอ่านตามหัวข้อ
- วิตามิน (Vitamin) คืออะไร?
- วิตามินรวม (Multi-Vitamin) คืออะไร?
- รู้หรือไม่-วิตามินมาจากไหน?
- ต้องทานวิตามินแร่ธาตุแค่ไหนถึงจะพอ?
- Q&A กินแบบไหนถึงได้รับสารอาหารเพียงพอ?
- ฉันมีอาการแบบนี้ขาดวิตามินใช่หรือไม่?
วิตามินและแร่ธาตุ คืออะไร?
วิตามิน เป็นสารออร์แกนิกที่สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบ คือวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ และวิตามินสารที่ละลายได้ในไขมัน ซึ่งวิตามินที่ละลายในไขมัน อย่างเช่น วิตามิน A, D, E และ K มักจะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ส่วนวิตามินอีกแบบ เช่น วิตามิน C, B6, B12 และโฟเลท จำเป็นต้องถูกละลายในน้ำเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซับไปใช้ได้และร่างกายไม่สามารถเก็บสำรองไว้ได้ โดยวิตามินละลายน้ำที่ไม่สามารถใช้งานได้ก็จะถูกร่างกายขจัดทิ้งผ่านทางปัสสาวะ *วิตามินทั้งสองประเภทย่อยสลายได้แล้วแต่ชนิด อาจจะโดยความร้อน, ความเป็นกรด หรือ อากาศ แร่ธาตุ เป็นองค์ประกอบอนินทรีย์ (inorganic) ที่มักพบได้ในดินและน้ำ (หรือถ้าพบในพืชหรือสัตว์ก็เพราะถูกกินหรือดูดซึมเข้าไป) เช่น แคลเซียม, โซเดียม, โพแทสเซียม, ทองแด (Copper), ไอโอดีน, และสังกะสี (Zinc) *แร่ธาตุไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
วิตามินรวม (Multi-Vitamin) คืออะไร?
โดยปกติแล้ว การที่เราทานอาหารที่หลากหลายอย่างเช่น ผัก, ผลไม้, ธัญพืช, โปรตีนในฟอร์มที่ดี, และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ (ลองดูคำแนะนำตาม Healthy Plate) ก็น่าจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนรวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุรวมด้วยอยู่แล้ว แต่หากสำหรับใครที่อาจจะไม่ได้ทานครบ “วิตามินรวม” หรืออาหารเสริมก็อาจจะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุให้ครบถ้วนครับ อ่านเพิ่มเกี่ยวกับ การบริโภควิตามินรวม (Multi-Vitamin) จำเป็นหรือไม่
รู้หรือไม่-วิตามินมาจากไหน?
วิตามิน และปริมาณที่ควรได้รับยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ตั้งแต่ที่มีการค้นพบพวกมันในช่วงปลายปี 1800 จนถึงต้น 1900 ด้วยความพยายามของทั้งนักระบาดวิทยา, แพทย์, นักเคมี, และนักสรีรวิทยา ทำให้ทุกวันนี้เรามีความเข้าใจในเรื่องแร่ธาตุและวิตามินมากขึ้น หลังจากหลายปีของการการทดลอง, และลองผิดลองถูก นักวิจัยสมัยนั้นสามารถจำแนกได้ว่าโรคบางโรคไม่ได้มาจากการติดเชื้อหรือการได้รับพิษใด ๆ ตามที่คนยุคนั้นเชื่อกัน แต่เป็นผลมาจากภาวะขาดวิตามินต่างหาก นักเคมีได้ค้นคว้าอย่างหนักเพื่อระบุโครงสร้างทางเคมีของวิตามินเพื่อทำการลอกเลียนหรือสังเคราะห์วิตามินขึ้นมาเอง ซึ่งหลังจากนั้น นักวิจัยก็สามารถระบุปริมาณเจาะจงของวิตามินที่ร่างกายต้องได้รับเพื่อป้องกันโรคภัยที่มาจากการขาดวิตามินในที่สุด ในปี 1912 นักชีวเคมี Casimir Funk เป็นคนแรกที่ได้ใช้คำว่า “วิตามิน” ในรายงานวิจัย และได้รับการยอมรับกันไปทั่วชุมชนทางการแพทย์ โดยคำว่า “วิตา” หรือ “vita” หมายถึง “ชีวิต” และ “อะมีน” หรือ “amine” หมายถึง “สารประกอบไนโตรเจนที่จำเป็นต่อชีวิต” และ Funk ก็ได้กลายเป็น บิดาแห่งการรักษาด้วยวิตามิน เพราะเป็นผู้ที่สามารถระบุองค์ประกอบทางโภชนาการที่ขาดหายไปในโรคที่เกิดจากภาวะการขาดวิตามิน อย่างโรคลักปิดลักเปิด-Scurvy (วิตามิน C น้อยไป), โรคเหน็บชา-Beri-Beri (วิตามิน B1 น้อยเกินไป), โรคเพลเลกรา-Pellagra (วิตามิน B3 Niacin น้อยไป), และโรคกระดูกอ่อน-Rickets (วิตามิน D น้อยไป) แรกเริ่ม คนเราได้รับวิตามินจากการกินอาหารเท่านั้น จนมาถึงช่วงปี 1930 อาหารเสริมวิตามินตัวแรกก็ได้วางจำหน่ายครั้งแรกใน US และรัฐบาลในหลายประเทศก็เริ่มส่งเสริมให้มีการเสริมคุณค่าทางโภชนาการในอาหารขึ้น (Fortified food) เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหารที่ตอนนั้นพบเห็นได้ทั่วไป เช่นการเติมไอโอดีนในเกลือ เพื่อป้องกันโรคคอหอยพอก-Goiter เติมกรดโฟลิกกับผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีเพื่อลดโอกาสพิการของทารกในครรภ์ เป็นต้น จนมาถึงปี 1950 วิตามินกับวิตามินรวมส่วนมากเริ่มมีการวางขายกันทั่วไป บางตัวก็ได้ถูกโฆษณามากมายตามนิตยสาร อย่างน้ำมันตับปลาที่ประกอบด้วยวิตามิน D บรรจุอยู่ในขวดโหลแก้วระยิบระยับ เป็นต้น
วิตามินและแร่ธาตุแปริมาณค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อร่างกาย?
ผลจากการวิจัยและพัฒนาถูกต่อยอดมาถึงปัจจุบัน ออกมาเป็นข้อแนะนำผู้บริโภคในรูปแบบของปริมาณแนะนำที่ควรบริโภคต่อวันเพื่อกันไม่ให้บริโภคสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้น้อยหรือมากเกินไป ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันตามลักษณะประชากร (Demographic) และความเชื่อในงานวิจัยที่ใช้อ้างอิง มาตรฐานปริมาณแนะนำที่นิยมใช้ในโลก 1. DRI (Daily Reference Intakes) มีต้นกำเนิดในอเมริกา, ปัจจุบันเป็นมาตรฐานที่นิยมที่สุดในโลก ประเทศที่ใช้รวมไปถึงญี่ปุ่น และ ไทยเราด้วย 2. DRV (Dietary Reference Values) สำหรับในสหราชอาณาจักร (United Kingdom) และสหภาพยุโรป (European Union) มีลักษณะคล้ายกันแต่ชื่อเรียกและมาตรฐานบางอย่างต่างกัน โดยหน่วยงานที่ดูแลในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปแต่ส่วนมากก็จะกำกับโดยหน่วยงานของรัฐบาล เช่น ในประเทศไทยเราจัดทำ Dietary Reference Intake for Thais 2020 (RDI for Thais-พ.ศ.2563) กำกับโดยกระทรวงสาธารณสุข, ในสหรัฐอเมริกาก็กำกับโดย Food and Drug Administration (FDA) ภายใต้ U.S. Department of Agriculture, หรือที่ประเทศญี่ปุ่นก็กำกับโดย Ministry of Health, Labour and Welfare เป็นต้น สำหรับ DRI จะมีการอัพเดตข้อมูลตามงานวิจัยใหม่ทุก 4 ปี โดยศัพท์สำคัญที่ควรทราบ คือ RDA *RDA (Recommended Daily Allowance) หรือปริมาณบริโภคสารอาหารสำคัญที่แนะนำแบ่งตามเพศ อายุ และสถานะ (เช่น กำลังตั้งครรภ์) โดยกำหนดว่าถ้าประชากรบริโภคตามนี้ 97.5% ก็จะสามารถป้องกันโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารนั้นๆ ได้ เช่น ในประเศไทยปริมาณวิตามินซีที่แนะนำสำหรับเด็กชายอายุ 4-5 ปี คือ 30 mg, สำหรับผู้ชายอายุ 16 ปีขึ้นไป คือ 100 mg เป็นต้น
Q&A กินแบบไหนถึงได้รับสารอาหารเพียงพอ?
กินตามฉลาก (ข้อมูลโภชนาการ-Nutrition Facts) จบใช่มั้ย? สำหรับปริมาณ %RDI (Recommended Daily Intake) หรือ %DV (Daily Value) ที่อยู่ในข้อมูลโภชนาการหลังบรรจุภัณฑ์สามารถใช้เป็นแนวทางได้ แต่ไม่สามารถอ้างอิงได้ทั้งหมด เนื่องจากค่าดังกล่าวมาจากค่ามาตรฐานประชากร และอ้างอิงการใช้พลังงานที่ 2,000 แคลลอรี่ต่อวัน ตัวอย่างปริมาณวิตามินซีแนะนำ
- RDI ในฉลาก แนะนำ 60 mg
- RDA เด็กชายอายุ 4-5 ปี แนะนำ 30 mg
- RDA ผู้ชายอายุ 16 ปีขึ้นไป แนะนำ 100 mg
*บางผลิตภัณฑ์ไม่มีข้อมูลโภชนาการเป็นเพราะไม่ได้ลงทะเบียนส่งตรวจสอบ กินตาม RDA ตามเพศและช่วงวัย คือจบใช่มั้ย? ต้องบอกว่าปัจจุบันระบบ DRI เน้นว่าทานเท่าไรไม่เป็นโรค (RDA 97.5%) และ ทานมากเท่าไรถึงเป็นพิษ (Upper limit-UL) อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายปัจจัยที่ยังไม่แน่นอน เช่น
- การหลีกเหลี่ยงโรคภัยที่เกิด ไม่ได้แปลว่าเพียงพอที่ร่างกายจะใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ เช่น อาการอ่อนเพลีย อาจจะเกิดจากสารอาหารบางประเภทไม่พอ แต่ไม่ถึงกับเป็นโรค กรณีนี้ไม่ถูกระบุใน RDA
- สารอาหารหลายรายการไม่มีค่า RDA เพราะข้อมูลไม่พอ (อาจจะมีเป็น AI-Adequate Intake) แทน หรือ ไม่มีเลย
- หลายสารอาหารก็ยังไม่ถูกค้นพบหรือบรรจุลงไป
- RDA ของแต่ละประเทศไม่เท่ากันแล้วแต่ตัวอย่างขอ้มูลที่เก็บมาและงานวิจัยที่แต่ละประเทศเลือกใช้ (เลือกเชื่อ)
- คุณพิเศษ! ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ทุกคนไม่มีใครเหมือนกันแม้จะอายุ เพศ เชื้อชาติเหมือนกัน DNA ของเราก็ยังสร้างเราให้ต่างกัน ดังนั้นปริมาณสารอาหารที่ใช้, การดูดซึมก็ต่างกันด้วย
สรุป ข้อมูลอาจจะดูเยอะจนเรารู้สึกสับสน แต่ความเป็นจริงการกินให้สุขภาพดีนั้นง่ายมาก เราแนะนำให้คุณเก็บมันเป็นส่วนหนึ่งของความรู้และคลายความวิตกลง โฟกัสไปที่การกินให้ครบและได้สุขภาพตามแบบ Healthy Plate ครับ 5 ข้อนี้ครับ
- ผัก-ผลไม้ 50% เน้นสีสันที่หลากหลาย
- โปรตีน 25% หลีกเลี่ยงเนื้อแดง
- คาร์โบไฮเดรต 25% เน้นธัญหาร
- ไขมัน มีประโยชน์ไม่อิ่มตัว เน้นไขมันพืช
- น้ำ หลีกเลี่ยงน้ำตาล
อ่านเพิ่มเกี่ยวกับ Healthy Plate จัดเวลาออกกำลังกาย พักผ่อนเพียงพอ มุ่งไปหาเป้าหมายที่สดใส รับรองร่างกายแข็งแรงดี มีความสุขแน่นอนครับ 🙂
ตัวอย่างอาการที่อาจจะพบจากการขาดวิตามิน หรือ แร่ธาตุ เมื่อได้รับน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำมีดังนี้
อาการหรือสัญญาณ | สารอาหารที่อาจขาด | สาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ |
---|---|---|
ลักษณะและอาการทั่วไป | ||
เหนื่อยล้า | โปรตีน-พลังงาน, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามิน B1, B12 และ วิตามิน B กับ C | โรคทางร่างกายหลายโรคตั้งแต่โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์, หัวใจล้มเหลว, โลหิตจาง, อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง, และซึมเศร้า |
ไม่อยากอาหาร | สังกะสี | โรคเรื้อรังหลายโรค |
เกิดความหยากกินสิ่งที่ไม่มีสารอาหาร | ภาวะทุพโภชนาการทั่วไป และอาจขาดธาตุเหล็ก, แคลเซียม, สังกะสี, วิตามิน B1 – ไทอามีน, B3 – นิอาซิน, C, และ D | ปกติในทารกที่อายุต่ำกว่า 2 ปี, การตั้งครรภ์ โดยเฉพาะที่อายุยังน้อย, โรคทางจิต |
ไม่รับรสชาติ | สังกะสี | หวัดทั่วไป, ความผิดปกติในโพรงจมูกหลายโรค |
แพ้ความหนาวเย็น | ธาตุเหล็ก | โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์, โลหิตจาง, และการสูบฉีดของหลอดเลือดหัวใจลดลง |
ผิวซีดจากโลหิตจาง | ธาตุเหล็ก, โฟเลต, และวิตามิน B12 | เลือดออกมากเกิน และความผิดปกติทางโลหิตวิทยา |
ผิวเหลือง สังเกตได้ชัดที่ใบหน้าและลำตัว | โปรตีน-พลังงาน และสังกะสี | การได้รับแคโรทีนอยด์มากเกินจากอาหาร โดยเฉพาะในผู้หญิง, โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ |
มีผิวสีดำกระจายตามตัว | โปรตีน-พลังงาน | โรคแอดดิสัน และภาวะเหล็กเกิน |
สูญเสียกล้ามเนื้อ หรือเสื้อผ้าที่ใส่ประจำเริ่มหลวม | โปรตีน-พลังงาน | |
ความสูงลดลง หรือกระดูกสันหลังโก่งคุ้มมากขึ้น | แคลเซียม และวิตามิน D | อายุที่เพิ่มขึ้น และโรคที่เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน |
ผิวหนัง | ||
คันตามผิวหนัง | ธาตุเหล็ก | โรคผิวหนังหลายโรค, โรคตับ |
ผิวแห้ง | กรดไขมันที่จำเป็น หรือภาวะขาดสารอาหารหลายอย่าง | ชราภาพ, ภาวะทางผิวหนัง เช่นโรคผิวหนังอักเสบ |
เกิดปื้น/ผื่นแดงขึ้น ณ บริเวณที่ถูกแดด | วิตามิน B3 | ถูกแสงแดดมากเกินสำหรับผู้ที่มีผิวขาว/ผมสีแดง |
ฟกช้ำนาน | วิตามิน C | ชราภาพ, อาการบาดเจ็บฟกช้ำ, และภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับเลือด |
ตกเลือด หรือมีจุดแดงตามรูขุมขน | วิตามิน C | |
มีเลือดออกตามข้อ หรือบริเวณที่ผิดปกติ | วิตามิน C | ภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับเลือดหลายอย่าง |
รูขุมขนอุดตันด้วยเคราตินหรือขนคุด | วิตามิน C | |
มีขนอ่อนบนหน้าท้อง | โปรตีน-พลังงาน เป็นอาการทั่วไปของโรคอะนอเร็กเซีย | |
Mouth | ||
แจ็บลิ้น | ธาตุเหล็ก, วิตามิน B12, B2, B3 และอาจขาดวิตามิน B อื่น ๆ ด้วย | การดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ มากไป และโรคในช่องปาก |
ริมฝีปากแห้งแตก | วิตามิน B2 – riboflavin | สัมผัสกับความเย็นมากเกิน |
มุมปากแตก | ธาตุเหล็ก, วิตามิน B12, โฟเลต, และอาจขาดวิตามิน B อื่น ๆ ด้วย | ฟันปลอมที่ไม่เข้าที่, การติดเชื้อรา candida albicans ที่ผิวหนัง |
เป็นแผลในปากบ่อยครั้ง | ธาตุเหล็ก, วิตามิน B12, โฟเลต, และอาจขาดวิตามิน B อื่น ๆ ด้วย | โรคซีลิแอ็ก, โรคโครห์น, โรคเริมแบบซ้ำซาก, และโรคในช่องปาก |
เส้นเลือดดำใต้ลิ้นขยายใหญ่ขึ้น | วิตามิน C | การสูบบุหรี่และความชราภาพ |
ลิ้นอักเสบแบบที่ทำให้ลิ้นมีผิวเรียบ สีสว่างขึ้น และมีอาการเจ็บ | ธาตุเหล็ก, วิตามิน B12,และโฟเลต | |
ศีรษะ, ใบหน้า, และลำคอ | ||
ผมร่วง | ธาตุเหล็ก | โรคที่หนังศีรษะ, โรคผมร่วงเป็นหย่อมจากสาเหตุอื่น |
รังแค | กรดไขมันที่จำเป็น และไบโอติน | การติดเชื้อราที่หนังศีรษะ |
ด้านข้างจมูกแดง | วิตามิน B2 –riboflavin, วิตามิน B6 และสังกะสี | ต่อมไขมันอักเสบ |
ตาแดงหรือแห้งแตก | วิตามิน B2 หรือ B6 | |
คอพอก | อาจเป็นเพราะขาดไอโอดีนถ้าเกิดประชากรที่อยู่อาศัยในพื้นที่ >20% เป็นคอพอก – เรียกได้ว่าโรคคอพอกประจำถิ่น | การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์, การตั้งครรภ์, และโรคไทรอยด์ได้หลายรูปแบบ |
มือและเล็บ | ||
เล็บเปราะและลอก | ธาตุเหล็ก และอาจขาดกรดไขมันที่จำเป็น | การไหลเวียนเลือดที่ไม่ดีและความชราภาพ |
เล็บงุ้มหรือเว้าเป็นรูปช้อน | ธาตุเหล็ก | โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคอื่น ๆ ที่เนื้อเยื่อรองเล็บ |
ผิวหนังฝ่ามือเหลือง | โปรตีน-พลังงาน และสังกะสี | การได้รับแคโรทีนอยด์มากเกินจากอาหาร โดยเฉพาะในผู้หญิง, โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ |
กล้ามเนื้อและกระดูก | ||
ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ | แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, โซเดียม, วิตามิน B1 และวิตามิน D ถ้าเป็นโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ | โรคกล้ามเนื้อหรือระบบประสาท, โรคไขข้ออักเสบ, และภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ |
ปวดกล้ามเนื้อน่องขาหลังจากออกกำลังกายเล็กน้อย | วิตามิน B1- ไทอามีน | กล้ามเนื้อฉีกขาด, โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน, และภาวะ myopathy |
กดเจ็บกล้ามเนื้อน่อง | วิตามิน B1- ไทอามีน | กล้ามเนื้อฉีกขาด, ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน |
เดินแบบเตอะแตะ | วิตามิน D และ resultant myopathy | ข้อเสื่อมของสะโพก หรือโรคของกล้ามเนื้อโอบสะโพก |
ลุกขึ้นจากเก้าอี้เตี้ย ๆ หรือเดินขึ้นบันไดลำบาก หรือรู้สึกกล้ามเนื้อไหล่อ่อนแรง | วิตามิน D และ resultant myopathy | ข้ออักเสบของสะโพกหรือข้อเข่า, โรคของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ |
ขากาง | วิตามิน D – เคยเป็นโรคกระดูกอ่อนตอนเด็ก | โรคพาเจท และซิฟิลิส |
กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกเมื่อแตะบนเส้นประสาทใบหน้าที่อยู่หน้าใบหู (Chvostek’s sign) | แคลเซียม และวิตามิน D ถ้ามีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือขาดแมกนีเซียมรุนแรง | ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำจากสาเหตุอื่น ๆ เช่นจากโรคพาราไทรอยด์ต่ำ |
ดวงตา | ||
การมองเห็นตอนกลางคืนไม่ดี | สังกะสี, วิตามิน A และอาจขาดวิตามิน B2 – riboflavin | โรคจอตา |
เยื่อบุตาแห้ง | วิตามิน A | ความชราภาพ และโรคโซเกร็น |
ทางเดินอาหาร | ||
ท้องร่วง | วิตามิน B3 | โรคลำไส้แปรปรวน, ทุพโภชนาการ, ท้องร่วงจากการติดเชื้อ, และสาเหตุอื่น ๆ |
ท้องผูก | ขาดน้ำ, ขาดใยอาหาร, โพแทสเซียม, แมกนีเซียม, และโฟเลต | โรคลำไส้แปรปรวน, โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ, มะเร็งลำไส้ใหญ่ |
ระบบประสาท | ||
ขาอยู่ไม่สุข | ธาตุเหล็ก หรือโฟเลต | ภาวะผิดปกติทางประสาทหลายอย่าง, การตั้งครรภ์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, และไตวาย |
รู้สึกร้อนที่เท้า | วิตามิน B2 –riboflavin | ปลายประสาทอักเสบระยะต้น |
เสียสมดุลเมื่อยืนตรง ๆ เท้าชิดกัน และปิดตา (Romberg’s test) | วิตามิน B12 และอาจขาดวิตามิน B3 | โรคทางระบบประสาทหลายอย่างที่ส่งผลกับซีลีบรัม, ไขสันหลัง, หรือปลายประสาท |
สูญเสียความรู้สึกสั่นที่ขาช่วงล่าง | วิตามิน B12 และอาจขาดวิตามิน B3 | อายุที่เพิ่มขึ้น และโรคปลายประสาทอักเสบ |
ปลายประสาทอักเสบ – ชา, เหน็บ, เจ็บปวดและ/หรืออ่อนแรงที่มือหรือเท้า | วิตามิน B1, B12 และอาจจะขาด B3, B6 กับโฟเลต และที่หายากคือธาตุทองแดง (จากการผ่าตัดทางเดินอาหาร หรือการได้รับสังกะสีมากเกินไป) ขาดแคลนกรดไขมันที่จำเป็น | เบาหวานและสาเหตุอื่น ๆ |
เดินหรือเคลื่อนไหวไม่มั่นคง (cerebellar ataxia) | วิตามิน B1, E, และ โคเอนไซม์ Q10 | แอลกอฮอล์, ภาวะไทรอยด์ต่ำ, และภาวะผิดปกติทางประสาทและทางพันธุกรรม |
สภาพทางจิต | ||
ซึมเศร้า | วิตามิน C, B1, B3, B6, B12, โฟเลต, ไบโอติน, และกรดไขมันที่จำเป็นอื่น ๆ | โรคทางจิต, ความเครียด, และผลจากโรคทางร่างกาย |
หงุดหงิด | โฟเลต | โรคติดแอลกอฮอล์, ภาวะซึมเศร้า, และบุคลิกภาพผิดปกติ |
มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ | ธาตุเหล็ก, วิตามิน B1, B12, โฟเลต และกรดไขมันที่จำเป็นอื่น ๆ | ภาวะซึมเศร้า, ความเครียด, นอนหลับไม่เพียงพอ, สมองเสื่อม, โลหิตจาง, ภาวะไทรอยด์ต่ำ, และอีกหลาย ๆ โรค |
หลอดเลือดหัวใจ | ||
หัวใจล้มเหลว | วิตามิน B1 – ไทอามีนและภาวะขาดต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง | โรคลิ้นหัวใจ, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, และหลอดเลือดหัวใจ |
ใจสั่น | โพแทสเซียม และแมกนีเซียม และภาวะขาดต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง | โรคลิ้นหัวใจ, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, และหลอดเลือดหัวใจ |
ผลจากการวิจัยและพัฒนาถูกต่อยอดมาถึงปัจจุบัน ออกมาเป็นข้อแนะนำผู้บริโภคในรูปแบบของปริมาณแนะนำที่ควรบริโภคต่อวัน หรือ RDI (Recommended Daily Intake) เพื่อกันไม่ให้บริโภคสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้น้อยหรือมากเกินไป ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันตามความเชื่อในงานวิจัยที่ใช้อ้างอิงReference
- Dietary Reference Intakes for Calcium, Phosphorous, Magnesium, Vitamin D, and Fluoride (1997); Dietary Reference Intakes for Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B12, Pantothenic Acid, Biotin, and Choline (1998); Dietary Reference Intakes for Vitamin C, Vitamin E, Selenium, and Carotenoids (2000); Dietary Reference Intakes for Vitamin A, Vitamin K, Arsenic, Boron, Chromium, Copper, Iodine, Iron, Manganese, Molybdenum, Nickel, Silicon, Vanadium, and Zinc (2001); and Dietary Reference Intakes for Calcium and Vitamin D (2011). These reports may be accessed via www.nap.edu.
- Semba RD. The discovery of the vitamins. Int J Vitam Nutr Res. 2012 Oct 1;82[5]:310-5.
- Piro A, Tagarelli G, Lagonia P, Tagarelli A, Quattrone A. Casimir Funk: his discovery of the vitamins and their deficiency disorders. Ann Nutr Metab. 2010;57[3]:85-8.
- Dietary Reference Intakes for Japanese (2010), Ministry of Health, Labour and Welfare
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่182) พ.ศ.2541
- Deficiency Symptoms and Signs, Dr.Alan Stewart
- HARVARD T.H. CHAN, School of Public Health