พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ มีอะไรบ้าง ควรดูแลอย่างไร ?
ช่วงลูกเพิ่งเกิดเป็นช่วงที่พ่อแม่จะเจอกับการเปลี่ยนแปลง เหนื่อยล้า แต่อย่าลืมดูแลทารกให้เขาได้สัมผัสถึงความอบอุ่น คอยพูดคุย โอบกอด ปลอบโยน เพราะเขาเพิ่งได้สัมผัสโลกครั้งแรก จึงควรมีความเข้าใจเรื่อง พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ และควรมีความอดทนใจเย็น คอยเฝ้าดูพัฒนาการของลูกในช่วงนี้ เช่น คลาน ยืน เดิน ตามลำดับ เลือกอ่าน :
- วัยทารกแรกเกิด
- การพัฒนาทางสมอง
- พัฒนาการด้านสติปัญญาและการเรียนรู้
- เข้าใจพฤติกรรมของทารกแรกเกิด
- ร่างกายและการเคลื่อนไหว
- ภาษาและการสื่อสาร
- ความคิด อารมณ์และสังคม
- กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ
- การดูแลสุขอนามัยของเด็กทารก
- การพักผ่อนนอนหลับของทารกแรกเกิด
- ประโยชน์ของนมแม่
- ข้อควรระวัง สำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน
วัยทารกแรกเกิด ในพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ
แม้ว่าในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่จะเห็นลูกน้อยเอาแต่นอนทั้งวัน แต่ทุกเวลานาทีที่ผ่านไปคุณแม่สามารถสร้างเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้ไม่ต่างจากทารกในวัยอื่นๆ อีกทั้งช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปรับตัวระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยด้วย
พัฒนาทางสมอง ในพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ
พัฒนาการสมองของ 0-3 เดือนมีมาตั้งแต่ในครรภ์ ทารกจะรู้จักเสียงของแม่และอาจจำเสียงของนิทานที่แม่อ่านให้ฟังขณะที่ยังอยู่ในครรภ์ได้ และช่วงนี้เขาจะเริ่มมองเห็นแบบมัว ๆ พัฒนาการสมองเด็ก 1 ขวบขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า โดยการเติบโตสมองส่วน cerebellum หรือ สมองน้อย ทำหน้าที่สำคัญด้านการรับรู้และการควบคุมการสั่งการ ส่งผลถึงการพัฒนา ควบคุมร่างกายและทักษะการเคลื่อนไหว ทารกเติบโต เรียนรู้ พัฒนาการต่างๆจะถูกพัฒนาผ่านการเล่น พวกเขาเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหว มองเห็น ได้ยิน สื่อสาร และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
พัฒนาการด้านสติปัญญาและการเรียนรู้
- สัปดาห์แรกของชีวิต ลูกน้อยต้องการเวลานอนหลับประมาณ 17-18 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับที่เพียงพอ สำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของลูก เพราะขณะที่ลูกหลับร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตและช่วยเพิ่มพลังงานให้สมองพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในยามตื่น
- การนอนหลับที่ไม่เพียงพอหรือการนอนหลับไม่สนิท เช่น อยู่ในสถานที่เสียงดังเกินไป เย็นหรือร้อนเกินไป ย่อมไม่ส่งผลดีต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูก
- ประสาทหูของลูกค่อนข้างไวต่อเสียงได้ยินอะไรนิดหน่อยก็สะดุ้งผวา
- ประสิทธิภาพในการมองเห็นยังไม่ดีนัก มองเห็นได้เพียงรางๆ ระยะห่างไม่เกิน 8 นิ้วเท่านั้น
- ลูกน้อยสามารถรับรู้เวลาได้รับการโอบอุ้ม สัมผัส ยิ่งคุณแม่โอบอุ้มลูกให้อยู่ในท่าที่มั่นคงเพื่อให้นม ลูกก็จะสามารถซุกหาหัวนมคุณแม่ได้
- ลูกน้อยสามารถคว้าจับสิ่งของได้หากบังเอิญไปแตะเข้า หรือหากคุณแม่ลองสอดนิ้วเข้าไปในอุ้งมือของลูก ลูกจะกำนิ้วของคุณแม่ไว้แน่นทีเดียว
เข้าใจพฤติกรรมของทารกแรกเกิด
เด็กจะเริ่มจากการมีปฏิกิริยาตอบสนองกับสิ่งรอบตัว ผ่านการแสดงพฤติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะสัปดาห์แรกของของชีวิตในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว หลังจากนั้นลูกจะเริ่มสำรวจโลกรอบตัวผ่านการมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัส
- พฤติกรรมของทารกแรกเกิด ได้แก่ การสบตา การร้องไห้ การมองหรือหยิบจับสิ่งของ
- เมื่อคุณพ่อคุณแม่ตอบสนองต่อพฤติกรรมต่างๆของลูกน้อย จะเป็นการสร้างความผูกพันของคุณแม่และช่วยให้ลูกน้อยของคุณเรียนรู้และพัฒนา
- การดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อคุณมีสุขภาพแข็งแรงก็จะส่งผลดีต่อลูกน้อย
- สิ่งเด็กทารกในวัยนี้ต้องการคือความเอาใจใส่ ความอบอุ่น ความรักและการตอบสนอง ต่อพฤติกรรมที่ลูกแสดงออก เพราะเด็กยังพูดไม่ได้ รวมถึงความสะดวกสบาย อาหาร การดูแลประจำวัน เวลาสำหรับการเล่นและการเรียนรู้อย่างอ่อนโยน และอื่น ๆ
** ซึ่งหมายความว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของลูกน้อยเกิดขึ้นความผูกพันจากคุณพ่อคุณแม่
ร่างกายและการเคลื่อนไหว ในพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ
มาดูพัฒนาการทารกแรกเกิด ในแต่ละเดือนกันค่ะ 1 เดือน ตาพริ้ม กระพริบตา ส่ายศีรษะไปมาได้เล็กน้อย นอนคว่ำได้ ยกศรีษะ จ้องหน้า ยิ้มไม่มีเป้าหมาย ขยับแขนขา เป็นต้น แต่การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่เป็นไปในรูปแบบของปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflexes) เช่น ถ้าคุณแม่เปลี่ยนท่านอนลูกอย่างฉับพลันหรือมีเสียงดัง ลูกจะสะดุ้งผวา แขนขากางออกแล้วงอกลับมาอยู่ในท่าห่อตัวอย่างรวดเร็ว หรือหากคุณแม่ลองเอานิ้วเขี่ยที่แก้มของลูก เขาจะหันหาตามทิศทางที่คุณสัมผัส ส่งเสริมพัฒนาการ คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้ ด้วยการโอบอุ้มหรือนวดสัมผัสตามส่วนต่างๆ ของร่างกายลูกบ่อยๆ ซึ่งช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านร่างกายและการเรียนรู้ดีขึ้น อุ้มบ่อยๆ มองสบตา เล่นพูดคุย 2 เดือน ยกศรีษะ 45 องศา ส่งเสียงอ้อแอ้ ยิ้ม ยกอกในท่าคว่ำ ส่งเสริมพัฒนาการ ให้นอนคว่ำเปลี่ยนท่าบ่อยๆ แขวนโมบายมีเสียงดนตรีเวลาหมุน ของเล่นเขย่ามีเสียง กรุ๊งกรี๊ยง แขวนโมบายสีสันสดใส ระยะห่าง 8-12 นิ้ว 3 เดือน ยกศีรษะ 90 องศา ชันขอได้เมื่อนั่ง จำแม่ได้ หัวเราะยิ้มเอง เอามือตีสิ่งของ เอามือเข้าปาก ส่งเสียงโต้ตอบ ส่งเสริมพัฒนาการ อุ้มท่านั่ง พูดคุยให้โต้ตอบ ส่งของให้คว้า 4 เดือน พลิกหงายคว่ำได้ เกร็งคอไม่ตกเมื่ออุ้มในท่าหงายเอื้องคว้า สิ่งของหันตามเสียง ส่งเสริมพัฒนาการ ชูของเล่นให้ลูกคว้า อย่าลืมให้กำลังใจเมื่อลูกทำได้นะคะ 5 – 6 เดือน นอนคว่ำยกอกได้ใช้เท้ายันพื้นคว้าของใกล้ตัว ชอบเลีย หรืออมสิ่งของหรือมือ รู้ชื่อตัวเองแล้ว คว้าของมือเดียว เปลี่ยนมือถือของ นั่งเองได้แต่ล้ม ส่งเสริมพัฒนาการ จัดพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กพลิกคว่ำ พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็กเช่น อาบน้ำ กินข้าว พูดคุยโต้ตอบและเรียกชื่อลูก วางของให้คว้าจับ จับอุ้มเด็กนั่งพิมพ์บ่อยๆ ฝึกให้จับขวดนมเอง 7 – 8 เดือน นั่งได้ไม่ต้องพิง ยืนเกาะ ส่งเสียงได้หลายพยางค์ กับเดาะลิ้นได้ ลุกนั่งได้เอง คลาน เลียนเสียง หม่ำๆ หยิบของกินชิ้นเล็กๆได้เอง มองตามของตก ส่งเสริมพัฒนาการ กลิ้งของให้มองตา พูดและทำท่าท่างเล่นกับลูก อุ้มให้น้อยลง ให้เด็กได้คืบและนั่งเล่นเอง หาของเล่นที่สี พื้นผิว และขนาดต่างๆกัน เช่น ผิวเรียบ หยาบ อ่อน แข็ง ให้หยิบจับ 9 – 10 เดือน เกาะเดินเกาะยืนได้ ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งหยิบของได้ หยิบของที่หล่นได้ เหนี่ยวตัวเกาะยืน เคาะของเล่น รู้จักชื่อตัวเองชื่อพี่น้อง ส่งเสียงเรียก มองตามที่ผู้อื่นชี้ ส่งเสริมพัฒนาการ หัดให้เกาะยืน และเกาะเดิน เรียกชื่อ และชูของเล่นให้ลูกสนใจและเดินไปจับ เล่นจ๊ะเอ๋ ปรบมือ บ๊ายบาย วางของเล่นให้คลานไปหยิบ ให้ลูกพบปะผู้คน ฝึกให้หยิบของกินชิ้นเล็กๆเข้าปากเอง หายางหรือพลาสติกที่นิ่มๆไว้กัด เนื่องจากเด็กจะเริ่มคันเหงือกฟันเริ่มใกล้ขึ้น หัดให้ยืนเกาะและเดิน 11- 12 เดือน เกาะยืน หรือใช้มือข้างเดียว ยืนได้ชั่วขณะ ใช้นิ้วแหย่ ดื่มน้ำจากแก้วได้ ตั้งไข่ ยืนได้ชั่วขณะ ก้มลงหยิบของเอง ขีดเขียน เลียนแบบท่าทางและเสียง ชี้ของที่ต้องการ ส่งเสริมพัฒนาการ หัดให้ก้าวเดิน จูงมือเดิน หัดจับดินสอ หยอดบล็อกไม้ตามช่อง หัดให้ชี้ของที่ต้องการและฝึกให้เรียกชื่อสิ่งของ พูดคุยกับลูกเน้นสบตา มองหน้า มองปาก และให้เขาพูดตาม พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ให้ลูกมีอิสระ แต่อยู่ในสายตาพ่อแม่ อุปกรณ์-ของเล่นเสริมพัฒนาการ : คอกกั้น แผ่นรองคลาน รถผลักเดิน สายพยุงเดิน กล่องใส่ของเล่นที่หยิบเข้าออกง่าย
ภาษาและการสื่อสาร ในพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ
แม้ว่าลูกจะพูดไม่ได้แต่สามารถสื่อสารได้ด้วยการส่งเสียง “ร้อง” เช่น เมื่อรู้สึกหิว รู้สึกไม่สบายเนื้อตัว หากคุณแม่ตอบสนองลูกน้อยอย่างถูกต้องและทันท่วงทีด้วยการอุ้มด้วยท่าที่มั่นคงจะช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่นใจ ไม่เกรี้ยวกราด และเป็นเด็กอารมณ์ดีได้ไม่ยาก เช่น
- การร้องไห้ เป็นวิธีหลักในการสื่อสารความต้องการและความรู้สึกของทารกแรกเกิด เช่น ลูกจะร้องไห้เมื่อพวกเขาหิว เหนื่อย ไม่สบายใจ ป่วยหรือเจ็บปวด บางครั้งพวกเขาร้องไห้เพราะต้องการเปลี่ยนบรรยากาศหรือการปลอบโยน หรือเพราะต้องการรู้ว่าคุณอยู่ที่นั่น
** คุณแม่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมของลูก ว่าเขาต้องการอะไรเมื่อร้องไห้ แม้ว่าลูกน้อยที่ร้องไห้จะไม่ได้ป่วย เจ็บปวด ไม่สบายใจ หรือหิว การปลอบโยนก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเช่น คุณแม่อาจลองกอดหรือโยกตัว พาน้องไปเดินเล่น หรือนวดเบาๆ
- เด็กพร้อมที่จะสื่อสารตั้งแต่แรกเกิด ส่งเสริมการพูดคุยและการสื่อสารโดยการสนทนา ตอบสนองความสนใจของเด็ก และปรับตัวให้เข้ากับเด็ก
- การติดต่อเป็นวิธีหนึ่งที่ลูกน้อยของคุณบอกคุณว่าพวกเขาต้องการความสนใจจากคุณ ลูกน้อยของคุณอาจหันศีรษะ มองคุณ ยื่นมือออกมา ดุ พูดจ้อหรือส่งเสียงร้อง
- หากลูกน้อยของคุณต้องการความสนใจ ก็เป็นเวลาที่ดีที่จะยิ้ม พูดคุย และเล่นกับพวกเขา
- เด็กอาจเบือนหน้าหนี หากต้องการพักหรือเปลี่ยนกิจกรรม
- เด็กอาจงอหลังหรือร้องไห้หากต้องการหยุดพัก
- เมื่อเด็กต้องการพัก ลองวางพวกเขาบนพื้นเพื่อเล่นหรือนอนบนเตียงหากเป็นเวลานอน
- หากลูกน้อยของคุณหาว ขยี้ตา หรือกระตุกแขนหรือขา นี่คือสัญญาณของความเหนื่อยล้า
- ลองให้เวลาลูกของคุณอยู่บนเตียงเงียบๆ เพื่อช่วยในการนอน
ความคิด อารมณ์และสังคม ในพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ
- ในแต่ละวันลูกจะมีเวลาตื่นตัวประมาณ 3 % ในช่วงเวลากลางวัน จึงเป็นช่วงที่คุณแม่กับลูกน้อยควรจะได้สบตาทักทายเพื่อสร้างความอบอุ่นคุ้นเคยต่อกันมากขึ้น
- ลูกวัยนี้ชอบมองใบหน้าคนจริงๆ มากกว่าสิ่งของ และชอบฟังเสียงสูงของแม่มากกว่าเสียงทุ้มๆ ของคุณพ่อ
- ลูกน้อยในวัยนี้ชอบให้คุณพ่อคุณแม่สื่อสารกับเขา ความรัก การยิ้ม การกอด การนวด การร้องเพลง การพูดคุย การอ่าน และการเล่นอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นการความผูกพันด้วย
- ชอบมองดูวัตถุที่มีลวดลายมากกว่าสีเรียบๆ เนื่องจากไม่ว่าจะมองจากมุมไหนหรือแสงสว่างอย่างไร ลวดลายนั้นยังคงเหมือนเดิม แต่สีจะเปลี่ยนไประดับความสว่างในห้อง
- ความอบอุ่น และความเอาใจใส่ ความผูกพัน มีความสำคัญต่อพัฒนาการของทารก
- ประสบการณ์เชิงบวกจากครอบครัว ช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและมีคุณค่า และยังเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเด็ก
คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่คะ ว่ารอยยิ้ม สามารถช่วยให้สมองของทารกเติบโตได้ และการยิ้มยังเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ที่อบอุ่นและตอบสนองกับทารก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาในระยะแรก
กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ
แม้ช่วงแรกเกิดของลูกน้อย กิจวัตรส่วนใหญ่ของลูกคือการกิน และนอนเป็นหลัก แต่ในช่วงที่ลูกตื่นดีหรือสามารถตอบสนองต่อกิจกรรมบางอย่างกับคนเลี้ยงได้ ก็เป็นช่วงเวลา ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมกับลูก เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาด้านต่างๆ ของลูกได้ค่ะ วันนี้จะมาแนะนำกิจกรรม ที่คุณพ่อคุณแม่ สามารถทำและเล่นกับลูกน้อยวัยนี้ค่ะ จุดประสงค์หลักของกิจกรรม คือการส่งเสริมให้เค้าได้ทำความรู้จักกับสิ่งรอบๆ ตัว ทั้งจาการเล่นกับพ่อแม่ หรือ กิจกรรมที่ทำโดยเค้าเอง กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูกคือ
- การพูดคุยกับลูก การพูดคุยกับลูกเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะการที่ลูกได้ยินเสียง มองหน้า ได้ฝึกโต้ตอบ จะเป็นการสร้างเสริมพัฒนาการทั้งด้านสังคม การได้ยิน การมองเห็น และสร้างพื้นฐานอารมณ์ที่ดีให้กับลูกน้อย
- การให้หันตามเสียง การทำกิจกรรมให้ลูกหันตามเสียง เป็นการฝึกการได้ยิน รวมถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ เมื่อลูกหันตามเสียงที่ได้ยิน โดยอาจใช้เสียงต่างๆ ทั้งจากของเล่นที่มีเสียง (Rattle) เสียงเพลง หรือเสียงของคุณพ่อคุณแม่เอง กิจกรรมนี้นอกจากได้ฝึกพัฒนาการของลูกแล้ว ยังสามารถใช้ดูความผิดปกติของการได้ยินของลูกด้วย หากลูกไม่หันตามเสียงแม้ว่าเสียงจะดังแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม เพื่อตรวจการได้ยินค่ะ
- ภาพ High Contrast ในช่วงแรกเกิดลูกจะมองเห็นแค่ลางๆ เฉพาะภาพที่มีสีตัดกันมากๆ เช่น ขาว ดำ แดง การให้ลูกได้มองภาพที่มีสี High Contrast เวลาทำกิจกรรมต่างๆ แม้กระทั้งหนังสือ สีสันที่ตัดกัน จะเป็นการสร้างเสริมพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกได้เป็นอย่างดีค่ะ
- การให้มองกระจก แม้การมองเห็นของลูกยังไม่ดีนัก แต่ลูกน้อยชอบมากๆ กับการมองใบหน้าต่างๆ ทั้งใบหน้าคุณพ่อคุณแม่ หรือใบหน้าของตัวเอง การให้ลูกน้อยมองกระจกที่ออกแบบมาสำหรับเด็ก จะเป็นการส่งเสริมพัฒนาทั้งทางการมองเห็น การรู้จักตัวเอง การเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้เป็นอย่างดี
- กิจกรรมให้ลูกเตะ การให้ลูกได้ออกแรงเตะสิ่งของ จะสามารถฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา รวมถึงการพัฒนาเรื่องประสาทรับรู้ต่างๆ สามารถหาพื้นที่ให้ลูกได้ฝึกแตะ เช่น Play gym แผ่นกระดาน หรือ ที่นอน เป็นกิจกรรมง่ายๆ ที่สามารถสร้างความสนุกสนานให้ลูกน้อยได้ค่ะ
- โมบายด์ การให้ลูกดูโมบายด์ พร้อมอาจมีเสียงเพลงประกอบ สามารถส่งเสริมพัฒนาการการมองเห็น ความอยากรู้อยากเห็น การได้ยิน รวมถึงสามารถสร้างความบันเทิงให้ลูกน้อยได้เช่นกันค่ะ
- กิจกรรมเล่นเวลาอาบน้ำ การเล่นน้ำ หรือ เล่นตอนอาบน้ำ เป็นช่วงเวลาทำกิจกรรม ที่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้ การที่ลูกได้สัมผัสน้ำ สัมผัสอุณหภูมิที่แปลกใหม่ การเห็นของเล่นลอยได้ ได้ฝึกคว้า เอาเข้าปาก ได้ฝึกตีน้ำ เป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ให้ลูกได้อีกมากมาย ทั้งยังสามารถฝึกให้ลูกชอบการอาบน้ำ และสร้างพฤติกรรมดีๆ ให้ลูกในอนาตคได้ค่ะ
- กิจกรรมสัมผัสสิ่งของต่างๆ การให้ลูกได้สัมผัสสิ่งของ หนังสือ ที่มีลักษณะการสัมผัสที่แตกต่าง จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการการสัมผัสของลูก ลองให้ลูกจับหนังสือผ้าที่มีเสียง จับตุ๊กตานุ่มๆ จับของเล่นที่มีรูปร่างหรือผิวสัมผัสที่แตกต่าง จะช่วยให้ลูกได้ฝึกทักษะ การรับรู้ทางการสัมผัสได้ดีขึ้น เรียนรู้สิ่งรอบตัวดีขึ้น
- การจับลูกนอนคว่ำ หรือการทำ Tummy Time จับลูกนอนคว่ำ ช่วงส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้หลายอย่างโดยเฉพาะด้านกล้ามเนื้อ ทั้งยังส่งเสริมการมองเห็นของลูกจากการที่ลูกได้เห็นวิวหรือสิ่งของต่างๆ ในมุมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการทำ Tummy time สามารถเริ่มทำได้เร็ว และทำต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ ตามความต้องการของลูกเลยค่ะ
การดูแลสุขอนามัยของเด็กทารก
การดูแลสุขอนามัยของเด็กทารกสำคัญมากๆ วันนี้จะมาบอกถึงวิธีการทำความสะอาดอวัยวะต่างๆของเด็กกันค่ะ
- ทำความสะอาดใบหน้า ศีรษะ ปาก และฟันของทารก – โดยใช้ชุบสำลีก้อนหรือผ้านุ่มๆ ด้วยน้ำอุ่น เช็ดจากตาชั้นในสู่ตาชั้นนอก ใช้สำลีชิ้นใหม่หรือผ้าส่วนที่สะอาดในการเช็ดแต่ละครั้ง – ใช้สำลีก้อนเช็ดด้านหลังและรอบนอกใบหูของทารก อย่าเอาอะไรยัดเข้าไปในหู ในการสระผมของทารก ให้ฉีดน้ำเบาๆ ลงบนศีรษะของทารก เช็ดผมของลูกน้อยให้แห้งโดยค่อยๆ เลื่อนผ้าขนหนูไปมาบนหนังศีรษะ – ใช้น้ำและผ้าชุบน้ำหมาดๆ หลังป้อนอาหารตอนเช้าและเย็น เช็ดฟันด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อฟันซี่แรกของลูกน้อยมาถึง ให้แปรงฟันด้วยน้ำอย่างน้อยวันละสองครั้ง ใช้แปรงสีฟันเด็กขนาดเล็กและอ่อนนุ่ม
- ดูแลและทำความสะอาดเล็บและสายสะดือของลูกน้อย – ใช้กรรไกรตัดเล็บเด็กแบบพิเศษหรือแผ่นกากกะรุน มีคนอุ้มลูกของคุณในขณะที่คุณเล็มขน หรือลองตัดแต่งตอนที่ลูกน้อยของคุณหลับ บนเก้าอี้สูง หรือฟังเพลงโปรด – ล้างมือให้สะอาดก่อนทำความสะอาดสายสะดือของทารก ทำความสะอาดพื้นที่ด้วยน้ำ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตอแห้งหลังจากอาบน้ำ เพื่อช่วยให้ตอไม้หาย หลีกเลี่ยงการคลุมด้วยกางเกงพลาสติกหรือผ้าอ้อม
- การดูแลอวัยวะเพศและสุขอนามัยสำหรับทารก – ให้จับขาของทารกแยกออกจากกัน แล้วเช็ดระหว่างแคมด้วยสำลีก้อนเปียกหรือผ้านุ่มๆ เพื่อขจัดคราบอุจจาระ เริ่มที่ด้านหน้าและค่อย ๆ เช็ดไปด้านหลัง – ให้ล้างบริเวณอวัยวะเพศด้วยน้ำเบาๆ ขณะอาบน้ำ ทำความสะอาดเฉพาะด้านนอกของหนังหุ้มปลายลึงค์ของทารก อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลอวัยวะเพศสำหรับทารก – รอให้ก้นทารกแห้งค่อยใส่ผ้าอ้อม จะช่วยป้องกันผื่นผ้าอ้อมได้
การพักผ่อนนอนหลับของทารกแรกเกิด
- เข้าใจความต้องการของทารกแรกเกิด: การนอนหลับ การให้อาหาร และการเล่น
- ในช่วง 2-3 เดือนแรกของชีวิตของทารก เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ได้ทำความรู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับความต้องการการนอนหลับ การให้อาหาร การเล่น ของลูก
- เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ โดยนอน 14-17 ชั่วโมงในทุกๆ 24 ชั่วโมง เป็นเรื่องปกติที่ทารกแรกเกิดจะหลับในช่วงเวลาสั้นๆ 2-3 ชั่วโมงระหว่างการป้อนนม ทั้งกลางวันและกลางคืน
- นอกจากนี้ เด็กแรกเกิดยังต้องกินนมทุกๆ 2-4 ชั่วโมงอีกด้วย และพวกเขาต้องการความสนใจจากคุณทั้งกลางวันและกลางคืน
- การเล่นของทารกแรกเกิดอาจเป็นแค่การกอดเบาๆ หรือบางครั้งก็ยืดตัวออกและเตะผ้าห่ม คุณอาจพบว่าการเล่นประมาณ 10-20 นาทีก็เพียงพอแล้ว เด็กแรกเกิดบางคนมีความสุขที่ได้เล่นนานกว่านี้
ประโยชน์ของนมแม่
- ประโยชน์สำหรับลูก
- มีสารอาหารครบถ้วน มีสัดส่วนเหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
- มีภูมิต้านทานโรคติดเชื้อ ลูกที่ได้รับนมแม่มักมีสุขภาพแข็งแรง
- ลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้
- ลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานในเด็ก
- ลดอัตราเสี่ยงเรื่องฟันซ้อน ฟันผุกร่อน
- ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ท้องไม่ผูก
- ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านสมอง ทำให้ลูกน้อยเฉลียวฉลาด
- ผลดีด้านจิตใจ ลูกน้อยจะได้รับความอบอุ่นทั้งทางร่างกายและจิตใจ อัน เป็นรากฐานของการพัฒนา อุปนิสัยการเรียนรู้ และปรับตัวของลูกน้อย ยังสามารถช่วยให้คุณแม่ผูกพันกับลูกน้อย
- มีสารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สารควบคุมการเจริญเติบโต ของอวัยวะ และฮอร์โมน
- ทำให้รูปร่างกลับคืนสู่สภาพเดิมเร็วขึ้น
- มดลูกหดรัดตัวดี เข้าอู่เร็ว ขับน้ำคาวปลา ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
- ผลดีทางด้านจิตใจทำให้มารดาเกิดความรักความผูกพันกับบุตร
- สะดวกเพราะให้ลูกกินที่ไหนและเมื่อใดก็ได้
- ลดภาวะโลหิตจาง ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่
ข้อควรระวัง สำหรับทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน
- ไม่ควรให้นมโค นมกล่อง เพราะแรกเกิด ไม่สามารถย่อยและดูดซึมนมวัวได้ทั้งหมดหรือง่ายเท่ากับนมแม่หรือสูตร นั่นเป็นเพราะระดับโปรตีนในนมวัวสูงเกินไปสำหรับทารก ด้วยเหตุผลเหล่านี้ คุณจึงไม่ควรให้นมวัวแก่ทารกเป็นเครื่องดื่มหลักจนกว่าทารกจะมีอายุมากกว่า 12 เดือน
- นมโคธรรมดาเป็นเครื่องดื่มหลัก
- พร่องมันเนย นมข้นหวาน ระเหยเป็นผง หรือนมข้นหวาน
- ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ถั่วเหลือง ข้าว อัลมอนด์ หรือกะทิ เว้นแต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะแนะนำ
คุณแม่คุณพ่อคงเห็นแล้วนะคะว่าแม้ลูกน้อยจะยังใหม่ต่อโลกแต่เขาก็พร้อมที่จะเรียนรู้ ปรับตัว และพัฒนาศักยภาพอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ขอเพียงเราเข้าใจและเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกอย่างรอบด้าน โดยผ่านดูแลอย่างเหมาะสม ด้วยการให้ความรัก ความอบอุ่น ความปลอดภัย ความเอาใจใส่แก่ลูกน้อย อ้อมกอด รอยยิ้ม และการพูดคุยที่อ่อนโยนนะคะ Reference