วิตามิน E

วิตามิน E

เลือกอ่านตามหัวข้อ

    Add a header to begin generating the table of contents

    วิตามิน E เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ แต่แอลฟาโทโคฟีรอลนั้นเป็นวิตามิน E ชนิดเดียวที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ โดยบทบาทหลักของมันมีหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กำจัดอิเลคตรอนที่สามารถทำลายเซลล์ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันและป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดหัวใจ

    ประโยชน์ของวิตามิน E นั้นถูกถูกได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในช่วงปี 1980 เมื่อนักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจว่าความเสียหายจากอนุมูลอิสระมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะหลอดเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงระยะที่ 1 ที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็ง การสูญเสียการมองเห็น และโรคอื่นๆ อีกมากมายได้

    วิตามิน E มีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ และยังลดการสร้างอนุมูลอิสระในบางกรณี อย่างไรก็ตามผลของการศึกษาที่หลากหลายยังมีการให้ผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกัน จึงทำให้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการใช้วิตามิน E ในปริมาณสูงเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ ลดลง

    ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ

    ปริมาณสารอาหารตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารแมคโคร หรือไมโคร จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของประชากร จุดประสงค์ เทคโนโลยี และงานวิจัยที่เลือดใช้ โดยจะมีการอัพเดทในทุกๆ 5 ปีตามการค้นพบทางการแพทย์ใหม่ๆ (ปัจจุบันเป็นรอบ 2020-2023) โดยชื่อเรียกตามมาตรฐานจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น Recommeded Dietary Allowances (RDA), Dietary Standard, Safe Inteake of Nutrients, Recommended Nutrient Intakes หรือ Recommended Dietary Intakes โดยคุณสามารถดู RDA ของแต่ละสารอาหารได้ตามนี้ [RDA เปรียบเทียบตามแต่ละช่วงอายุ] 

    วิตามิน E มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

    โรคหัวใจ

    ในช่วงเวลาหนึ่งมีความเชื่อว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน E เป็นวิธีการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ง่ายที่สุด อย่างไรก็ตามการตรวจสอบหลักฐานจากการทดลองทางคลินิกจาก U.S Preventive Services Task Force ค้นพบว่าไม่มีผลสรุปของการเสริมวิตามิน E เพื่อช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ จึงไม่แนะนำให้มีการทานอาหารเสริมเหล่านี้เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

    ทั้งนี้ American Heart Association ยังมีข้อสรุปจากผลงานวิจัยหลายชิ้นว่า “ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จากงานวิจัยไม่ได้พิสูจน์ว่าการใช้อาหารเสริมประเภทต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามิน E สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้” ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าการใช้ยา เช่น แอสไพริน เบต้าบลอกเกร์ และสารยับยั้ง ACE ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วหรือมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสามารถปกปิดผลของวิตามิน E ในระดับปานกลาง และวิตามิน E อาจให้ผลประโยชน์ในหมู่คนที่มีสุขภาพดีมากกว่า

    โรคมะเร็ง

    โดยรวมแล้ว การศึกษาเชิงสังเกตไม่พบว่าวิตามิน E ในอาหารหรืออาหารเสริมสามารถช่วยป้องกันมะเร็งได้มากนัก การตรวจสอบหลักฐานล่าสุดของหน่วยงานบริการป้องกันแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับหลักฐานจากการทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวิตามิน E สำหรับโรคมะเร็งก็แสดงให้เห็นว่า อาหารเสริมวิตามิน E ไม่ได้ให้ประโยชน์เชิงบวกใดๆ ต่อความเสี่ยงหรือการเสียชีวิตจากมะเร็งที่ลดลง อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ทางการศึกษายังคงมีความขัดแย้งกัน ซึ่งบางการศึกษาแนะนำว่าอาหารเสริมวิตามิน E อาจลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อลูกหมากในผู้ที่สูบบุหรี่ได้ แต่การทดลองสุ่มขนาดใหญ่กลับบอกว่าวิตามิน E อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งต่อลูกหมาก

    มะเร็งต่อมลูกหมาก

    นักวิจัยมีความหวังว่าการทดลองการป้องกันมมะเร็งซีลีเนียมและวิตามิน E (หรือที่เรียกว่า SELECT) จะสามารถให้คำตอบที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับผลลัพธ์ของวิตามิน E และมะเร็งต่อมลูกหมาก 

    โดยผลการทดลองนี้มีผู้ชาย 18,000 คนได้รับมอบหมายให้รับประทานยาหนึ่งใน 4 สูตรยา ได้แก่ วิตามิน E และซีลีเนียม,  วิตามิน E และซีลีเนียมยาหลอก, ซีลีเนียมและยาหลอกวิตามิน E หรือยาหลอกทั้งคู่

    และมีการติดตามผลเป็นเวลานาน 7 ถึง 12 ปี แต่ผู้วิจัยต้องหยุดการศึกษากลางคันในปี 2551 เนื่องจากการวิเคราะห์ช่วงต้นพบกว่าวิตามิน E ไม่มีประโยชน์ใดๆในการป้องกันมะเร็งหรือมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ถึงแม้การทดลองจะสิ้นสุดลงแต่นักวิจัยยังคงติดตามกลุ่มผู้เข้าร่วม ซึ่งในปี 2554 พวกเขารายงานว่ากลุ่มทดลองมีความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น 17% ในกลุ่มที่ได้รับวิตามิน E และไม่มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่รับประทานวิตามิน E คู่กับซีลีเนียม

    แม้ว่าการทดลองที่กล่าวมานั้นจะให้ผลลัพธ์ในเชิงลบแต่การทดลองที่สำคัญอีก 2 รายการของ SELECT กลับให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันมาก ตัวอย่างเช่น การทดลองแบบสุ่มตัวอย่างอัลฟ่า-โทโคฟีรอลเบต้าแคโรทีน ติดตามผู้สูบบุหรี่ชายชาวฟินแลนด์เกือบ 30,000 คนเป็นเวลาเฉลี่ย 6 ปีพบว่าผู้ชายที่ได้รับวิตามิน E เสริมทุกวันมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง 32% และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง 41% มากกว่าผู้ชายที่ได้รับยาหลอก ผลการป้องกันของวิตามิน E นั้นมีมากที่สุดโดยเฉพาะผู้ชายที่เป็นมะเร็งในระยะที่สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจทางคลินิกหรือในระยะลุกลาม ในขณะเดียวกันการทดลอง Physicians’ Health Study II ที่มีขนาดใหญ่และระยะยาวพบว่าอาหารเสริมวิตามิน E ไม่ได้เพิ่มหรือลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งอื่นใด 

    ผลลัพธ์การทดลองของ SELECT ที่แตกต่างกันนี้ได้ถูกตั้งเป็นข้อสันนิษฐานว่า ผลการป้องกันของวิตามิน E นั้นให้ผลที่ตรงกันข้ามขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งอาหารเสริมวิตามิน E จะมีประโยชน์มากที่สุดในผู้ชายที่สูบบุหรี่และเป็นมะเร็งระยะลุกลาม ในขณะที่ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้นอาจให้ผลลัพธ์ต่อการเสริมวิตามิน E ในทางตรงกันข้าม

    **มะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่จะพัฒนาอย่างช้าๆ และการศึกษาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากจำเป็นต้องติดตามกลุ่มทดลองเป็นเวลานาน การหยุดการทดลอง SELECT ก่อนกำหนด ไม่มีทางที่จะบอกได้ว่าวิตามิน E สามารถช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากในกลุ่มทดลองบา

    คนได้หรือไม่ หากพวกเขาทำการทดลองต่อไปในระยะเวลาที่นานขึ้น มีเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้นในการทดลอง SELECT ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม ซึ่งเป็นการจำกัดการตีความผลการวิจัยเพิ่มเติม

    โรคเกี่ยวกับการมองเห็นที่เกี่ยวข้องกับอายุ

    การทดลองเป็นเวลา 6 ปีพบว่าการใช้วิตามิน E ร่วมกับวิตามิน C เบต้าแคโรทีน และสังกะสี ช่วยป้องกันการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง (ไม่รวมโรคต้อกระจก) อย่างไรก็ตาม หากรับประทานวิตามิน E เพียงอย่างเดียว ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์มากนักต่อโรคจอประสาทตาเสื่อมหรือต้อกระจก 

    การทำงานของสมองขั้นสูงและโรคความเสื่อมของระบบประสาท

    นักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการแก้ไขสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และโรคอื่นๆ ของสมองและระบบประสาทได้มุ่งเน้นไปที่บทบาทของความเสียหายจากอนุมูลอิสระต่อการพัฒนาโรคเหล่านี้ แต่จนถึงปัจจุบัน มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยว่าวิตามิน E สามารถช่วยป้องกันโรคเหล่านี้หรือมีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้อยู่แล้วหรือไม่

    ภาวะสมองเสื่อม

    การศึกษาไปข้างหน้า (prospective studies) บางชิ้นแนะนำว่าการเสริมวิตามิน E โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับวิตามิน C อาจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทำงานของการรับรู้เล็กน้อยหรือลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมในรูปแบบอื่นๆได้ ในขณะที่การศึกษาอื่นๆ ไม่พบประโยชน์ดังกล่าว การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมเป็นเวลา 3 ปีในผู้ที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) ซึ่งมักเป็นตัวการของโรคอัลไซเมอร์ พบว่าการรับประทานวิตามิน E 2,000 IU ต่อวันไม่สามารถชะลอการลุกลามของโรคอัลไซเมอร์ได้ อย่างไรก็ตาม การลุกลามจากภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย

    ไปสู่โรคอัลไซเมอร์อาจใช้เวลาหลายปี และการศึกษาดังกล่าวมีระยะเวลาค่อนข้างสั้น ดังนั้นข้อมูลนี้จึงอาจยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้ายที่แน่ชัด

    โรคพาร์กินสัน

    Perspective studies บางส่วนได้แนะนำว่าการได้รับวิตามิน E ที่เพิ่มขึ้นจากแหล่งอาหาร (ไม่ใช่จากอาหารเสริม) มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคพาร์กินสัน ในทางกลับกันผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันอยู่แล้ว การเสริมวิตามิน E ในปริมาณสูงจากอาหารเสริมจะไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของโรคที่ลดลง 

    เป็นไปได้ว่าอาหารที่อุมไปด้วยวิตามิน E เช่น ถั่วหรือพืชตระกูลถั่ว จะมีสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันโรคพาร์กินสันได้ 

    โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

    การศึกษาขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่งที่มีการติดตามคนเกือบ 1 ล้านคนเป็นเวลานานถึง 16 ปีพบว่าผู้ที่รับประทานวิตามิน E เสริมเป็นประจำมีความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยทานอาหารเสริมวิตามิน E 

    อีกทั้งการวิเคราะห์รวมของการศึกษาหลายชิ้นที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 1 ล้านคนพบว่า ยิ่งคนใช้อาหารเสริมวิตามิน E นานเท่าใด ความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น

    การทดลองทางคลินิกของอาหารเสริมวิตามิน E ในผู้ที่มีโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอยู่แล้วมักไม่แสดงประโยชน์ใดๆ นี่อาจเป็นสถานการณ์ที่วิตามิน E มีประโยชน์ในการป้องกันมากกว่าการรักษา

    วิตามิน E พบได้ในอาหารชนิดไหนบ้าง?

    • วิตามิน E พบได้ในน้ำมันจากพืช ถั่ว เมล็ดพืช ผลไม้ และผัก
    • น้ำมันจมูกข้าวสาลี
    • น้ำมันดอกทานตะวัน ดอกคำฝอย และน้ำมันถั่วเหลือง
    • เมล็ดทานตะวัน
    • อัลมอนด์
    • ถั่วลิสง, เนยถั่ว
    • ผักบีท ผักกระหล่ำปลี ผักโขม
    • ฟักทอง
    • พริกหยวกแดง
    • หน่อไม้ฝรั่ง
    • มะม่วง
    • อะโวคาโด

    สัญญาณเตือนของการขาดวิตามิน E

    เนื่องจากวิตามิน E ถูกพบได้ในอาหารและอาหารเสริมหลายชนิด การขาดวิตามิน E จึงพบได้ยาก แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีความผิดปกติในการย่อยอาหารหรือไม่สามารถดูดซึมไขมันได้อย่างเหมาะสม (เช่น ตับอ่อนอักเสบ ซิสติกไฟโบรซิส และโรคซิลิแอก) 

    ต่อไปนี้เป็นลักษณะของการขาดวิตามิน E

      • เบาหวานขึ้นตา 
      • ปลายประสาทอักเสบ
      • ภาวะกล้ามเนื้อสูญเสียการประสานสัมพันธ์กัน (Ataxia) 
      • การทำงานของภูมิคุ้มกันลดลง

    Reference

    1. Institute of Medicine. Dietary reference intakes for vitamin C, vitamin E, selenium, and carotenoids. Washington, D.C.: National Academies Press; 2000.
    2. U.S Preventive Services Task Force, Mangione CM, Barry MJ, Nicholson WK, Cabana M, Chelmow D, Coker TR, Davis EM, Donahue KE, Doubeni CA, Jaén CR, Kubik M, Li L, Ogedegbe G, Pbert L, Ruiz JM, Stevermer J, Wong JB. Vitamin, Mineral, and Multivitamin Supplementation to Prevent Cardiovascular Disease and Cancer: US Preventive Services Task Force Recommendation Statement. JAMA. 2022 Jun 21;327(23):2326-2333.
    3. Stampfer MJ, Hennekens CH, Manson JE, Colditz GA, Rosner B, Willett WC. Vitamin E consumption and the risk of coronary disease in women. N Engl J Med. 1993;328:1444-9.
    4. Rimm EB, Stampfer MJ, Ascherio A, Giovannucci E, Colditz GA, Willett WC. Vitamin E consumption and the risk of coronary heart disease in men. N Engl J Med. 1993;328:1450-6.
    5. Rimm EB, Stampfer MJ. Antioxidants for vascular disease. Med Clin North Am. 2000;84:239-49.
    6. Lee IM, Cook NR, Gaziano JM, et al. Vitamin E in the primary prevention of cardiovascular disease and cancer: the Women’s Health Study: a randomized controlled trial. JAMA. 2005;294:56-65.
    7. Glynn RJ, Ridker PM, Goldhaber SZ, Zee RY, Buring JE. Effects of random allocation to vitamin E supplementation on the occurrence of venous thromboembolism: report from the Women’s Health Study. Circulation. 2007;116:1497-503.
    8. Dietary supplementation with n-3 polyunsaturated fatty acids and vitamin E after myocardial infarction: results of the GISSI-Prevenzione trial. Gruppo Italiano per lo Studio della Sopravvivenza nell’Infarto miocardico. Lancet. 1999;354:447-55.
    9. Yusuf S, Dagenais G, Pogue J, Bosch J, Sleight P. Vitamin E supplementation and cardiovascular events in high-risk patients. The Heart Outcomes Prevention Evaluation Study Investigators. N Engl J Med. 2000;342:154-60.
    10. Lonn E, Bosch J, Yusuf S, et al. Effects of long-term vitamin E supplementation on cardiovascular events and cancer: a randomized controlled trial. JAMA. 2005;293:1338-47.
    11. Kris-Etherton PM, Lichtenstein AH, Howard BV, Steinberg D, Witztum JL. Antioxidant vitamin supplements and cardiovascular disease. Circulation. 2004;110:637-41.
    12. Hercberg S, Galan P, Preziosi P, et al. The SU.VI.MAX Study: a randomized, placebo-controlled trial of the health effects of antioxidant vitamins and minerals. Arch Intern Med. 2004;164:2335-42.
    13. Sesso HD, Buring JE, Christen WG, et al. Vitamins E and C in the prevention of cardiovascular disease in men: the Physicians’ Health Study II randomized controlled trial. JAMA. 2008;300:2123-33.
    14. Milman U, Blum S, Shapira C, et al. Vitamin E supplementation reduces cardiovascular events in a subgroup of middle-aged individuals with both type 2 diabetes mellitus and the haptoglobin 2-2 genotype: a prospective double-blinded clinical trial. Arterioscler Thromb Vasc Biol. 2008;28:341-7.
    15. Hunter DJ, Manson JE, Colditz GA, et al. A prospective study of the intake of vitamins C, E, and A and the risk of breast cancer. N Engl J Med. 1993;329:234-40.
    16. Willett WC, Polk BF, Underwood BA, et al. Relation of serum vitamins A and E and carotenoids to the risk of cancer. N Engl J Med. 1984;310:430-4.
    17. Chan JM, Stampfer MJ, Ma J, Rimm EB, Willett WC, Giovannucci EL. Supplemental vitamin E intake and prostate cancer risk in a large cohort of men in the United States. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev. 1999;8:893-9.
    18. van Dam RM, Huang Z, Giovannucci E, et al. Diet and basal cell carcinoma of the skin in a prospective cohort of men. Am J Clin Nutr. 2000;71:135-41.
    19. Wu K, Willett WC, Chan JM, et al. A prospective study on supplemental vitamin e intake and risk of colon cancer in women and men. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev. 2002;11:1298-304.
    20. Fung TT, Spiegelman D, Egan KM, Giovannucci E, Hunter DJ, Willett WC. Vitamin and carotenoid intake and risk of squamous cell carcinoma of the skin. Int J Cancer. 2003;103:110-5.
    21. Feskanich D, Willett WC, Hunter DJ, Colditz GA. Dietary intakes of vitamins A, C, and E and risk of melanoma in two cohorts of women. Br J Cancer. 2003;88:1381-7.
    22. Cho E, Spiegelman D, Hunter DJ, et al. Premenopausal intakes of vitamins A, C, and E, folate, and carotenoids, and risk of breast cancer. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev. 2003;12:713-20.
    23. Cho E, Hunter DJ, Spiegelman D, et al. Intakes of vitamins A, C and E and folate and multivitamins and lung cancer: a pooled analysis of 8 prospective studies. Int J Cancer. 2006;118:970-8.
    24. Lee JE, Giovannucci E, Smith-Warner SA, Spiegelman D, Willett WC, Curhan GC. Intakes of fruits, vegetables, vitamins A, C, and E, and carotenoids and risk of renal cell cancer. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev. 2006;15:2445-52.
    25. Heinonen OP, Albanes D, Virtamo J, et al. Prostate cancer and supplementation with alpha-tocopherol and beta-carotene: incidence and mortality in a controlled trial. J Natl Cancer Inst. 1998;90:440-6.
    26. Kirsh VA, Hayes RB, Mayne ST, et al. Supplemental and dietary vitamin E, beta-carotene, and vitamin C intakes and prostate cancer risk. J Natl Cancer Inst. 2006;98:245-54.
    27. Peters U, Littman AJ, Kristal AR, Patterson RE, Potter JD, White E. Vitamin E and selenium supplementation and risk of prostate cancer in the Vitamins and Lifestyle (VITAL) study cohort. Cancer Causes Control. 2008;19:75-87.
    28. Lippman SM, Klein EA, Goodman PJ, et al. Effect of selenium and vitamin E on risk of prostate cancer and other cancers: the Selenium and Vitamin E Cancer Prevention Trial (SELECT). JAMA. 2009;301:39-51.
    29. Klein EA, Thompson IM, Jr., Tangen CM, et al. Vitamin E and the risk of prostate cancer: the Selenium and Vitamin E Cancer Prevention Trial (SELECT). JAMA. 2011;306:1549-56.
    30. Wang L, Sesso HD, Glynn RJ, Christen WG, Bubes V, Manson JE, Buring JE, Gaziano JM. Vitamin E and C supplementation and risk of cancer in men: posttrial follow-up in the Physicians’ Health Study II randomized trial. The American journal of clinical nutrition. 2014 Sep 1;100(3):915-23.
    31. Thompson IM, Goodman PJ, Tangen CM, et al. The influence of finasteride on the development of prostate cancer. N Engl J Med. 2003;349:215-24.
    32. A randomized, placebo-controlled, clinical trial of high-dose supplementation with vitamins C and E, beta carotene, and zinc for age-related macular degeneration and vision loss: AREDS report no. 8. Arch Ophthalmol. 2001;119:1417-36.
    33. Age Related Eye Disease Study 2 (AREDS2). National Eye Institute, 2007. Accessed 8 November 2007,
    34. Chong EW, Wong TY, Kreis AJ, Simpson JA, Guymer RH. Dietary antioxidants and primary prevention of age related macular degeneration: systematic review and meta-analysis. BMJ. 2007;335:755.
    35. Christen WG, Glynn RJ, Chew EY, Buring JE. Vitamin E and age-related macular degeneration in a randomized trial of women. Ophthalmology. 2010;117:1163-8.
    36. Kamat CD, Gadal S, Mhatre M, Williamson KS, Pye QN, Hensley K. Antioxidants in central nervous system diseases: preclinical promise and translational challenges. J Alzheimers Dis. 2008;15:473-93.
    37. Grodstein F, Chen J, Willett WC. High-dose antioxidant supplements and cognitive function in community-dwelling elderly women. Am J Clin Nutr. 2003;77:975-84.
    38. Zandi PP, Anthony JC, Khachaturian AS, et al. Reduced risk of Alzheimer disease in users of antioxidant vitamin supplements: the Cache County Study. Arch Neurol. 2004;61:82-8.
    39. Laurin D, Masaki KH, Foley DJ, White LR, Launer LJ. Midlife dietary intake of antioxidants and risk of late-life incident dementia: the Honolulu-Asia Aging Study. Am J Epidemiol. 2004;159:959-67.
    40. Gray SL, Anderson ML, Crane PK, et al. Antioxidant vitamin supplement use and risk of dementia or Alzheimer’s disease in older adults. J Am Geriatr Soc. 2008;56:291-5.
    41. Devore EE, Kang JH, Stampfer MJ, Grodstein F. The association of antioxidants and cognition in the Nurses’ Health Study. American journal of epidemiology. 2013 Jan 1;177(1):33-41.
    42. Petersen RC, Thomas RG, Grundman M, et al. Vitamin E and donepezil for the treatment of mild cognitive impairment. N Engl J Med. 2005;352:2379-88.
    43. Zhang SM, Hernan MA, Chen H, Spiegelman D, Willett WC, Ascherio A. Intakes of vitamins E and C, carotenoids, vitamin supplements, and PD risk. Neurology. 2002;59:1161-9.
    44. Etminan M, Gill SS, Samii A. Intake of vitamin E, vitamin C, and carotenoids and the risk of Parkinson’s disease: a meta-analysis. Lancet Neurol. 2005;4:362-5.
    45. Morens DM, Grandinetti A, Waslien CI, Park CB, Ross GW, White LR. Case-control study of idiopathic Parkinson’s disease and dietary vitamin E intake. Neurology. 1996;46:1270-4.
    46. Effects of tocopherol and deprenyl on the progression of disability in early Parkinson’s disease. The Parkinson Study Group. N Engl J Med. 1993;328:176-83.
    47. Ascherio A, Weisskopf MG, O’Reilly E J, et al. Vitamin E intake and risk of amyotrophic lateral sclerosis. Ann Neurol. 2005;57:104-10.
    48. Wang H, O’Reilly EJ, Weisskopf MG, et al. Vitamin E intake and risk of amyotrophic lateral sclerosis: a pooled analysis of data from 5 prospective cohort studies. Am J Epidemiol. 2011;173:595-602.
    49. Orrell RW, Lane RJ, Ross M. Antioxidant treatment for amyotrophic lateral sclerosis / motor neuron disease. Cochrane Database Syst Rev. 2007:CD002829.
    50. Miller ER, 3rd, Pastor-Barriuso R, Dalal D, Riemersma RA, Appel LJ, Guallar E. Meta-analysis: high-dosage vitamin E supplementation may increase all-cause mortality. Ann Intern Med. 2005;142:37-46.

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *