เด็กฆ่าตัวตาย ! สาเหตุและวิธีป้องกัน

เด็กฆ่าตัวตาย

เด็กฆ่าตัวตาย ! สาเหตุและวิธีป้องกัน

เด็กฆ่าตัวตาย ? ได้ยินข่าวทำนองนี้ทีไร ผมรู้สึกสงสารจับใจ ทำไมต้องคิดสั้นด้วย อายุยังน้อยแท้ๆ แต่ผมก็เข้าใจนะว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง ไม่มีทางออก ชีวิตถูกบีบคั้น ทางออกสุดท้ายคือจบชีวิตตัวเอง

การฆ่าตัวตาย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 ของวัยรุ่นไทย ข้อมูลจากศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต รายงานถึงจำนวนคนฆ่าตัวตายสำเร็จหรือเสียชีวิตดังนี้

ในกลุ่มวัยเรียนอายุ 15-24 ปี ในปี 2563 อยู่ที่ 428 คน และปี 2564 อยู่ที่ 439 คน

ส่วนกลุ่มวัยทำงานตอนต้น อายุ 25-34 ปี พบว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ในปี 2563 จำนวน 896 คน และปี 2564 จำนวน 956 คน

คือมันเพิ่มขึ้น มันแปลกไหมล่ะครับ ที่ทุกวันนี้เทคโนโลยีพัฒนาเอาๆ แค่จิตใจคนกลับแย่ลงๆ โลกนี้กำลังผิดเพี้ยนอยู่แน่ๆ

แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้โลกมันน่าอยู่ขึ้น เพื่อให้เด็กๆ ผ่านเรื่องราวร้ายๆไปให้ได้ จนกว่าพวกเขาจะเรียนรู้ชีวิตได้มากพอจนมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

หลักๆที่ผมคิดไว้คือต้องศึกษาทำความเข้าใจถึงสาเหตุการฆ่าตัวตาย และเน้นไปที่วิธีการป้องกันเป็นหลักครับเลือกอ่าน :

เด็กฆ่าตัวตาย สาเหตุและวิธีป้องกัน

การฆ่าตัวตาย คืออะไร?

การฆ่าตัวตาย คือ การทำร้ายชีวิตของตนเองด้วยวิธีการต่างๆ เช่น กินยาเกินขนาด ใช้เชือกรัดคอตนเอง ใช้อาวุธปืนยิงตนเอง รวมถึงคนที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย มีความพยายามในการฆ่าตัวตาย

คือมันมีหลายวิธีมากๆ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตายง่ายมาก หากคนๆนึงมีความคิดอยากฆ่าตัวตายแล้วอย่าหวังจะป้องกันเขาได้เลย ทางที่ดี ป้องกันก่อนที่มันจะเกิดความคิดอยากฆ่าตัวตาย ยังจะง่ายกว่าครับ

ปัจจัยที่ทำให้เด็กฆ่าตัวตาย

1. เป็นผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า

คือป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้ว หรือเคยเป็น อาจเกิดจากพบเจอเหตุการณ์แย่ๆในชีวิต เช่น พ่อแม่หย่าร้างกัน การย้ายบ้านไปอยู่ที่ไกลๆ การสูญเสียเพื่อนสนิทหรือสมาชิกในครอบครัว
ถูกคนอื่นด่าว่าทำให้ด้อยค่าตัวเอง อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการแข่งขันมากเกินไปจนกดดันตัวเอง ติดจอมือถือติดโซเชียลรับเอาความคิดลบของคนอื่นมาใส่ตัวเองซ้ำๆ การเสพข่าวที่เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายซ้ำ ๆ อาจทำให้เกิดการลอกเลียนแบบได้

หากสังเกตเห็นว่ามีอาการซึมเศร้าเกิน 2 สัปดาห์ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันทีอย่ารีรอ

2. เป็นผู้ป่วยโรคไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่ซับซ้อน คนที่ป่วยโรคนี้จะมีอาการตื่นตัวมากในช่วงที่มีอารมณ์ขึ้น มีระดับความตื่นเต้นที่มากเกินจริง บางทีก็ไม่ต้องนอน สลับกับอารมณ์จิตตก รู้สึกเศร้า สิ้นหวัง และไม่สนใจสิ่งรอบข้าง อาการขึ้นๆ ลงๆ อยู่นานหลายวันหรือหลายสัปดาห์

ไบโพลาร์เป็นโรคทางจิตใจ ไม่ใช่นิสัย ไม่ใช่บุคลิก เรียกง่ายๆ คือ อารมณ์สองขั้ว บางช่วงมีอารมณ์เศร้าเหมือน “โรคซึมเศร้า” บางช่วงมีอารมณ์อีกขั้ว คือ อารมณ์คึก คะนอง อารมณ์ดีเกินไป

“โรคไบโพลาร์สามารถพบเจอในเด็กที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น เนื่องจากเป็นช่วงที่อารมณ์แปรปรวนมากอยู่แล้ว แต่คนมักจะดูไม่ออก คิดว่าเป็นเพียงอารมณ์แปรปรวนตามประสาวัยรุ่น เด็กที่มีแนวโน้มจะเป็นคือ เด็กที่มีอารมณ์เศร้ามากแบบเด่นชัด และเด็กที่มีอารมณ์ดีมากเกินไปจนผิดปกติ

3. มีปัญหาครอบครัว

เด็กไม่ได้รับความอบอุ่นเท่าที่ควร การถูกทอดทิ้ง ขาดทั้งพ่อและแม่ในการดูแล การปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังโดยไม่มีใครว่างพอจะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ 

การสูญเสียสมาชิกในครอบครัวทำให้เกิดความเศร้าความกังวลต่ออนาคต ตามมาด้วยภาระปัญหาหนี้สินและค่าใช้จ่ายภายในบ้าน เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว ทำให้บรรยากาศแวดล้อมมีแต่ความเครียด

เมื่อเด็กหาทางออกไม่ได้ ไม่มีคนให้คำปรึกษา ก็หันไปพึ่งสื่อออนไลน์ ซึ่งบางทีเด็กรับข้อมูลมาไม่ถูกต้อง เกิดการหมกมุ่นและสะสมความเครียดมาเรื่อยๆ จนเกิดความคิดฆ่าตัวตายชั่ววูบSapiens Health แนะนำ

คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องความวิตกกังวลของเด็กได้ที่บทความ โรควิตกกังวล จากการแยกจากในเด็ก (Separation Anxiety Disorder) ครับ

4. มีปัญหาส่วนตัว

ผู้ปกครองเข้มงวดเกินไป เกิดแรงกดดัน นำไปสู่ความเครียดต่อเนื่อง

ถูกเพื่อนแกล้งที่โรงเรียนอยู่เสมอ ไม่มีเพื่อนที่คอยปกป้อง ด้อยค่าตัวเอง

การเลิกคบกับแฟน การเสียชีวิตของคนรัก

ถูกทำร้ายร่างกายจากคนใกล้ตัว หรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หาทางออกไม่ได้ เกิดความเครียดสะสม

5. มีภาวะติดสุราหรือสารเสพติด

เด็กอาจเคยผ่านสถานการณ์ที่แย่ๆมาก่อน จนหันไปเดินสู่เส้นทางอบายมุข การดื่มสุราและการใช้สารเสพติดจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจฆ่าตัวตาย

6. มีปัญหาด้านการเข้าสังคม

ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ไม่มีศรัทธาและไม่มีศาสนาที่เป็นที่พึ่งทางใจ การอยู่ในสภาพสังคมที่บีบคั้นในหลายๆเรื่อง การแข่งขันสูง ความไร้น้ำใจของผู้คน การมองโลกในแง่ร้าย สิ่งเหล่านี้สร้างแรงกดดันอย่างมาก อาจเกิดเป็นอารมณ์ชั่ววูบคิดฆ่าตัวตายได้

7. มีปัญหาสุขภาพ

เป็นโรคเรื้อรัง พิการ มีอาการเจ็บปวดรุนแรงจากโรคเป็นระยะเวลานาน การติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น และใช้วิธีหลุดพ้นจากความทรมานเหล่านี้โดยการฆ่าตัวตาย

อาการของคนที่มีแนวโน้มคิดฆ่าตัวตาย

1. พูดคุยเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย

บอกเป็นนัยว่า ถ้าไม่อยู่ในโลกนี้แล้ว… หรือพูดถึงความรู้สึกสิ้นหวัง ความหดหู่ เบื่อโลก ไม่อยากอยู่ในโลกนี้แล้ว

2. ทำตัวเหินห่าง

พยายามถอยห่างจากเพื่อนหรือครอบครัวเพราะไม่มีอารมณ์อยากคุยด้วย ไม่ออกไปเที่ยวข้างนอก เก็บตัวอยู่ในห้อง

3. เขียนบันทึกที่เกี่ยวกับความตาย

เขียนเกี่ยวกับการจากลา เรื่องราวหลังจากที่ตัวเองตายไปแล้ว เป็นบทเพลง บทกวี หรือจดหมาย หรือเริ่มแจกสิ่งของล้ำค่าของตัวเองให้พี่น้องหรือเพื่อนฝูงเขียนเกี่ยวกับการจากลา เรื่องราวหลังจากที่ตัวเองตายไปแล้ว เป็นบทเพลง บทกวี หรือจดหมาย หรือเริ่มแจกสิ่งของล้ำค่าของตัวเองให้พี่น้องหรือเพื่อนฝูง

4. เบื่อหน่ายชีวิต

หมดความสนใจในกิจกรรมที่ตัวเองเคยชอบ ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ปกติชอบเตะบอลหลังเลิกเรียนแต่อยู่ดีดีก็บอกไม่อยากเล่นอีกแล้ว เบื่อ ไม่อยากทำอะไรเลย ชีวิตไร้จุดหมาย

5. ความอยากอาหารหรือน้ำหนักเปลี่ยนไป

ไม่สนใจกินอาหาร หรือกลับกัน กินอาหารว่างมากเกินปกติ

6. นอนหลับยาก

นอนกระสับกระส่าย ตื่นกลางดึก

7. ร่างกายอ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรง

เนื่องจากขาดพลังใจในการใช้ชีวิตอยู่ต่อ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายไม่มีแรงไปด้วย

8. รู้สึกไร้ค่า

พูดถึงตัวเองในทางลบมากเกินไป โดยอาจเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนฝูง

9. สมาธิสั้น

มีปัญหาในการโฟกัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้า จดจำไม่ค่อยได้ หรือใช้เวลาในการคิดช้ากว่าแต่ก่อน เนื่องจากจิตใจเคยชินกับการสร้างความคิดในแง่ลบอยู่ตลอดเวลา

10. กระวนกระวายใจ

อยู่ไม่สุข มีความปั่นป่วนภายในจิตใจ

หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ 5 อาการ หรือมากกว่า โดยมีอาการเกือบตลอดเวลาหรือเป็นแทบทุกวัน และเป็นนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือไม่ถึง 5 อาการแต่สงสัยว่าเป็น ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

วิธีการดูแลรักษา

1. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แจ้งเจ้าหน้าที่รพ.สต./สอ. หรือเจ้าหน้าสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อจะได้คอยเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย (สังเกตสัญญาณเตือนก่อนที่จะกรทำการฆ่าตัวตาย)

2. การบำบัดโดยครอบครัว

สมาชิกในครอบครัวทุกคนจะต้องร่วมด้วยช่วยกัน เปลี่ยนแปลงการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็กให้ดีมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ไม่ดีบางอย่างที่ทำกันมานานจนชิน

เช่น การใช่น้ำเสียงที่เกรี้ยวกราดอยู่เป็นประจำ การดุด่าว่ากล่าวกันจนติดเป็นนิสัย การด้อยค่าคนในครอบครัวโดยอ้างว่าเพื่อเตือนสติ หรืออะไรก็ตามแต่ที่ทำให้เด็กรู้สึกแย่ลง การเตือนสติมีหลายวิธ๊ คุณไม่จำเป็นต้องใช้วิธีที่โหดร้าย

การบำบัดแบบครอบครัว อาจใช้การวินิจฉัยในหลายๆด้านร่วมกัน เช่น การเป็นภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ปัญหาพฤติกรรม และความผิดปกติของการรับประทานอาหาร

นักบำบัดทำงานร่วมกับครอบครัวเพื่อดูว่าสมาชิกในครอบครัวมีการพูดคุยโต้ตอบกันอย่างไร และทำการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมที่ก่อนให้เกิดปัญหา สมาชิกในครอบครัวต้องเรียนรู้ที่จะสื่อสารกันให้ดีขึ้น การฟังอย่างตั้งใจ และฝึกการควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ไม่ให้กระทบกระทั่งกัน

นักบำบัดยังช่วยให้สมาชิกในครอบครัวเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยการทำความเข้าใจปัญหา การกำหนดเป้าหมายที่ทำได้ การระดมความคิดในการแก้ปัญหา การพัฒนาและการนำแผนปฏิบัติการไปใช้ และประเมินว่าแผนดังกล่าวทำงานได้ดีเพียงใด หลักฐานแสดงให้เห็นว่าการบำบัดด้วยครอบครัวช่วยให้เด็กฟื้นตัวเร็วขึ้นและอยู่ในระยะบรรเทาอาการได้นานขึ้นสำหรับเงื่อนไขหลายประการ

การบำบัดด้วยครอบครัว ตัวเลือกนี้เน้นที่การช่วยเหลือทั้งครอบครัว และใช้สำหรับข้อกังวลด้านสุขภาพจิตในเด็ก รวมถึงภาวะซึมเศร้า อาจต้องมีการสอนพ่อแม่และสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆถึงวิธีช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะซึมเศร้า

3. การบำบัดแบบจับคู่

การบำบัดแบบจับคู่ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการบำบัดทางจิต เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและการแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ มันสามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะทำหน้าที่ในสถานการณ์ทางสังคมกับผู้ใหญ่และเด็กคนอื่นๆ การบำบัดระหว่างพ่อกับลูกชายมีประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดการกับความเศร้าโศกหรือการสูญเสียที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ความขัดแย้งกับผู้อื่น และการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบ้านที่แตกต่างกัน

การสนทนาที่ดีระหว่างคุณกับลูกสามารถช่วยให้คุณประเมินได้ว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นในใจของลูกคุณ และอาจเป็นก้าวสำคัญในการช่วยให้ลูกได้รับความช่วยเหลืออย่างที่เขาต้องการ

เพียงถามลูกของคุณว่า “เคยมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเองหรือไม่?” หรือ “เคยมีความคิดที่จะจบชีวิตของตัวเองบ้างไหม?” ให้ความสำคัญกับการตอบสนองของลูกคุณอย่างจริงจัง

หากลูกคุณบอกว่ามีความคิดหรือความรู้สึกเหล่านี้ หรือมีแว้บเข้ามาในหัวบ้าง หรืออะไรทำนองนี้ที่คล้ายกัน ให้โทรหา สายด่วน สุขภาพจิต 1323 เพื่อขอคำแนะนำทันที และคอยดูแลอย่างใกล้ชิด อย่าปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว พูดเฉพาะในสิ่งที่เขาอยากฟัง ไม่ล้อเลียนพฤติกรรมที่ทำให้เขายิ่งคิดมาก

4. การบำบัดทางความคิด

รูปแบบหนึ่งของการบำบัดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยที่สุด คือการบำบัดพฤติกรรมทางความคิด ใช้สำหรับจัดการความวิตกกังวลและภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ ช่วยให้ลูกของคุณมองเห็นความคิดและความเชื่อเชิงลบที่เกิดขึ้นในหัวของเขาบ่อยๆ 

เช่น การด้อยค่าตัวเองว่ายังไม่ดีพอ (ทั้งๆที่มีคนที่เจอสิ่งที่แย่กว่าเราอีกมากในโลกนี้) หรือการคิดวาดภาพผลลัพธ์ที่เลวร้ายต่อเหตุการณ์ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ และแทนที่ด้วยการรับรู้ความคิดเชิงบวกมากขึ้น เรียนรู้ที่จะรับมือและฝึกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อความคิดที่เปลี่ยนไปในเชิงบวก

การบำบัดทางความคิดสามารถสอนลูกและคนในครอบครัวให้มีทักษะติดตัวในการจัดการกับความคิดเชิงลบและลดแนวโน้มการการเป็นภาวะซึมเศร้าได้

ในช่วงสองสามเดือนแรกของการรักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะกำหนดตารางเวลาการนัดตรวจเพื่อดูว่าการรักษาได้ผลดีเพียงใด และทำการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาตามความเหมาะสม

โดยทั่วไปการรักษาภาวะซึมเศร้าจะเป็นการติดตามผลระยะยาวกับทีมสุขภาพจิตเพื่อเฝ้าระวังการกำเริบของโรคและให้การบำบัดแบบ “กระตุ้น” ตามความจำเป็น

5. การบำบัดกระตุ้นพฤติกรรม

ทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะหลีกเลี่ยงการทำสิ่งที่เคยชอบเพราะความหมดอาลัยตายอยากในชีวิต การบำบัดด้วยการกระตุ้นพฤติกรรมเป็นการบำบัดรูปแบบใหม่ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การหลีกเลี่ยงภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะ มีหลักฐานว่าอาจเป็นประโยชน์ในการรักษาเด็ก 

การบำบัดจะใช้วิธีทำกิจกรรมตามกำหนดเวลา ควบคู่ไปกับการเสริมแรงเชิงบวก เพื่อดึงดูดเด็กให้กลับมามีส่วนร่วมอีกครั้ง ลดความห่างเหิน และปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้น ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือโดยการสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและร่วมกันแก้ปัญหา เอาชนะอุปสรรคทั้งหมดแล้วให้เด็กกลับมามีส่วนร่วมอีกครั้ง

6. การใช้ยา

หากอาการของผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง จิตแพทย์อาจสั่งยาแก้ซึมเศร้า เช่น ฟลูออกซีทีน (โปรแซค, ซาราเฟม และอื่นๆ) ซึ่งพบว่าอาการในเด็กอายุระหว่าง 7 – 17 ปี ดีขึ้น

Fluoxetine เป็นยา SSRI ซึ่งเป็นยาทั่วไปที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรค OCD และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ สามารถช่วยให้การควบคุมอารมณ์ดีขึ้น

7. การบำบัดแบบผสมผสาน

บางครั้งมีการใช้จิตบำบัดและการใช้ยาร่วมกัน

8. จัดตารางกิจวัตรประจำวัน

รักษาตารางกิจวัตรประจำวันของเด็กที่บ้านและที่โรงเรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นประจำ ทำงานบ้าน ทำการบ้าน และกิจวัตรอื่นๆ ของครอบครัว

สิ่งนี้จะทำให้เด็กมีหน้าที่ที่ต้องทำ และช่วยเปลี่ยนจุดสนใจจากที่เคยอยู่ว่างๆ ชอบคิดลบ ก็จัดให้ไปทำกิจกรรมต่างๆ คุณอาจช่วยส่งเสริมเวลาเล่นทางกายภาพ เช่น เล่นกีฬา การฝึกเต้น เล่นดนตรี ที่สำคัญคือต้องให้อิสระในการเล่น

9. นอนให้ได้คุณภาพ

นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกจากห้องนอน การเพิ่มหนังสือสำหรับอ่านเพื่อความผ่อนคลาย ชุดนอนแสนสบาย เครื่องเสียงสีขาว หรือผ้าห่มผืนใหม่

วิธีป้องกันเด็กฆ่าตัวตาย

ผู้ใหญ่บางคนเมื่อได้ยินเด็กบอกว่าจะทำร้ายหรือฆ่าตัวตาย กลับคิดไปว่าเด็กทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ ทั้งที่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่า หากเด็กเรียกร้องความสนใจ แล้วถูกละเลย อาจเพิ่มโอกาสที่จะทำร้ายตัวเองได้ครับ

พยายามเปิดช่องทางพูดคุย สนับสนุน แสดงความห่วงใยและความรัก ถ้าเด็กเล่าเรื่องให้คุณฟัง แสดงว่าคุณเป็นคนที่รับฟังและจริงจังกับข้อกังวลเหล่านั้น 

การทะเลาะกับเพื่อนอาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับคุณ แต่สำหรับเด็กมันอาจรู้สึกเป็นเรื่องใหญ่ อย่ามองข้ามหรือเพิกเฉยต่อสิ่งที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ เพราะมันจะทำให้พวกเขารู้สึกสิ้นหวังมากขึ้น

พ่อแม่บางคนไม่กล้าถามเด็กว่าเคยคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองหรือเปล่า บางคนกลัวว่าการถามจะไปปลูกฝังความคิดเรื่องการฆ่าตัวตายให้อยู่ในหัว บางครั้งการอธิบายว่าทำไมคุณถึงถามก็ช่วยได้ เช่น คุณอาจจะพูดว่า: “คือสังเกตเห็นว่าหนูพูดเกี่ยวกับเรื่องอยากตาย เลยอยากรู้ว่า หนูเคยมีความคิดที่จะพยายามฆ่าตัวตายบ้างไหม? “

หากเด็กรู้สึกไม่สบายใจที่จะพูดคุยกับคุณ ให้แนะนำบุคคลที่เป็นกลางกว่านี้มาพูดคุยแทน เช่น ญาติคนอื่นๆ พระ โค้ช ที่ปรึกษาโรงเรียน หรือแพทย์ที่เด็กรู้จัก

อีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามคือ การตรวจสอบยาอันตรายทั้งหมดในบ้านของคุณ ระวังเรื่องเด็กฆ่าตัวตายด้วยวิธีกินยาเกินขนาด

ความรู้เสริมอื่นๆ

1.การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้า

หากสงสัยว่าเด็กกำลังเป็นภาวะซึมเศร้า ให้ปรึกษาจิตแพทย์เด็ก หรือจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การประเมินอาการซึมเศร้าในวัยเด็กมักจะทดสอบด้วยการเขียนและการพูด ตลอดจนการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว

ผู้ที่เข้ารับการทดสอบคือเด็กที่เข้าข่ายและบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาชิกในครอบครัว เป็นต้น

2.โรงเรียนของเด็กสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างไร

ลองติดต่อโรงเรียนของเด็กเพื่อขอความช่วยเหลือ โรงเรียนอาจเสนอบริการของนักจิตวิทยาหรือที่ปรึกษาของโรงเรียน ซึ่งสามารถช่วยเหลือเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางโรงเรียน และช่วยให้ครอบครัวของคุณได้รับทราบข้อมูลเพิ่มขึ้นได้

บทส่งท้าย

โปรดระลึกไว้ว่า ความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูกอาจทำให้สิ่งต่างๆ แย่ลง สำหรับวัยรุ่นที่อารมณ์แปรปรวนนั้น ความรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกเข้าใจผิด ถูกลดคุณค่า หรือเกิดความคิดฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดได้ง่าย

ทุกคนมีบทบาทในการสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน

พวกเราสามารถสร้างโลกที่เด็กรับรู้ได้ ว่าชีวิตของพวกเขามีคุณค่าในตัวเอง และไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ทุกคนควรมีบทบาทในการเสริมสร้างสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเด็ก และควรมีส่วนร่วมในการป้องกันการสูญเสียชีวิตอันแสนเศร้าจากเหตุการณ์เด็กฆ่าตัวตาย สังคมจะดีขึ้นได้หากทุกคนช่วยกันReference

1. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข | https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30670

2. ศูนย์บริการข้อมูล | ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) | https://resourcecenter.thaihealth.or.th

3. CDC Online Newsroom | https://www.cdc.gov/media/releases/2023/p0213-yrbs.html

4. UNICEF| https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง

5. กรุงเทพธุรกิจ | https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1025931

6. HISO | www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth2020/thai2020_18.pdf

7. ศูนย์เฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย | https://suicide.dmh.go.th/news/view.asp?id=78

8. The National Center for Biotechnology Information | https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3134404/

9. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก | https://www.thaichildrights.org/

10. Nemours KidsHealth – Christina M. Cammarata, PhD | https://kidshealth.org/en/parents/suicide.html

11. https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/09/psychotic-cartoon-press.pdf

12. Mayo Clinic : Top-ranked Hospital in the Nation | https://www.mayoclinic.org/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *