พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ขวบ มีอะไรบ้าง ดูแลอย่างไร?

พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ขวบ

พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ขวบ มีอะไรบ้าง ดูแลอย่างไร?

พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ขวบ ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องดูแลลูกด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย พูดคุยสื่อสาร และพาไปพบเจอสิ่งใหม่เพื่อให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกัน

เซลล์ประสาทที่อยู่ในสมองของเด็กวัย 3 ปี มีปริมาณถึง 80% ของเซลล์ประสาทของผู้ใหญ่ที่โตเต็มวัย เชื่อมต่อซับซ้อน

ในช่วงปีแรกถึงปีที่สอง พัฒนาการทางสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษาพัฒนามาก มีความสามารถทางภาษา เด็กจะเรียนรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่าระหว่างวันเกิดปีแรกและปีที่สอง

ในช่วงปีที่สอง อัตราการสร้างไมอีลินเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งช่วยให้สมองทำงานซับซ้อนมากขึ้น ช่วยพัฒนาการคิดขั้นสูง

ในปีที่สาม ความหนาแน่นของซินแนปติกในเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า (preconfrontal cortex)สูงถึง 200 เปอร์เซ็นต์ของระดับผู้ใหญ่ทำให้เด็กเข้าใจเหตุและผลได้ดีขึ้นเลือกอ่าน :

พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ขวบ เวลาทองแห่งการพัฒนา

เป็นวัยที่มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาก ที่เห็นได้ชัด คือ เรื่องภาษาและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และด้านอื่นๆก็มีการพัฒนาเช่นกัน ได้แก่ กล้ามเนื้อ ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา

พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ขวบ ด้านอารมณ์

“ฉันเป็นฉันเอง”
เนื่องจากเด็กสามารถไปไหนมาไหนได้เองมากขึ้น ทำให้มีอิสระ อยากทำอะไรเอง ดังนั้นพฤติกรรม ไม่เอา ไม่ทำ เกิดขึ้นแทบจะทุกวัน เช่น ไม่ยอมให้พ่อแม่ป้อน จะกินเอง จะทำอะไรเองทุกอย่าง เมื่อพ่อแม่ไม่ยอมก็เกิดพฤติกรรมร้องดิ้น อาละวาด นั่นเอง

“หยุดไม่อยู่! อยากได้ อยากทำ”
ส่วนใหญ่เมื่อถึงวัย 3 ปี เด็กสามารถคุมตนเองได้ระดับหนึ่ง เพราะสามารถรอได้บ้าง หากเคยมีประสบการณ์ว่าบางครั้งต้องรอถึงจะได้รางวัล ซึ่งความสามารถในการคุมตนเองนำไปสู่ การช่วยเหลือตน
เองและการฝึกขับถ่าย โดยจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ เด็กลุกนั่งได้คล่องแคล่วและเต็มใจที่จะเข้าห้องน้ำ ส่วนใหญ่กว่าจะทำได้จริงจังก็อายุ 3 ขวบไปแล้ว ส่วนการถอดผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้ เด็กส่วนใหญ่มักทำได้ที่อายุ
2.5 ปี

“ความผูกพันแน่นแฟ้นขึ้น” (Attachment)
ความผูกพันที่สร้างขึ้นระหว่างเด็กกับผู้เลี้ยงดู ยังสำคัญ การมีความผูกพันมั่นคง เป็นเรื่องที่จำเป็นต่อพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของเด็กเมื่อโตขึ้น แม้ดูเหมือนเด็กต้องการอิสระและปฏิเสธความช่วยเหลือ
จากพ่อแม่ แต่เด็กก็ยังต้องการให้พ่อแม่อยู่ใกล้ๆ ถ้าเขาไม่เห็นก็จะหงุดหงิดได้

“หนูเป็นคนแบบนี้” (Temperament)
การที่เด็กมีปฏิกิริยาต่อสิ่งที่เผชิญอย่างไร เรียกว่า พื้นอารมณ์ โดยมีเรื่องของพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องบางส่วน 

Chess and Thomas ได้ติดตามเด็กจำนวนมากกว่า 100 คนและพบ 9 ลักษณะของพื้นอารมณ์ ได้แก่ การปรับตัว, ความ active, อารมณ์, สมาธิ ฯลฯ ได้แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ เด็กเลี้ยงง่าย(40%) เลี้ยงยาก(10%) แบบผสม และ แบบปรับตัวช้า (15%) 

ปัญหาการเลี้ยงดู มักเกิดจากการที่ มีความไม่ลงตัวระหว่างพื้นอารมณ์ของเด็ก กับความคาดหวังและบุคลิกภาพของผู้ปกครอง ซึ่งพ่อแม่ไม่ควรคิดว่าเป็นจากการเลี้ยงที่ไม่ดีเพราะพื้นอารมณ์เป็นเรื่องที่มาจากภายในตัวเด็กเอง 

ดังนั้นการที่เด็กดื้อไม่เท่ากัน
อธิบายจากเรื่องของพื้นอารมณ์ โดยเฉพาะเด็กที่ปรับตัวยากและอารมณ์เสียง่าย ก็มักดื้อมาก

พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ขวบ ด้านสติปัญญา

เป็นวัยที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว เช่น

  • มีการคิดเป็นรูปธรรม มีการลองผิดลองถูก พัฒนามากในช่วงอายุ 18-24 เดือน
  • เริ่มมีการเล่นสมมติ เช่น เอากาละมังมาเป็นหมวก หรือมีการเลียนแบบเหตุการณ์ในอดีต
  • เด็กเริ่มเล่นแบบมีจินตนาการ แต่ก็ยังมีความสามารถทางสติปัญญาจำกัด เช่น คิดไม่ได้ว่าคนอื่นรู้สึกยังไง
  • ยังคงมองโลกแบบตนเองเป็นศูนย์กลางและคิดว่าทุกคนจะรู้สึกเหมือนที่ตนเองรู้สึก
  • สามารถแยกแยะ จัดเรียงตามรูปร่างและสีได้
  • เลียนแบบพฤติกรรมของผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ใหญ่และเด็กโต
  • มีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่นๆ
  • เริ่มแสดงพฤติกรรมท้าทาย ระมากขึ้น มองปัญหาแบบมุมเดียว

พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ขวบ ด้านร่างกาย

ด้านการเจริญเติบโต

เริ่มมีอัตราการเจริญเติบโตช้าลง หลังอายุ 2 ปี น้ำหนักเพิ่มขึ้น 2-2.5 กิโลกรัม/ปี สูงขึ้น 6-7 เซนติเมตร/ปี รอบหัวเพิ่มขึ้นเพียง 2.5 เซนติเมตรในช่วงอายุ 2-12 ปี 

อย่างไรก็ตามเด็กวัยนี้ ไม่ควรมีน้ำหนักเท่าเดิมนานเป็นสัปดาห์ ส่วนความสูงที่เพิ่มขึ้นในเด็กปฐมวัยมักเกิดจากการยืดของช่วงล่างมากกว่าช่วงกลางลำตัว มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น และมวลไขมันลดลง ทำให้เด็กวัยนี้ดูเหมือนตัวยืดขึ้น

ด้านการการเคลื่อนไหว

เดินได้เร็วขึ้น ไม่ค่อยล้ม, วิ่งแบบแข็งๆ, เดินขึ้นบันได มือเดียวจับ, ปีนขึ้นเก้าอี้
วิ่งเร็วขึ้น, เดินขึ้นลงบันไดตามลำพัง, เตะบอลลูกใหญ่ ดินขึ้นบันไดสลับเท้า, ขี่รถสามล้อ, ยืนขาเดียวได้ช่วงสั้นๆ กล้ามเนื้อมัดเล็กหนูทำงานได้ดีขึ้น เช่น ขีดเขียนยุกยิก ขีดเส้นตรง ลอกรูปวงกลมได้

12-18 เดือน
⦁ ยืนเองได้ชั่วครู่  จูงมือเดิน  เดินได้เอง
⦁ วางของซ้อนกันได้ 2 ชิ้น 
⦁ ใส่วงกลมลงในช่อง  ปักหมุดลงในช่อง
⦁ เรียกพ่อแม่ หรือพูดคำพยางค์เดียวที่มี
⦁ พูดคุย ชี้บอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  ใช้คำ
⦁  บอกส่วนต่างๆบนใบหน้า 1-3 ส่วน
⦁  ใช้ช้อนตักอาหารแต่ยังหกบ้าง

วิธีการส่งเสริมพัฒนาการ
⦁ ให้ลูกมีโอกาสยืน เดิน ด้วยตัวเอง
⦁ ให้เล่นของเล่นที่ต้องลากดึง 
⦁ ให้เล่นของเล่นเพื่อการเรียนรู้  เช่น หมุดไม้  หยิบห่วงใส่แท่งไม้
⦁ สั่งง่าย ๆ ให้ลูกทำตาม
⦁ ให้หยิบตักอาหารรับประทานเอง

18-24 เดือน
⦁ เดินได้คล่อง  วิ่งได้  จูงมือเดียวเดินขึ้น
⦁ บันได  เดินถอยหลัง  เตะลูกบอล
⦁ วางของซ้อนกันได้ 4-6 ชั้น  แยกสี 2 สี
⦁ ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่งๆ  ขีดเส้นตรงในของสี  รูปทรง  มากขึ้น
⦁ ชี้รูปภาพตามบอกได้
⦁ พูดคำโดดได้มากขึ้น พูดเป็นวลี 2-3
⦁  พยางค์ต่อก้นเมื่ออายุ 2 ปี  บอกชื่อเล่น
⦁ ใช้ช้อนตักอาหารเองได้  เริ่มถอดเสื้อผ้าเองได้

วิธีการส่งเสริมพัฒนาการ
⦁ พาลูกเดินเล่นในสนามหญ้า  สนามเด็กเล่น เตะบอล ปีนป่าย
⦁ ให้เล่นของเล่นที่ซับซ้อนกว่าเดิม เน้นเรื่อง
⦁ พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว ให้ดูภาพ เล่าเรื่อง เล่านิทานสั้น ๆ
⦁ เริ่มฝึกการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะให้เป็นที่ เช่น กระโถนหรือส้วมที่ดัดแปลงให้เหมาะกับลูก

3 ปี
⦁ เตะบอล  ขว้างบอล  กระโดดอยู่กับที่
⦁ เดินขึ้นลงบันได  ขี่จักรยาน 3-4 ล้อ
⦁ เปิดหนังสือทีละแผ่น  ต่อก้อนไม้สูง 8 ชั้น เขียนกากบาท  และวงกลมได้ตาม เช่น รู้จักจำนวน 1-3 ชิ้น  รู้จักรอให้และรับ
⦁ พูดได้เป็นประโยค  โต้ตอบได้ตรงเรื่อง
⦁ บอกชื่อตัวเองได้ ร้องเพลงง่าย ๆ
⦁ อาจพูดบางคำไม่ชัด
⦁ บอกเวลาจะถ่ายอุจจาระ  ถอดเสื้อผ้า และใส่เองได้ เริ่มเล่นเข้ากลุ่มแยกจากแม่ได้บ้าง

วิธีการส่งเสริมพัฒนาการ

⦁ ให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนามกับเด็กอื่น  เล่น ปืนป่าย  กระโดด   ขึ้นบันได  ขี่จักรยาน 3 ล้อ โดยดูแลให้ปลอดภัยระวังอุบัติเหตุ
⦁ ฝึกขีดเขียน  ระบายสี  นับเลข  เล่นบทบาทสมมุติ  หาของเล่นที่มีสี  ขนาด  รูปทรง หรือพื้นผิวที่แตกต่างกัน
⦁ พูดคุยเล่านิทาน  ร้องเพลงกับลูก  ส่งเสริมให้ลูกพูด  เล่าเรื่อง  ร้องเพลง  และทำท่าทาง
⦁ สนใจความรู้สึกของลูก  และตอบสนองโดยไม่บังคับ หรือตามใจจนเกินไป
⦁ ฝึกให้ลูกรับประทานอาหาร  แต่งตัวเอง  และไปเข้าส้วมเมื่อจะถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะทุกครั้ง โดยมีผู้คอยดูแลช่วยเหลือ

อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี

ถือเป็นช่วงแห่งการเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง และอาหารก็คือกำลังสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยเป็นรากฐานแห่งพัฒนาการของลูกได้ โดยเฉพาะอาหารหลัก 5 หมู่ และสร้างนิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพไปตลอดชีวิต

คาร์โบไฮเดรต : มีอยู่มากในข้าว แป้ง ขนมปัง 

โปรตีน : แหล่งโปรตีนสำคัญๆ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ ถั่ว ธัญพืช และนมสด เป็นต้น เป็นขุมพลังที่สร้างการเจริญเติบโตตั้งแต่กระดูก กล้ามเนื้อ ไปจนถึงเส้นผม และทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อใหม่ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ชำรุด ควบคุมการทำงานของปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย

ไขมัน : เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงสุด และจำเป็นต่อการเจริญเติบโต เพราะเป็นที่ละลายวิตามิน เอ ดี อี และเค ทั้งนี้ ยังเป็นส่วนประกอบของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบประสาท เนื้อเยื่อ และผนังเซลล์ สุดท้ายไขมันใต้ผิวหนังยังช่วยลดการกระทบกระเทือนของอวัยวะต่างๆ ด้วย

วิตามินและแร่ธาตุ : เด็กๆ ที่วิ่งเล่นจนเหนื่อยอ่อน จะสูญเสียสังกะสีทางเหงื่อและปัสสาวะ โดยสังกะสีมีมากใน อาหารทะเล ไข่ จมูกข้าวสาลี ส่วนแหล่งอาหารที่มีแร่ธาตุอื่นๆ สูงได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ผัก ถั่ว และผลไม้โดยเฉพาะกล้วย 

วิตามินในผลไม้ยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยบำรุงสมองและทำให้ระบบประสาททำงานได้ดี สามารถสั่งงานให้ร่างกายส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างปกติ

นอกจากนี้ความหวานของผลไม้ยังช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น แบบไม่มีพลังงานเหลือเกินความจำเป็น เพราะเป็นความหวานที่ได้จากน้ำตาลฟลุกโตสซึ่งให้พลังงานน้อย และทำให้เกิดฟันผุได้น้อยกว่าความหวานจากขนมต่างๆ ด้วย

แหล่งอาหารสำคัญของเด็กวัย 1-3 ปี

นม – สามารถดื่มนมวัวชนิดธรรมดาได้แล้ว และไม่ต้องกลัวว่าลูกจะอ้วน เพราะลูกอยู่ในวัยที่ใช้พลังงานทั้งวัน นมจะไปช่วยให้ร่างกายลูกเจริญเติบโตเร็วขึ้น 

ส่วนวัย 2 ขวบขึ้นไปหรือเมื่อลูกเริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาล หากคุณพ่อคุณแม่จะเปลี่ยนให้ลูกมาดื่มนมไขมันต่ำ หรือนมพร่องมันเนยก็สามารถทำได้ในช่วงวัยนี้ ส่วนนมผสม เช่น นมช็อกโกแลต จะมีน้ำตาลผสมมากกว่านมสดทั่วไป แต่ในแง่ของคุณค่าของสารอาหารแล้วไม่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าหลีกเลี่ยงนมผสมเหล่านี้ได้ก็จะดี 

สารอาหารในนมนั้นจะมีแคลเซียมสร้างกระดูกให้หนาและแข็งแรง โดยควรได้รับนมวันละไม่ต่ำกว่า 3/8 ออนซ์ ร่างกายจึงจะได้แคลเซียมพอเพียงต่อการสร้างกระดูก


ผลไม้ – เริ่มจากให้ทีละชนิด จะได้เรียนรู้รสชาติของผลไม้แต่ละอย่างที่แตกต่าง ให้หม่ำเป็นชิ้น(ขนาดพอคำ) เพราะจะได้เส้นใยจากผลไม้มากกว่าปั่นเป็นน้ำ เลือกชนิดที่มีเนื้อนิ่ม ยุ่ย เคี้ยวง่าย เช่น มะละกอสุก กล้วยสุก มะม่วงสุก เป็นต้นและสลับชนิดผลไม้และหน้าตาให้หลากหลาย เพื่อให้ได้วิตามินเอ ซี ครบถ้วน


แป้ง – ตัวการสร้างพลังงาน ซึ่งลูกจะชอบกินเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวโดยเฉพาะเส้นใหญ่ เพราะกินง่ายลื่นคอ ไม่แข็งแห้งเกินไป ควรปรับให้คาร์โบไฮเดรตมีความหลากหลาย เช่น มักกะโรนี หรือขนมปัง


เนื้อสัตว์ – ลูกสามารถกินเนื้อสัตว์ได้ทุกชนิดแล้ว สามารถให้ลูกลองกินเนื้อปลา อกไก่ฉีก หรือหมูสับ ตุ๋นปรุงรสเล็กน้อยเพื่อให้ลูกกินง่าย โดยสัดส่วนต้องมีปริมาณสูงในแต่ละมื้อ เพื่อเป็นสารอาหารในการเจริญเติบโต

ปัญหาการกินและการแก้ไขของเด็กวัย 1-3 ปี

ไม่กินผัก

ลูกอาจจะมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับผัก เช่น ถูกบังคับให้กินเมื่อยังไม่พร้อม อีกทั้งกากใยของผัก เมื่อสัมผัสถูกลิ้นแล้วทำให้รู้สึกสากๆ ไม่นุ่มนิ่มเหมือนอาหารประเภทอื่น และไม่มีใครในบ้านกินผักให้ดูเป็นตัวอย่างเลย

เด็กเล็กๆวัย 1-3 ปี มักจะชอบอาหารรสอ่อน ไม่ชอบผักหรือของที่จะต้องเคี้ยวมากๆ ควรเลือกผักที่นิ่มและมีรสหวานอ่อนๆ เช่น แครอท มะเขือเทศ

เลือกผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน ต้มหรือผัดให้เปื่อยนิ่มกินง่าย ปรุงรสชาติด้วยซอสปรุงรส เกลือเล็กน้อย และน้ำตาล เพื่อสร้างสุนทรีย์ในการกิน ชวนลูกปลูกผัก ง่ายๆ เพื่อสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจในการกินผัก

ไม่กินเนื้อสัตว์

เด็กๆ บางคนไม่ยอมกินเนื้อสัตว์ จะชอบกินแต่ข้าว ขนมปัง และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์เพราะความเหนียวหรือกลิ่น แม้ว่าจะสับละเอียดแล้วแต่ลูกก็มักจะคายทิ้งออกมา

  • หาสารอาหารที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ เช่น ไข่ เต้าหู้ หรือโปรตีน
  • ให้ลูกดื่มนมเสริม
  • พยายามปรับให้ลูกกินเนื้อสัตว์ เริ่มจากเนื้อไก่ ปลาน้ำจืด เพราะไม่มีกลิ่น กินง่าย

เบื่ออาหาร

เด็กเริ่มจะเรียนรู้เรื่องกินแบบผู้ใหญ่ และปฏิเสธอาหารที่ไม่น่าสนใจไม่จูงใจ มีสิ่งอื่นที่น่าสนใจกว่าอาหาร หรือบรรยากาศในการกินไม่ดี ฯลฯ

  • พยายามให้ลูกกินไข่ให้ได้วันละ 1 ฟองเพื่อการันตีว่าลูกได้สารอาหารที่สำคัญ
  • งดของกินจุบจิบหรือให้ลูกกินอาหารให้เป็นเวลามากขึ้น
  • กินข้าวกับลูกเพื่อสร้างบรรยากาศ

อมข้าว 

  • ต้องงดอาหารทุกอย่างก่อนมื้ออาหาร ยกเว้นน้ำเปล่า เมื่อลูกหิวจะยอมกินเอง
  • ฝึกลูกให้กินด้วยตัวเอง แม้จะเลอะเทอะบ้างก็ต้องยอม
  • ชมเมื่อลูกกินข้าวได้มาก

เลือกกิน

  • ให้ลูกได้ลิ้มลองอาหารแปลกใหม่เสมอ โดยค่อยๆ ป้อนทีละน้อย
  • พยายามสร้างความรู้สึกที่ดีกับอาหารที่ลูกปฏิเสธ เช่น กินให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วให้ลูกลองชิมดูบ้าง
  • ลองดัดแปลงจัดปรุงอาหารให้ดูน่ากิน แปลกใหม่ไม่ซ้ำซาก

ติดฟาสฟูดส์ 

  • ตั้งเป็นกฎในบ้านเลยว่า จะให้ลูกกินได้เดือนละกี่ครั้ง
  • ไม่ซื้อขนมกรุบกรอบทิ้งไว้ที่บ้านเป็นจำนวนมากๆ เปลี่ยนเป็นผลไม้ หรือถั่วต่างๆจะดีกว่า

6 วิธีในการทำให้มื้ออาหารของครอบครัวสนุกสนาน

1. จัดสรรเวลารับประทานอาหารร่วมกันเป็นประจำ
ทำให้ช่วงเวลานี้พิเศษยิ่งขึ้นด้วยการรับประทานอาหารร่วมกัน โดยปิดโทรทัศน์และโทรศัพท์

2. ลดความเร่งรีบ
หากคุณเผื่อเวลาไว้ประมาณ 20-30 นาทีสำหรับมื้ออาหารของครอบครัว ก็จะทำให้ลูก มีเวลารับประทานอาหารมากขึ้น มีโอกาสลองอาหารใหม่ๆ และพัฒนานิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณแม่มีเวลาพักผ่อน สนทนา และสนุกสนานกับครอบครัว

หากคุณมีลูกวัยเตาะแตะที่รู้สึกลำบากใจที่จะนั่งเฉยๆ เป็นเวลา 20 นาที ก็ไม่เป็นไร หากบางครั้งพวกเขาจำเป็นต้องขยับไปมาบนเก้าอี้หรือลุกจากโต๊ะได้บ้าง

3. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม
การให้ลูกๆ มีส่วนร่วมในการเลือกและเตรียมอาหารสำหรับครอบครัว ตัวอย่างเช่น ล้างผักและผลไม้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยได้โดยการจัดโต๊ะ จะเพิ่มโอกาสที่ลูกจะกินอาหารเหล่านั้น และยังเป้นการกระตุ้นให้เด็ก ๆ ลองอาหารใหม่ ๆ

4. ใช้มื้ออาหารของครอบครัวเป็นโอกาสในการพูดคุย
มื้ออาหารของครอบครัวเป็นวิธีที่ดีในการติดตามสิ่งที่ลูกเผชิญในวันนั้น การถามคำถาม เช่น ‘บอกคุณแม่เรื่องดีๆ หนึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนวันนี้’ อีกแนวคิดหนึ่งคือให้ทุกคนผลัดกันแบ่งปันสิ่งที่ดีและไม่ดีเกี่ยวกับวันของตน วิธีนี้จะทำให้ลูกไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียด

แต่ถ้าลูกไม่อยากพูดจริง ๆ จะเป็นการดีที่สุดที่จะไม่เร่งเร้าหรือพูดเรื่องที่งอนมากเกินไป เป็นเรื่องดีสำหรับลูกของคุณที่ได้อยู่กับครอบครัวและฟังคนอื่นพูด แนวคิดคือการทำให้เวลารับประทานอาหารสนุกสนานและเข้าสังคม

5.เน้นการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างเอร็ดอร่อย
หลีกเลี่ยงการพูดถึงปริมาณอาหารหรืออาหารที่รับประทานเข้าไป จะช่วยลดความกดดันที่เด็กบางคนรู้สึกอยากรับประทานได้ สิ่งนี้จะทำให้เวลารับประทานอาหารของเด็กผ่อนคลายและสนุกสนานมากขึ้น

ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการพูดว่า ‘ว้าว ทำได้ดีมาก น่ากินจัง’ หรือ ‘ดูน้องสาวของลูกสิ น้องกินมากกว่า’ และหลีกเลี่ยงการใช้อาหารเป็นการลงโทษหรือติดสินบน ตัวอย่างเช่น ไม่ควรพูดว่า ‘ถ้ากินบรอกโคลี แม่จะให้ทานไอศกรีมเป็นของหวานได้’ สิ่งนี้จะทำให้ลูกสนใจขนมมากกว่าอาหารเพื่อสุขภาพ

6. สร้างสรรค์เวลารับประทานอาหาร
เมื่อมีเวลาและโอกาส การสร้างสรรค์และสนุกสนานกับมื้ออาหารสามารถมอบสิ่งที่รอคอยให้กับทั้งครอบครัวได้ ตัวอย่างเช่น นี่คือแนวคิดที่จะลอง: ปิกนิกที่สวนสาธารณะ ในสวนหลังบ้าน หรือบนพื้นห้องนั่งเล่น
เชิญแขกพิเศษมาทานอาหารเย็น เช่น เพื่อน ปู่ย่าตายาย หรือเพื่อนบ้าน

เกี่ยวกับการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีความสำคัญต่อสุขภาพของลูกคุณ ช่วยให้ลูกของคุณเคลื่อนไหว พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ช่วยให้ลูกคิด และเปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจโลกของพวกเขา ดังนั้นลูกของคุณจึงต้องการโอกาสมากมายสำหรับการเล่นที่กระตือรือร้น รวมถึงการเล่นกลางแจ้งที่กระตือรือร้น

เกี่ยวกับสุขภาพ

อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ในวัยเด็ก เช่น หวัด ปวดหู และกระเพาะและลำไส้อักเสบ โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ในระยะยาวต่อพัฒนาการ แต่ความพิการ พัฒนาการล่าช้า และภาวะเรื้อรังหรือระยะยาวอาจส่งผลต่อพัฒนาการได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความทุพพลภาพสามารถช่วยให้คุณเข้าใจสภาพของลูกน้อยและผลกระทบต่อพัฒนาการอย่างไร

เทคนิคป้องกันอาการวัยทองของลูกน้อย

อาการ Temper tantrum หรืออาการวัยทอง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในวัย 1-4 ขวบ เนื่องจากสมองในการควบคุมอารมณ์ของลูกยังทำงานไม่เต็มที่ ทำให้การแสดงออกทางอารมณ์ของลูกค่อนข้างจะรุนแรง เช่น การร้องไห้ ทำลายของ หรือ การทำร้ายคนอื่น

แต่จริงๆ อาการนี้สามารถป้องกันได้นะคะ วันนี้จะมาแนะนำแนวทางในการป้องกันอาการนี้ค่ะ

ทำกิจวัตรประจำวันให้สม่ำเสมอ เด็กๆ ชอบอะไรที่เป็นกิจวัตร ที่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ การทำอะไรที่เป็นกิจวัตรสม่ำเสมอ เช่น ทานข้าว นอนกลางวัน เข้านอน จะช่วยทำให้กิจวัตรทุกอย่างราบรื่นได้

1.ให้ลูกได้มีตัวเลือก
ลูกจะเริ่มรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร บางครั้งลูกอาจรู้สึกถูกบังคับหากไม่ได้เลือก การให้ลูกได้เลือกบ้างจะช่วยลดอาการนี้ได้ เช่น อาจมีของ 2 อย่างให้เลือกทาน หรือเลือกเล่นเป็นต้น

2.ให้ลูกได้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ลูกมักจะสนใจการเล่น จนบางครั้งลืมความง่วงไป แต่เรามีหน้าที่ในการจัดตารางการนอนให้เป็นเวลา เนื่องจากการที่ลูกไม่ได้พัก จะมีภาวะเหนื่อยสะสมทำให้เมื่อง่วงนอนมากๆ อาจทำให้เกิดอาการ temper tantrum ได้ และยากที่จะทำให้อาการสงบ

3.ให้ลูกได้ทานอาการตามเวลา
ลูกของเรามักจะไม่รู้สึกหิวเอง จนกระทั่งเห็นอาหาร เรามีหน้าที่ให้ลูกได้ทานอาหารตามเวลา เนื่องจากการที่ลูกหิวมากๆ มักจะทำให้เกิดอาการ temper tantrum ได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้น อย่าให้ลูกหิวจัดนะคะ

4.ให้สัญญาณก่อนการเปลี่ยนกิจกรรม
ลูกมักจะไม่พอใจเมื่อ ถูกบอกให้หยุด หรือต้องออกจากที่ที่กำลังสนุก ดังนั้น ลูกมักจะเกิดอาการ temper tantrum ได้ง่าย หากต้องเปลี่ยนกิจกรรมในทันที 

เทคนิคในการป้องกันคือ การแจ้งลูกล่วงหน้า ว่าจะมีการหยุดเล่น หรือเปลี่ยนกิจกรรม เช่น เดี๋ยวเราจะเล่นต่ออีก 5 นาที แล้วเราจะไปทานข้าวนะคะ หรือ ฟังเพลงนี้จบเราจะไปอาบน้ำกันนะคะ เป็นต้น การแจ้งล่วงหน้าจะทำให้เค้าได้รู้ว่าอะไรจะกำลังจะเกิดขึ้น และสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่า

5.หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอาการ
เด็กแต่ละคน อาจมีตัวกระตุ้นอาการ temper tantrum ที่แตกต่างกัน เช่น อาการง่วง อาการหิว ซึ่งหากเราพอจะเดาอาการได้ ให้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านั้นล่วงหน้า จะช่วงลดอาการ temper tantrum หรืออาการวัยทองของลูกน้อยได้ค่ะ

6.หลีกเลี่ยงการห้าม
ลูกมักจะรู้สึกไม่พอใจหากถูกห้ามทำอะไรบ่อยๆ ให้เปลี่ยนมาเป็นการบอกว่าเค้าควรทำยังไงแทน เช่น เมื่อลูกกำลังจะปีนโต๊ะ หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า ห้ามปีนโต๊ะนะ เปลี่ยนเป็น โต๊ะมันสูงมากหากหนูปีนจะตกเป็นอันตรายได้ ให้แม่ช่วยอุ้มขึ้นหรือไปเอาบันไดมามั๊ยคะ? เป็นต้น การแนะนำว่า ควรทำให้เหมาะสมอย่างไร จะป้องกันอาการ temper tantrum และแนะแนวทางให้ลูกได้

7.ชื่นชมเมื่อทำความดี
เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และทำความดี ควรให้การชื่นชมบ่อยๆ เพราะ การที่เค้าเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสม เค้าจะเริ่มปรับมาใช้เมื่อเค้าเริ่มมีอารมณ์ของ temper tantrum และสามารถลดอาการเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราต้องเข้าใจคือ อาการวัยทอง เป็นหนึ่งในพัฒนาการที่ปกติของลูก ลูกอาจจะยังมีอาการเหล่านี้ได้ จนกว่าสมองส่วนที่สามารถควบคุมอารมณ์ เติบโตได้เต็มที่ ระหว่างนี้ เราควรเรียนรู้การรับมือที่เหมาะสมค่ะ

ความผิดปกติทางพัฒนาการ ที่ควรปรึกษาแพทย์

อายุ 18 เดือน หรือ 1.5 ปี

  • เดินไม่ได้
  • ไม่ชี้สิ่งต่าง ๆ ให้ดู
  • ไม่รู้ว่าสิ่งของที่ใช้เป็นประจำทุกวันคืออะไร หรือใช้เพื่ออะไร
  • ไม่เลียนแบบท่าทางของคนอื่น ๆ
  • ไม่เรียนรู้คำใหม่ ๆ หรือรู้คำศัพท์น้อยกว่า 4 คำ ซึ่งไม่รวมคำเรียกพ่อแม่อย่างปาป๊า มาม้า ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของ
  • ไม่แสดงความสนใจเมื่อพ่อแม่เพิ่งกลับมา หรือดูไม่กังวลเมื่อต้องห่างจากพ่อแม่

อายุ 2 ปี

  • เดินไม่มั่นคง หรือไม่คล่องตัว
  • ยังไม่เริ่มพูดเป็นวลีหรือประโยคสั้น ๆ เช่น กินข้าว กินนม อาบน้ำ เป็นต้น
  • ไม่รู้ว่าสิ่งของที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวันใช้ทำอะไร เช่น จาน ชาม ช้อน แปรงสีฟัน เป็นต้น
  • ไม่เลียนแบบพฤติกรรม คำพูด หรือคำศัพท์จากผู้อื่น
  • ทำตามคำบอกง่าย ๆ ไม่ได้

อายุ 3 ปี

  • มีปัญหาในการเดินขึ้นลงบันได
  • มีน้ำลายไหลออกจากปาก
  • พูดเป็นประโยคไม่ได้ หรือพูดไม่ชัดเป็นอย่างมาก
  • ไม่เข้าใจคำบอกหรือคำแนะนำง่าย ๆ
  • เล่นของเล่นง่าย ๆ ไม่ได้
  • ไม่เล่นบทบาทสมมติเป็นผู้อื่น
  • ไม่สบตาคนอื่น

ปัญหาการนอน

เด็กนอนไม่หลับ 

เมื่อไม่มีสถานการณ์บางอย่างที่ช่วยให้หลับ พ่อแม่ไม่ควรฝึกให้ลูกเรียนรู้ที่จะหลับภายใต้สถานการณ์บางอย่าง เช่น ดูดนม อุ้ม หรือเขย่าตัว จนลูกหลับในอ้อมกอดของพ่อแม่ เพราะจะทำให้ลูกไม่เคยฝึกกล่อมตัวเองจนหลับเองได้ทั้งช่วงเริ่มต้นของการนอนหลับ หรือเมื่อตื่นกลางดึก หากไม่มีสถานการณ์เหมือนๆเดิม

การปรับพฤติกรรม

เมื่อเด็กอายุประมาณ 1 ปี พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกนอนพร้อมกับสิ่งที่จะช่วยให้ลูกสามารถหลับเองได้ ในช่วงเริ่มต้นของการนอน หรือเมื่อลูกตื่นมากลางดึก เช่น ผ้าห่มผืนโปรดของลูก ตุ๊กตาที่ชอบกอด เป็นต้น โดยพ่อแม่ควรกล่าวชื่นชมลูก เมื่อลูกสามารถหลับเองได้ ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมการนอนของลูก

ไม่ยอมเข้านอน

ควรฝึกลูกให้นอนอยู่บนที่นอนของเขาตั้งแต่แรก คอยลูบตัว ลูบหลังให้หลับไปเองโดยไม่ต้องอุ้มขึ้นมาตั้งแต่แรกเกิดเลยก็ได้ทำซ้ำๆ ทุกๆ ครั้ง สุดท้ายทารกก็จะเคยชินกับการเข้านอนแบบที่พ่อแม่สอน

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมเข้านอนในช่วงเวลากลางคืน

  • นอนช่วงกลางวันมากเกินไป
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ไม่วางกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน เช่น ให้ลูกนอนดึกในวันหยุด

การปรับพฤติกรรม

พ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนช่วงกลางวันมากเกินไป ควรพาลูกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ลูกมีสุขนิสัยการนอนที่ดี อีกทั้งต้องปรับกิจวัตรก่อนนอนให้ชัดเจน ฝึกลูกให้นอนใกล้เวลาที่กำหนดไว้Reference

  1. Raising Children Network , The Australian Parenting Website
  2. HARVARD T.H .CHAN | School of Public Health

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *