พรีไบโอติก คืออะไร มีส่วนเกี่ยวข้องกับร่างกายคนเรามากแค่ไหน

พรีไบโอติก คือ

นอกจากโพรไบโอติกแล้ว พรีไบโอติก คือ อีกสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องทำความรู้จักให้มากเพราะนี่คือสารอาหารที่จะมีส่วนช่วยสร้างการเติบโตของจุลินทรีย์ดี หรือเทียบง่าย ๆ ก็เป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง เอาเป็นว่ามาศึกษาข้อมูลน่าสนใจไปพร้อมกันได้เลย

ตอบข้อสงสัย? พรีไบโอติก คืออะไร

พรีไบโอติก คือ ส่วนประกอบของอาหารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้จึงส่งผลดีต่อโพรไบโอติกหรือแบคทีเรียดีที่อาศัยอยู่ภายในร่างกาย กระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มกำลังการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เป็นประโยชน์ สารประกอบเหล่านี้ส่วนใหญ่มักอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น อินนูลิน ฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ (FOS) และกาแลคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ (GOS) เป็นต้น

พรีไบโอติกทำงานอย่างไร?

พรีไบโอติกทำหน้าที่เป็นอาหารสำหรับแบคทีเรียดีที่อาศัยอยู่ภายในลำไส้ เมื่อแบคทีเรียเหล่านี้กินพรีไบโอติก พวกมันจะผลิตสารบางชนิด เช่น กรดไขมันสายสั้น (SCFA) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน

อีกทั้งพรีไบโอติกยังทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของลำไส้ สาร SCFA จะช่วยลดค่า pH ของลำไส้ ทำจัดการกับแบคทีเรียไม่ดีให้ตายไป และส่งเสริมจุลินทรีย์ในลำไส้อย่างสมดุล

จำเป็นต้องทานพรีไบโอติกในแต่ละวันหรือไม่?

การเพิ่มวัตถุดิบที่มีพรีไบโอติกเข้าไปในอาหารไม่ใช่เรื่องจำเป็นถ้าร่างกายได้รับจากเมนูอาหารทั่วไปก็มีส่วนดูแลสุขภาพในหลายด้าน ดังนี้

1. สุขภาพลำไส้ – พรีไบโอติกจะช่วยปรับจุลินทรีย์ในลำไส้ให้เกิดความสมดุล ซึ่งนำไปสู่การย่อยอาหารที่ดีขึ้น และลดความเสี่ยงอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับลำไส้

2. การดูดซึมสารอาหารดีขึ้น – พรีไบโอติกสามารถเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร เช่น แคลเซียม และแมกนีเซียม

3. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน – หากมีจุลินทรีย์ดีในลำไส้ที่สมดุลจะเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายต้านทานการติดเชื้อได้มากขึ้น

การขาดพรีไบโอติกในมิ้ออาหารส่งผลอย่างไร?

1. การทำงานของลำไส้ไม่สมดุล – หากไม่ได้รับพรีไบโอติกอย่างเพียงพอ แบคทีเรียดีอาจลดปริมาณลง ส่งผลให้แบคทีเรียร้ายเจริญเติบโต และนำไปสู่ภาวะพร่องจุลินทรีย์

2. ภูมิคุ้มกันลดลง – เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุลก็มักทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

3. ลดการดูดซึมสารอาหาร – หากไม่มีพรีไบโอติก การดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นก็มีโอกาสลดลงตามไปด้วย

วิธีเติมพรีไบโอติกให้กับร่างกาย ทำได้ไม่ยากเลย

1. เน้นการทานอาหารที่มีเส้นใยพรีไบโอติกสูง เช่น กระเทียม หัวหอม กระเทียมต้น หน่อไม้ฝรั่ง และธัญพืชไม่ขัดสี

2. การทานอาหารเสริม เช่น อาหารเสริมอินนูลินและ FOS สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มพรีไบโอติกในปริมาณเข้มข้น

สรุปแล้วแม้พรีไบโอติกอาจไม่ได้จำเป็นต่อร่างกายโดยตรง แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพของลำไส้และสุขภาพโดยรวม การเลือกทานอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ย่อมช่วยส่งเสริมสุขภาพในระยะยาวให้แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตามด้วยนั่นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *