โพรไบโอติก คืออะไร และประโยชน์ดี ๆ ที่ร่างกายทุกคนจะได้รับ

โพรไบโอติก คือ

เมื่อพูดถึงสารอาหารที่ร่างกายต้องการคนส่วนใหญ่อาจนึกถึงแค่อาหาร 5 หมู่ แต่ในความเป็นจริงโพรไบโอติกเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ แล้วโพรไบโอติก คืออะไร ประโยชน์ของโพรไบโอติกมีมากน้อยแค่ไหน มาทำความเข้าใจแบบละเอียดครบถ้วนเพื่อการเลือกทานอย่างเหมาะสมในแต่ละวันกันได้เลย

โพรไบโอติก คืออะไร? มีคำตอบมาบอก

โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของแบคทีเรียและยีสต์ มีหน้าที่ในการควบคุมสมดุลต่าง ๆ ของร่างกายในหลายมิติ เช่น ระบบการทำงานของลำไส้ ระบบขับถ่าย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน

โพรไบโอติกทำงานอย่างไร?

โพรไบโอติกออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การปรับสมดุลลำไส้ ป้องกันแบคทีเรียร้ายที่อาจเข้ามาเกาะติดกับเยื่อบุลำไส้และมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ทำหน้าที่ผลิตกรดไขมันสายสั้นซึ่งกรดเหล่านี้จะช่วยลดค่า pH ของลำไส้ การคงอยู่ของแบคทีเรียตัวร้ายจึงน้อยลงตามไปด้วย

ประโยชน์ของโพรไบโอติกยังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันทั้งโดยธรรมชาติและแบบปรับตัว จึงสามารถป้องกันเชื้อโรคแฝงต่าง ๆ ที่อาจเข้ามาทำลายสุขภาพได้

ประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อร่างกาย

แม้ว่าร่างกายมนุษย์สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องเสริมโพรไบโอติก แต่ถ้ามองอีกมุมประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อสุขภาพของคนเราก็มีด้วยกันหลายด้านมาก

1. ดูแลระบบทางเดินอาหาร – โพรไบโอติกช่วยในสภาวะต่าง ๆ เช่น อาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ท้องร่วงที่เกิดจากยาปฏิชีวนะ และโรคลำไส้อักเสบลดลง

2. เสริมภูมิคุ้มกัน – เมื่อภูมิคุ้มกันดีย่อมมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น

3. สุขภาพจิต – การวิจัยที่เกิดขึ้นใหม่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพของลำไส้และสุขภาพจิต เพราะลำไส้ถือเป็นสมองส่วนที่ 2 ของร่างกาย หากลำไส้ดี สุขภาพจิตก็ดีตามนั่นเอง

จะเกิดอะไรขึ้นหากร่างกายได้รับโพรไบโอติกไม่เพียงพอ

หากร่างกายได้รับโพรไบโอติกไม่เพียงพอย่อมส่งผลเสียในหลายด้านตามมามากกว่าที่ทุกคนคิดเอาไว้ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นชัดเจนสุด มีดังนี้

1. ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ – ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและการขาดภูมิคุ้มกัน

2. ความไวต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น – เมื่อแบคทีเรียดีลดลงย่อมทำให้แบคทีเรียร้ายเกิดขึ้นง่ายกว่าและทำลายสุขภาพแบบคาดไม่ถึง

3. ผลกระทบต่อสุขภาพจิต – เมื่อลำไส้ทำงานไม่ดีก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลได้

สามารถเพิ่มเติมโพรโอติกให้กับร่างกายได้อย่างไร

1. การทานอาหาร – เน้นไปที่กลุ่มอาหารหมักดอง เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ มิโสะ ปลาร้า แหนม เต้าหู้ยี้

2. การทานอาหารเสริม – มีอาหารเสริมที่อัดแน่นไปด้วยโพรไบโอติกอยู่เป็นจำนวนมากที่วางขายในท้องตลาด

3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป – การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นมักทำลายแบคทีเรียร้ายได้ดี แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ทำลายแบคทีเรียดีด้วยเช่นกัน

จะเห็นว่าโพรไบโอติก คือ กลุ่มจุลินทรีย์ดีที่มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก พยายามทานให้เพียงพอในแต่ละวันแล้วสุขภาพโดยรวมของทุกคนจะแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *