วิตามินและแร่ธาตุ มีอะไรบ้าง ?

วิตามินและแร่ธาตุ

วิตามินและแร่ธาตุ มีอะไรบ้าง ? มีผลต่อร่างกายอย่างไร?

วิตามินและแร่ธาตุ เป็นไมโครนิวเทรียนซ์ หรือสารอาหารขนาดเล็กที่ร่างกายต้องการเพื่อให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายทำงาน, เติบโต, และซ่อมแซมตัวเองได้อย่างปกติแต่ร่างกายของคนเรานั้นไม่สามารถสร้างไมโครนิวเทรียนซ์ขึ้นมาเองได้ (ยกเว้นวิตามิน D เป็นข้อยกเว้น) จึงต้องรับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น เลือกอ่านตามหัวข้อ

วิตามินและแร่ธาตุ คืออะไร?

วิตามิน เป็นสารออร์แกนิกที่สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบ คือวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ และวิตามินสารที่ละลายได้ในไขมัน ซึ่งวิตามินที่ละลายในไขมัน อย่างเช่น วิตามิน A, D, E และ K มักจะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ส่วนวิตามินอีกแบบ เช่น วิตามิน C, B6, B12 และโฟเลท จำเป็นต้องถูกละลายในน้ำเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซับไปใช้ได้และร่างกายไม่สามารถเก็บสำรองไว้ได้ โดยวิตามินละลายน้ำที่ไม่สามารถใช้งานได้ก็จะถูกร่างกายขจัดทิ้งผ่านทางปัสสาวะ *วิตามินทั้งสองประเภทย่อยสลายได้แล้วแต่ชนิด อาจจะโดยความร้อน, ความเป็นกรด หรือ อากาศ แร่ธาตุ เป็นองค์ประกอบอนินทรีย์ (inorganic) ที่มักพบได้ในดินและน้ำ (หรือถ้าพบในพืชหรือสัตว์ก็เพราะถูกกินหรือดูดซึมเข้าไป) เช่น แคลเซียม, โซเดียม, โพแทสเซียม, ทองแด (Copper), ไอโอดีน, และสังกะสี (Zinc) *แร่ธาตุไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

วิตามินรวม (Multi-Vitamin) คืออะไร?

โดยปกติแล้ว การที่เราทานอาหารที่หลากหลายอย่างเช่น ผัก, ผลไม้, ธัญพืช, โปรตีนในฟอร์มที่ดี, และไขมันที่ดีต่อสุขภาพ (ลองดูคำแนะนำตาม Healthy Plate) ก็น่าจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนรวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุรวมด้วยอยู่แล้ว แต่หากสำหรับใครที่อาจจะไม่ได้ทานครบ “วิตามินรวม” หรืออาหารเสริมก็อาจจะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุให้ครบถ้วนครับ อ่านเพิ่มเกี่ยวกับ การบริโภควิตามินรวม (Multi-Vitamin) จำเป็นหรือไม่

รู้หรือไม่-วิตามินมาจากไหน?

วิตามิน และปริมาณที่ควรได้รับยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ตั้งแต่ที่มีการค้นพบพวกมันในช่วงปลายปี 1800 จนถึงต้น 1900 ด้วยความพยายามของทั้งนักระบาดวิทยา, แพทย์, นักเคมี, และนักสรีรวิทยา ทำให้ทุกวันนี้เรามีความเข้าใจในเรื่องแร่ธาตุและวิตามินมากขึ้น  หลังจากหลายปีของการการทดลอง, และลองผิดลองถูก นักวิจัยสมัยนั้นสามารถจำแนกได้ว่าโรคบางโรคไม่ได้มาจากการติดเชื้อหรือการได้รับพิษใด ๆ ตามที่คนยุคนั้นเชื่อกัน แต่เป็นผลมาจากภาวะขาดวิตามินต่างหาก นักเคมีได้ค้นคว้าอย่างหนักเพื่อระบุโครงสร้างทางเคมีของวิตามินเพื่อทำการลอกเลียนหรือสังเคราะห์วิตามินขึ้นมาเอง ซึ่งหลังจากนั้น นักวิจัยก็สามารถระบุปริมาณเจาะจงของวิตามินที่ร่างกายต้องได้รับเพื่อป้องกันโรคภัยที่มาจากการขาดวิตามินในที่สุด ในปี 1912 นักชีวเคมี Casimir Funk เป็นคนแรกที่ได้ใช้คำว่า  “วิตามิน” ในรายงานวิจัย และได้รับการยอมรับกันไปทั่วชุมชนทางการแพทย์ โดยคำว่า “วิตา” หรือ “vita” หมายถึง “ชีวิต” และ “อะมีน” หรือ “amine” หมายถึง “สารประกอบไนโตรเจนที่จำเป็นต่อชีวิต” และ Funk ก็ได้กลายเป็น บิดาแห่งการรักษาด้วยวิตามิน เพราะเป็นผู้ที่สามารถระบุองค์ประกอบทางโภชนาการที่ขาดหายไปในโรคที่เกิดจากภาวะการขาดวิตามิน อย่างโรคลักปิดลักเปิด-Scurvy (วิตามิน C น้อยไป), โรคเหน็บชา-Beri-Beri (วิตามิน B1 น้อยเกินไป), โรคเพลเลกรา-Pellagra (วิตามิน B3 Niacin น้อยไป), และโรคกระดูกอ่อน-Rickets (วิตามิน D น้อยไป) แรกเริ่ม คนเราได้รับวิตามินจากการกินอาหารเท่านั้น จนมาถึงช่วงปี 1930 อาหารเสริมวิตามินตัวแรกก็ได้วางจำหน่ายครั้งแรกใน US และรัฐบาลในหลายประเทศก็เริ่มส่งเสริมให้มีการเสริมคุณค่าทางโภชนาการในอาหารขึ้น (Fortified food) เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหารที่ตอนนั้นพบเห็นได้ทั่วไป เช่นการเติมไอโอดีนในเกลือ เพื่อป้องกันโรคคอหอยพอก-Goiter เติมกรดโฟลิกกับผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีเพื่อลดโอกาสพิการของทารกในครรภ์ เป็นต้น  จนมาถึงปี 1950 วิตามินกับวิตามินรวมส่วนมากเริ่มมีการวางขายกันทั่วไป บางตัวก็ได้ถูกโฆษณามากมายตามนิตยสาร อย่างน้ำมันตับปลาที่ประกอบด้วยวิตามิน D บรรจุอยู่ในขวดโหลแก้วระยิบระยับ เป็นต้น

วิตามินและแร่ธาตุแปริมาณค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อร่างกาย?

ผลจากการวิจัยและพัฒนาถูกต่อยอดมาถึงปัจจุบัน ออกมาเป็นข้อแนะนำผู้บริโภคในรูปแบบของปริมาณแนะนำที่ควรบริโภคต่อวันเพื่อกันไม่ให้บริโภคสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้น้อยหรือมากเกินไป ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันตามลักษณะประชากร (Demographic) และความเชื่อในงานวิจัยที่ใช้อ้างอิง มาตรฐานปริมาณแนะนำที่นิยมใช้ในโลก 1. DRI (Daily Reference Intakes) มีต้นกำเนิดในอเมริกา, ปัจจุบันเป็นมาตรฐานที่นิยมที่สุดในโลก ประเทศที่ใช้รวมไปถึงญี่ปุ่น และ ไทยเราด้วย 2. DRV (Dietary Reference Values) สำหรับในสหราชอาณาจักร (United Kingdom) และสหภาพยุโรป (European Union) มีลักษณะคล้ายกันแต่ชื่อเรียกและมาตรฐานบางอย่างต่างกัน โดยหน่วยงานที่ดูแลในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปแต่ส่วนมากก็จะกำกับโดยหน่วยงานของรัฐบาล เช่น ในประเทศไทยเราจัดทำ Dietary Reference Intake for Thais 2020 (RDI for Thais-พ.ศ.2563) กำกับโดยกระทรวงสาธารณสุข, ในสหรัฐอเมริกาก็กำกับโดย Food and Drug Administration (FDA) ภายใต้ U.S. Department of Agriculture, หรือที่ประเทศญี่ปุ่นก็กำกับโดย Ministry of Health, Labour and Welfare เป็นต้น สำหรับ DRI จะมีการอัพเดตข้อมูลตามงานวิจัยใหม่ทุก 4 ปี โดยศัพท์สำคัญที่ควรทราบ คือ RDA *RDA (Recommended Daily Allowance) หรือปริมาณบริโภคสารอาหารสำคัญที่แนะนำแบ่งตามเพศ อายุ และสถานะ (เช่น กำลังตั้งครรภ์) โดยกำหนดว่าถ้าประชากรบริโภคตามนี้ 97.5% ก็จะสามารถป้องกันโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหารนั้นๆ ได้ เช่น ในประเศไทยปริมาณวิตามินซีที่แนะนำสำหรับเด็กชายอายุ 4-5 ปี คือ 30 mg, สำหรับผู้ชายอายุ 16 ปีขึ้นไป คือ 100 mg เป็นต้น

Q&A กินแบบไหนถึงได้รับสารอาหารเพียงพอ?

กินตามฉลาก (ข้อมูลโภชนาการ-Nutrition Facts) จบใช่มั้ย? สำหรับปริมาณ %RDI (Recommended Daily Intake) หรือ %DV (Daily Value) ที่อยู่ในข้อมูลโภชนาการหลังบรรจุภัณฑ์สามารถใช้เป็นแนวทางได้ แต่ไม่สามารถอ้างอิงได้ทั้งหมด เนื่องจากค่าดังกล่าวมาจากค่ามาตรฐานประชากร และอ้างอิงการใช้พลังงานที่ 2,000 แคลลอรี่ต่อวัน ตัวอย่างปริมาณวิตามินซีแนะนำ

  • RDI ในฉลาก แนะนำ 60 mg
  • RDA เด็กชายอายุ 4-5 ปี แนะนำ 30 mg
  • RDA ผู้ชายอายุ 16 ปีขึ้นไป แนะนำ 100 mg

*บางผลิตภัณฑ์ไม่มีข้อมูลโภชนาการเป็นเพราะไม่ได้ลงทะเบียนส่งตรวจสอบ กินตาม RDA ตามเพศและช่วงวัย คือจบใช่มั้ย? ต้องบอกว่าปัจจุบันระบบ DRI เน้นว่าทานเท่าไรไม่เป็นโรค (RDA 97.5%) และ ทานมากเท่าไรถึงเป็นพิษ (Upper limit-UL) อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายปัจจัยที่ยังไม่แน่นอน เช่น

  • การหลีกเหลี่ยงโรคภัยที่เกิด ไม่ได้แปลว่าเพียงพอที่ร่างกายจะใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ เช่น อาการอ่อนเพลีย อาจจะเกิดจากสารอาหารบางประเภทไม่พอ แต่ไม่ถึงกับเป็นโรค กรณีนี้ไม่ถูกระบุใน RDA
  • สารอาหารหลายรายการไม่มีค่า RDA เพราะข้อมูลไม่พอ (อาจจะมีเป็น AI-Adequate Intake) แทน หรือ ไม่มีเลย
  • หลายสารอาหารก็ยังไม่ถูกค้นพบหรือบรรจุลงไป
  • RDA ของแต่ละประเทศไม่เท่ากันแล้วแต่ตัวอย่างขอ้มูลที่เก็บมาและงานวิจัยที่แต่ละประเทศเลือกใช้ (เลือกเชื่อ)
  • คุณพิเศษ! ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ทุกคนไม่มีใครเหมือนกันแม้จะอายุ เพศ เชื้อชาติเหมือนกัน DNA ของเราก็ยังสร้างเราให้ต่างกัน ดังนั้นปริมาณสารอาหารที่ใช้, การดูดซึมก็ต่างกันด้วย

สรุป ข้อมูลอาจจะดูเยอะจนเรารู้สึกสับสน แต่ความเป็นจริงการกินให้สุขภาพดีนั้นง่ายมาก เราแนะนำให้คุณเก็บมันเป็นส่วนหนึ่งของความรู้และคลายความวิตกลง โฟกัสไปที่การกินให้ครบและได้สุขภาพตามแบบ Healthy Plate ครับ 5 ข้อนี้ครับ

  • ผัก-ผลไม้ 50% เน้นสีสันที่หลากหลาย
  • โปรตีน 25% หลีกเลี่ยงเนื้อแดง
  • คาร์โบไฮเดรต 25% เน้นธัญหาร
  • ไขมัน มีประโยชน์ไม่อิ่มตัว เน้นไขมันพืช
  • น้ำ หลีกเลี่ยงน้ำตาล

อ่านเพิ่มเกี่ยวกับ Healthy Plate จัดเวลาออกกำลังกาย พักผ่อนเพียงพอ มุ่งไปหาเป้าหมายที่สดใส รับรองร่างกายแข็งแรงดี มีความสุขแน่นอนครับ 🙂

ตัวอย่างอาการที่อาจจะพบจากการขาดวิตามิน หรือ แร่ธาตุ เมื่อได้รับน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำมีดังนี้

อาการหรือสัญญาณสารอาหารที่อาจขาดสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ
ลักษณะและอาการทั่วไป
เหนื่อยล้าโปรตีน-พลังงาน, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามิน B1, B12 และ วิตามิน B กับ Cโรคทางร่างกายหลายโรคตั้งแต่โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์, หัวใจล้มเหลว, โลหิตจาง, อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง, และซึมเศร้า
ไม่อยากอาหารสังกะสีโรคเรื้อรังหลายโรค
เกิดความหยากกินสิ่งที่ไม่มีสารอาหารภาวะทุพโภชนาการทั่วไป และอาจขาดธาตุเหล็ก, แคลเซียม, สังกะสี, วิตามิน B1 – ไทอามีน, B3 – นิอาซิน, C, และ Dปกติในทารกที่อายุต่ำกว่า 2 ปี, การตั้งครรภ์ โดยเฉพาะที่อายุยังน้อย, โรคทางจิต
ไม่รับรสชาติสังกะสีหวัดทั่วไป, ความผิดปกติในโพรงจมูกหลายโรค
แพ้ความหนาวเย็นธาตุเหล็กโรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์, โลหิตจาง, และการสูบฉีดของหลอดเลือดหัวใจลดลง
ผิวซีดจากโลหิตจางธาตุเหล็ก, โฟเลต, และวิตามิน B12เลือดออกมากเกิน และความผิดปกติทางโลหิตวิทยา
ผิวเหลือง สังเกตได้ชัดที่ใบหน้าและลำตัวโปรตีน-พลังงาน และสังกะสีการได้รับแคโรทีนอยด์มากเกินจากอาหาร โดยเฉพาะในผู้หญิง, โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
มีผิวสีดำกระจายตามตัวโปรตีน-พลังงานโรคแอดดิสัน และภาวะเหล็กเกิน
สูญเสียกล้ามเนื้อ หรือเสื้อผ้าที่ใส่ประจำเริ่มหลวมโปรตีน-พลังงาน
ความสูงลดลง หรือกระดูกสันหลังโก่งคุ้มมากขึ้นแคลเซียม และวิตามิน Dอายุที่เพิ่มขึ้น และโรคที่เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน
ผิวหนัง
คันตามผิวหนังธาตุเหล็กโรคผิวหนังหลายโรค, โรคตับ
ผิวแห้งกรดไขมันที่จำเป็น หรือภาวะขาดสารอาหารหลายอย่างชราภาพ, ภาวะทางผิวหนัง เช่นโรคผิวหนังอักเสบ
เกิดปื้น/ผื่นแดงขึ้น ณ บริเวณที่ถูกแดดวิตามิน B3ถูกแสงแดดมากเกินสำหรับผู้ที่มีผิวขาว/ผมสีแดง
ฟกช้ำนานวิตามิน Cชราภาพ, อาการบาดเจ็บฟกช้ำ, และภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับเลือด
ตกเลือด หรือมีจุดแดงตามรูขุมขนวิตามิน C
มีเลือดออกตามข้อ หรือบริเวณที่ผิดปกติวิตามิน Cภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับเลือดหลายอย่าง
รูขุมขนอุดตันด้วยเคราตินหรือขนคุดวิตามิน C
มีขนอ่อนบนหน้าท้องโปรตีน-พลังงาน เป็นอาการทั่วไปของโรคอะนอเร็กเซีย
Mouth
แจ็บลิ้นธาตุเหล็ก, วิตามิน B12, B2, B3 และอาจขาดวิตามิน B อื่น ๆ ด้วยการดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ มากไป และโรคในช่องปาก
ริมฝีปากแห้งแตกวิตามิน B2 – riboflavinสัมผัสกับความเย็นมากเกิน
มุมปากแตกธาตุเหล็ก, วิตามิน B12, โฟเลต, และอาจขาดวิตามิน B อื่น ๆ ด้วยฟันปลอมที่ไม่เข้าที่, การติดเชื้อรา candida albicans ที่ผิวหนัง
เป็นแผลในปากบ่อยครั้งธาตุเหล็ก, วิตามิน B12, โฟเลต, และอาจขาดวิตามิน B อื่น ๆ ด้วยโรคซีลิแอ็ก, โรคโครห์น, โรคเริมแบบซ้ำซาก, และโรคในช่องปาก
เส้นเลือดดำใต้ลิ้นขยายใหญ่ขึ้นวิตามิน Cการสูบบุหรี่และความชราภาพ
ลิ้นอักเสบแบบที่ทำให้ลิ้นมีผิวเรียบ สีสว่างขึ้น และมีอาการเจ็บธาตุเหล็ก, วิตามิน B12,และโฟเลต
ศีรษะ, ใบหน้า, และลำคอ
ผมร่วงธาตุเหล็กโรคที่หนังศีรษะ, โรคผมร่วงเป็นหย่อมจากสาเหตุอื่น
รังแคกรดไขมันที่จำเป็น และไบโอตินการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ
ด้านข้างจมูกแดงวิตามิน B2 –riboflavin, วิตามิน B6 และสังกะสีต่อมไขมันอักเสบ
ตาแดงหรือแห้งแตกวิตามิน B2 หรือ B6
คอพอกอาจเป็นเพราะขาดไอโอดีนถ้าเกิดประชากรที่อยู่อาศัยในพื้นที่ >20% เป็นคอพอก – เรียกได้ว่าโรคคอพอกประจำถิ่นการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์, การตั้งครรภ์, และโรคไทรอยด์ได้หลายรูปแบบ
มือและเล็บ
เล็บเปราะและลอกธาตุเหล็ก และอาจขาดกรดไขมันที่จำเป็นการไหลเวียนเลือดที่ไม่ดีและความชราภาพ
เล็บงุ้มหรือเว้าเป็นรูปช้อนธาตุเหล็กโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคอื่น ๆ ที่เนื้อเยื่อรองเล็บ
ผิวหนังฝ่ามือเหลืองโปรตีน-พลังงาน และสังกะสีการได้รับแคโรทีนอยด์มากเกินจากอาหาร โดยเฉพาะในผู้หญิง, โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
กล้ามเนื้อและกระดูก
ปวดเกร็งกล้ามเนื้อแมกนีเซียม, โพแทสเซียม, โซเดียม, วิตามิน B1 และวิตามิน D ถ้าเป็นโรคแคลเซียมในเลือดต่ำโรคกล้ามเนื้อหรือระบบประสาท, โรคไขข้ออักเสบ, และภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
ปวดกล้ามเนื้อน่องขาหลังจากออกกำลังกายเล็กน้อยวิตามิน B1- ไทอามีนกล้ามเนื้อฉีกขาด, โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน, และภาวะ myopathy
กดเจ็บกล้ามเนื้อน่องวิตามิน B1- ไทอามีนกล้ามเนื้อฉีกขาด, ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
เดินแบบเตอะแตะวิตามิน D และ resultant myopathyข้อเสื่อมของสะโพก หรือโรคของกล้ามเนื้อโอบสะโพก
ลุกขึ้นจากเก้าอี้เตี้ย ๆ หรือเดินขึ้นบันไดลำบาก หรือรู้สึกกล้ามเนื้อไหล่อ่อนแรงวิตามิน D และ resultant myopathyข้ออักเสบของสะโพกหรือข้อเข่า, โรคของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ
ขากางวิตามิน D – เคยเป็นโรคกระดูกอ่อนตอนเด็กโรคพาเจท และซิฟิลิส
กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกเมื่อแตะบนเส้นประสาทใบหน้าที่อยู่หน้าใบหู (Chvostek’s sign)แคลเซียม และวิตามิน D ถ้ามีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือขาดแมกนีเซียมรุนแรงภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำจากสาเหตุอื่น ๆ เช่นจากโรคพาราไทรอยด์ต่ำ
ดวงตา
การมองเห็นตอนกลางคืนไม่ดีสังกะสี, วิตามิน A และอาจขาดวิตามิน B2 – riboflavinโรคจอตา
เยื่อบุตาแห้งวิตามิน Aความชราภาพ และโรคโซเกร็น
ทางเดินอาหาร
ท้องร่วงวิตามิน B3โรคลำไส้แปรปรวน, ทุพโภชนาการ, ท้องร่วงจากการติดเชื้อ, และสาเหตุอื่น ๆ
ท้องผูกขาดน้ำ, ขาดใยอาหาร, โพแทสเซียม, แมกนีเซียม, และโฟเลตโรคลำไส้แปรปรวน, โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ, มะเร็งลำไส้ใหญ่
ระบบประสาท
ขาอยู่ไม่สุขธาตุเหล็ก หรือโฟเลตภาวะผิดปกติทางประสาทหลายอย่าง, การตั้งครรภ์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, และไตวาย
รู้สึกร้อนที่เท้าวิตามิน B2 –riboflavinปลายประสาทอักเสบระยะต้น
เสียสมดุลเมื่อยืนตรง ๆ เท้าชิดกัน และปิดตา (Romberg’s test)วิตามิน B12 และอาจขาดวิตามิน B3โรคทางระบบประสาทหลายอย่างที่ส่งผลกับซีลีบรัม, ไขสันหลัง, หรือปลายประสาท
สูญเสียความรู้สึกสั่นที่ขาช่วงล่างวิตามิน B12 และอาจขาดวิตามิน B3อายุที่เพิ่มขึ้น และโรคปลายประสาทอักเสบ
ปลายประสาทอักเสบ – ชา, เหน็บ, เจ็บปวดและ/หรืออ่อนแรงที่มือหรือเท้าวิตามิน B1, B12 และอาจจะขาด B3, B6 กับโฟเลต และที่หายากคือธาตุทองแดง (จากการผ่าตัดทางเดินอาหาร หรือการได้รับสังกะสีมากเกินไป) ขาดแคลนกรดไขมันที่จำเป็นเบาหวานและสาเหตุอื่น ๆ
เดินหรือเคลื่อนไหวไม่มั่นคง (cerebellar ataxia)วิตามิน B1, E, และ โคเอนไซม์ Q10แอลกอฮอล์, ภาวะไทรอยด์ต่ำ, และภาวะผิดปกติทางประสาทและทางพันธุกรรม
สภาพทางจิต
ซึมเศร้าวิตามิน C, B1, B3, B6, B12, โฟเลต, ไบโอติน, และกรดไขมันที่จำเป็นอื่น ๆโรคทางจิต, ความเครียด, และผลจากโรคทางร่างกาย
หงุดหงิดโฟเลตโรคติดแอลกอฮอล์, ภาวะซึมเศร้า, และบุคลิกภาพผิดปกติ
มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิธาตุเหล็ก, วิตามิน B1, B12, โฟเลต และกรดไขมันที่จำเป็นอื่น ๆภาวะซึมเศร้า, ความเครียด, นอนหลับไม่เพียงพอ, สมองเสื่อม, โลหิตจาง, ภาวะไทรอยด์ต่ำ, และอีกหลาย ๆ โรค
หลอดเลือดหัวใจ
หัวใจล้มเหลววิตามิน B1 – ไทอามีนและภาวะขาดต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางโรคลิ้นหัวใจ, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, และหลอดเลือดหัวใจ
ใจสั่นโพแทสเซียม และแมกนีเซียม และภาวะขาดต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางโรคลิ้นหัวใจ, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, และหลอดเลือดหัวใจ

ผลจากการวิจัยและพัฒนาถูกต่อยอดมาถึงปัจจุบัน ออกมาเป็นข้อแนะนำผู้บริโภคในรูปแบบของปริมาณแนะนำที่ควรบริโภคต่อวัน หรือ RDI (Recommended Daily Intake) เพื่อกันไม่ให้บริโภคสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้น้อยหรือมากเกินไป ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันตามความเชื่อในงานวิจัยที่ใช้อ้างอิงReference

  1. Dietary Reference Intakes for Calcium, Phosphorous, Magnesium, Vitamin D, and Fluoride (1997); Dietary Reference Intakes for Thiamin, Riboflavin, Niacin, Vitamin B6, Folate, Vitamin B12, Pantothenic Acid, Biotin, and Choline (1998); Dietary Reference Intakes for Vitamin C, Vitamin E, Selenium, and Carotenoids (2000); Dietary Reference Intakes for Vitamin A, Vitamin K, Arsenic, Boron, Chromium, Copper, Iodine, Iron, Manganese, Molybdenum, Nickel, Silicon, Vanadium, and Zinc (2001); and Dietary Reference Intakes for Calcium and Vitamin D (2011). These reports may be accessed via www.nap.edu.
  2. Semba RD. The discovery of the vitamins. Int J Vitam Nutr Res. 2012 Oct 1;82[5]:310-5.
  3. Piro A, Tagarelli G, Lagonia P, Tagarelli A, Quattrone A. Casimir Funk: his discovery of the vitamins and their deficiency disorders. Ann Nutr Metab. 2010;57[3]:85-8.
  4. Dietary Reference Intakes for Japanese (2010), Ministry of Health, Labour and Welfare
  5. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่182) พ.ศ.2541
  6. Deficiency Symptoms and Signs, Dr.Alan Stewart
  7. HARVARD T.H. CHAN, School of Public Health

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *