การตรวจเช็คสุขภาพเด็กมีความสําคัญไม่แพ้ผู้ใหญ่ เพราะหากพบความผิดปกติโดยเร็วย่อมช่วยให้ดูแลรักษาได้ทันท่วงที และป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นได้ถูกวิธี ทําให้ไม่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการตามวัยของเด็ก นับเป็นพื้นฐานการมีสุขภาพดีที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย เพื่อให้เจ้าตัวเล็กเติบโตอย่างแข็งแรงในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงในแต่ละระยะของเด็กก็มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น รายละเอียดที่กุมารแพทย์จะต้องติดตามดูแลและเฝ้าระวังจะเยอะกว่าการดูแลผู้ใหญ่ สิ่งที่สําคัญก็คือการติดตามประเมินพัฒนาการ พฤติกรรม การเจริญเติบโตของเด็กว่าเป็นไปอย่างเหมาะสมหรือไม่
การให้คําแนะนําพ่อแม่เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดู การเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาทางสุขภาพ การแนะนําวิธีการส่งเสริมพัฒนาการ การค้นหาปัญหาและแนะนําโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย คุณแม่ที่มีลูกวัยประถม หรือกําลังอยู่ในช่วง 5-12 ปี ต้องคอยดูแลลูกที่กําลังโตทั้งด้านสุขภาพ ความคิด และจิตใจ รวมถึงการเติบโตย่างเข้าสู่วัยรุ่น
เลือกอ่าน :
ตรวจสุขภาพเด็กตามวัย
- การเปลี่ยนแปลงของเด็ก ๆ ในแต่ละระยะก็มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้นรายละเอียดที่กุมารแพทย์จะต้อง ติดตามดูแลและเฝ้าระวังจะมีมากกว่าการดูแลผู้ใหญ่
- เด็กๆ มีสิ่งที่จําเป็นนับสิบรายการที่ต้องทํามากกว่าแค่การให้วัคซีน โดยเฉพาะการติดตามประเมิน พัฒนาการ พฤติกรรม การเจริญเติบโตของเด็ก และการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาทางสุขภาพ
- เด็กมีสุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย เริ่มต้นจากการมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง การตรวจสุขภาพเด็ก ๆ เปรียบเสมือนการเช็คความพร้อมของร่างกาย ว่าจําเป็นต้องเสริมสร้างอะไรตรงไหนหรือไม่
การดูแลสุขภาพเบื้องต้น
บทบาทสําคัญในฐานะพ่อแม่คือการดูแลลูกที่กําลังเติบโตให้แข็งแรงและมีสุขภาพดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดูแลอาหารที่มีประโยชน์ ส่งเสริมสุขภาพและตรวจสุขภาพ รับวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ ให้เวลาเล่นและทํากิจกรรม ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมกับลูก นอนหลับพักผ่อนเป็นเวลา ตลอดจนการดูแลเฉพาะทางใน สภาวะปกติและเจ็บป่วย
การเลือกใช้บริการทางสุขภาพ
ในหลายครอบครัว เด็ก ๆ ยังคงได้รับการดูแลจากผู้ให้บริการทางการแพทย์รายเดิมที่ดูแลตั้งแต่ยังเป็นทารก การที่จะเลือกหรือตัดสินใจในการเลือกใช้สวัสดิการเหล่านี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดควรมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ดังนี้
- ทางเลือกของพ่อแม่ เลือกผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ความเข้าใจในด้านการบริการสุขภาพสาธารณสุขเบื้องต้น มีความรู้มีความสามารถเด่นในเรื่องใด มีใครที่เรารู้จักเป็นการส่วนตัวหรือไม่ เช่น เป็นเครือญาติ พี่น้องหรือมิตรสหายคนรู้จัก ซึ่งอาจทําให้ง่ายต่อการติดต่อ และปรึกษา
- กุมารแพทย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเด็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่น กุมารแพทย์จะจบหลักสูตรเป็นเวลา 3 ปี ทําให้ใช้ความรู้ในการรักษาความเจ็บป่วยในวัยเด็กที่หลากหลาย
- แพทย์ประจําครอบครัว แพทย์ที่สามารถให้การดูแลสมาชิกทุกคนในครอบครัว การฝึกอบรมด้านการแพทย์หลายด้านช่วยดูแลได้ตลอดวัย รักษาปัญหาที่พบบ่อยที่สุด เช่น หวัด เจ็บคอ และโรคเรื้อรัง โรคต่างๆ เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง แพทย์ประจําครอบครัวจะมีความคุ้นเคยกับประวัติทางการรักษาของครอบครัวเป็นอย่างดี
- ผู้ให้บริการระดับกลาง ผู้ปฏิบัติงานพยาบาลและผู้ช่วยแพทย์ มีความรู้ความเข้าใจในด้านการบริการสุขภาพสาธารณสุขเบื้องต้น การตรวจสุขภาพ การตรวจโรค การป้องกันโรค รวมไปถึงสิทธิด้านการส่งเสริมสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมการปฏิบัติตนของผู้ป่วยให้เหมาะสม ในขั้นตอนการรับบริการและการรักษาโรค
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาก่อนเลือกใช้บริการทางสุขภาพ
1.ความต้องการของพ่อแม่คืออะไร
2.ประกันของลูกและเงื่อนไขการให้บริการเหมาะสมกันหรือไม่?
3.พ่อแม่จะได้ตรวจหรือพบแพทย์ประจําหรือไม่?
4.เข้าถึงผู้ให้บริการได้ง่ายหรือไม่?
5.ผู้ให้บริการมีสิทธิโรงพยาบาลที่ไหน?
6.มีสิ่งอํานวยความสะดวกอะไรบ้าง?
สิ่งที่ลูกควรได้รับเมื่อไปตรวจสุขภาพทุกครั้ง
1.การพูดคุยซักประวัติสุขภาพ โดยพยาบาลและกุมารแพทย์
2.การตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต ชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจ ชั่งน้ำหนักส่วนสูง การฟังหัวใจและปอด การสัมผัสบริเวณท้อง และการทดสอบปฏิกิริยาตอบสนอง ตรวจตา หูและปาก แนวกระดูกสันหลัง อวัยวะเพศ รูปแบบการเดิน และลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ
ตรวจสุขภาพเด็กแต่ละวัย ควรตรวจกี่ครั้ง นอกเหนือจากนี้คงเป็นสุขภาพทางด้านร่างกาย การตรวจเพิ่มเติมบางอย่าง เช่น ตรวจการมองเห็น การได้ยิน การตรวจเลือดเพื่อคัดกรองโรค การส่งต่อเด็กให้หมอฟันเพื่อการดูแลฟันที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถแบ่งออกมา ดังนี้
- วัยทารก ต้องได้รับการดูแล อย่างน้อย 7 ครั้ง (0-7 วัน, 1, 2, 4, 6, 9, 12เดือน)
- ปฐมวัย อย่างน้อย 4 ครั้ง (18เดือน, 2, 3, และ 4 ปี)
- วัยเรียน อย่างน้อย 3 ครั้ง (6,8, และ 10 ปี)
- วัยรุ่น อย่างน้อย 3 ครั้ง (11-14, 15-17, 18-21 ปี)
สิ่งที่จําเป็นในการตรวจสุขภาพเด็กในแต่ละช่วงวัย
- ตรวจเลือดคัดกรองทารกแรกเกิด ใน 1เดือนแรก
- วัดรอบศีรษะ ในเด็ก 2 ปีและเล็กกว่า
- ตรวจการได้ยินด้วยเครื่องมือพิเศษ อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก
- ประเมินการได้ยินโดยซักถามที่ช่วงอายุ 4 เดือน – 6 ปี
- ตรวจคัดกรองพัฒนาการ ที่อายุ 9 เดือน, 18 เดือน, และ 3 ปี
- วัคความดันโลหิตและวัดสายตาโดยใช้เครื่องมือ ในเด็กตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
- พบหมอฟันตั้งแต่ช่วง 12 เดือน -2 ปี
- ตรวจความเข้มข้นของเลือดที่ช่วงอายุ 6 -12เดือน, 3-6 ปี, และวัยรุ่นหญิง
3.ประเมินการเจริญเติบโต (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง)
ในแต่ละช่วงเวลาการเติบโตของเด็กย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่แตกต่างกัน การติดตามอย่างใกล้ชิดเป็นสิ่งสําคัญ เพื่อดูแลสุขภาพเด็กให้สมบูรณ์และเสริมสิ่งที่ขาดอย่างเหมาะสม
ดัชนีที่ใช้วัดในการประเมินการเจริญเติบโต ใช้น้ำหนักและส่วนสูงในการประเมินภาวะการเติบโต มี 3 ดัชนีคือ
1.น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ
2.ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ
3.น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
- วัยเด็กตั้งแต่ 5-12 ปี เน้นตรวจด้านพัฒนาการ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง มีการวัดสายตา เพื่อแก้ปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียง วัดความดันโลหิต วัดระดับความเข้นข้นของเลือด รวมถึงคําแนะนําที่เหมาะสมด้านการเรียน การเล่น การเข้าสังคมเพื่อให้ปรับตัวได้ถูกต้อง
- วัยรุ่น 13-15 ปี ร่างกายจะแข็งแรงโตเต็มวัย แต่อาจละเลยการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การออกกําลังกาย การใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม จําเป็นต้องตรวจสุขภาพโดยรวมเพื่อป้องกันโรคในระยะยาว
- กุมารแพทย์จะติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นประจํา การเติบโตอย่างรวดเร็วในวัยทารกและวัย เตาะแตะจะช้าลงเล็กน้อยเมื่อลูกเข้าสู่วัยอนุบาลและวัยเรียน
ทําไมต้องวัด BMI ของลูก?
BMI คือเครื่องมือคัดกรองตามค่าเฉลี่ยของประชากรที่ใช้น้ำหนักสัมพันธ์กับส่วนสูงเพื่อประเมินว่าคนๆ หนึ่งอาจมีน้ำหนักน้อย น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
ระดับอาหารและกิจกรรมโดยรวมของเด็ก ดูว่าลูกของเรามี BMI อยู่ในระดับใดโดยเปรียบเทียบจากค่า BMI ด้านล่าง สามารถใช้เกณฑ์ขององค์กร Center of Disease Control (CDC) ของสหรัฐฯ ที่ระบุไว้ว่า
- เปอร์เซนไทล์น้อยกว่า 5 ถือว่าเด็กมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป
- เปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 5 แต่ไม่เกิน 85 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- เปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 85 แต่ไม่เกิน 95 ถือว่ามีความเสี่ยงน้ำหนักเกิน
- เปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 95 เป็นต้นไป ถือว่าน้ำหนักเกิน
มาดูวิธีอ่านกราฟค่า BMI เด็กกัน สมมติว่าลูกชายของคุณพ่อคุณแม่อายุ 9 ขวบ สูง 1.30 ม. หนัก 34 กก. คํานวณ BMI ตามสูตรข้างต้นออกมาแล้วได้ค่า BMI ที่ 20.12 เมื่อเทียบกับกราฟนี้แล้วจะเห็นว่าอยู่ตรง เปอร์เซนไทล์ที่เกิน 90 มาเล็กน้อย แสดงว่ามีความเสี่ยงน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ปกติ
ค่า BMI เด็กมีประโยชน์ต่อคุณพ่อคุณแม่เพราะเป็นเกณฑ์ที่ช่วยในการประเมินการเจริญเติบโตด้านร่างกายของลูกได้ก็จริง แต่ไม่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ยึดติดแต่กับตัวเลขนี้เท่านั้น ควรใช้ BMI เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจการเติบโตของลูกได้ดีขึ้นมากกว่าจะเป็นตัวเลขที่นําไปสู่การสร้างกรอบและกฎเกณฑ์ให้กับลูกจนทำลายบรรยากาศการเลี้ยงดู
4.ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน หากดูแลฟันน้ำนมไม่ดี มีฟันผุ แปรงฟันไม่สะอาดหรือมีเชื้อโรคในช่องปาก ก็อาจจะส่งผลกระทบไปถึงฟันแท้ เด็กวัยเรียนมีฟันขึ้นครบ 28 ซี่แล้ว โดยฟันกรามถาวรซี่แรกจะขึ้นต่อจากฟันน้ำนมในช่วงอายุ 6-7 ปี และ ฟันกรามซี่ที่ 2 จะขึ้นในช่วงอายุ 11-13 ปี และแพทย์จะทําการตรวจฟันเป็นประจํา
5.การได้ยินและการมองเห็น แพทย์ประเมินการได้ยินและการมองเห็นเป็นระยะโดยใช้วิธีการต่างๆ การ ตรวจการได้ยินจะมองหาสัญญาณของการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งในวัยนี้โดยทั่วไปเป็นผลมาจากการติดเชื้อ การบาดเจ็บ รวมถึงตรวจหาความผิดปกติของดวงตา และประเมินว่าเป็นอย่างไร ความคมชัดของการมองเห็น
6.สอบถามเรื่องพัฒนาการ
ช่วงเวลา 3 ขวบปีแรก ช่วงที่สําคัญที่สุดในการพัฒนาศักยภาพทางด้านสติปัญญา สังคม และอารมณ์ หากลูกได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งทางร่างกายและจิตใจ จะส่งผลให้ลูกพัฒนาได้เต็มศักยภาพของตนเอง ความล่าช้าหรือการเบี่ยงเบนของพัฒนาการสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกและจะมีความสําคัญมาก เพราะการช่วยเหลือแก้ไขยิ่งเร็วเท่าไร ก็จะได้ผลดีมากขึ้น
7.ประเมินปัญหาทางจิตใจ สังคม พฤติกรรม ความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์
ส่วนใหญ่แล้วนี่เป็นโอกาสของแพทย์ที่จะรับรองว่าพ่อแม่ไม่ได้อยู่คนเดียวในความกังวล และครอบครัวเราก็เหมือนกับครอบครัวอื่น ๆ ที่ประสบกับความเครียดในชีวิตประจําวัน แพทย์สามารถให้คําแนะนําหรือ แหล่งข้อมูลที่สามารถช่วยรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีในครอบครัวได้
8.การฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามช่วงวัย
วัคซีนเป็นส่วนสําคัญทําให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง เพราะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคบางอย่างของลูกได้อย่างมาก วัคซีนไม่ได้สิ้นสุดหลังจากอายุ 2 ปี จําเป็นต้องมีวัคซีนเสริมและวัคซีนใหม่เมื่อลูกโตขึ้น รวมถึงวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ประจําปี
9.โภชนาการและการออกกําลังกาย
รูปแบบการรับประทานอาหารและอาหารโปรดบางอย่างเพียงพอหรือไม่ เช่น แคลเซียมและวิตามินดี
10.การทํางานของลําไส้และกระเพาะปัสสาวะ
ปัญหาห้องน้ำเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กผู้ชายและเด็กที่นอนดึก อาจฉี่รดที่นอนในตอนกลางคืน แต่ถ้าก่อนหน้านี้ลูกนอนหลับตลอดทั้งคืนโดยไม่ปัสสาวะรดที่นอน แต่ตอนนี้กําลังประสบปัญหาหรือปัสสาวะรดกางเกงในตอนกลางวันเป็นประจํา อาจเป็นสัญญาณของปัญหาพื้นฐาน ปัสสาวะรดที่นอน เช่น การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ บางครั้งความเครียดอาจเกิดจากการย้ายไปบ้านใหม่หรือเริ่มโรงเรียนใหม่ อาจทําให้การควบคุมกระเพาะปัสสาวะกําเริบได้
11.การพักผ่อนนอนหลับ
การนอนหลับให้เพียงพอเป็นสิ่งสําคัญสําหรับพัฒนาการที่ดีของเด็ก
12.การป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัย การออกกําลังกาย และการจํากัดเวลาอยู่หน้าจอ ให้คําแนะนําในการดูแลให้ปลอดภัยทั้งในและนอกบ้าน ให้คําแนะนําการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการใช้ยา รวมถึงแนวทางการใช้อุปกรณ์นิรภัย เช่น คาร์ซีทและบูสเตอร์ซีท
13.การให้คำแนะนําด้านการเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
สําหรับเด็กๆ มีสิ่งที่จําเป็นนับสิบรายการที่ต้องทํามากกว่าแค่การให้วัคซีน ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ลูกขาดทุน ให้พ่อแม่เล็งเห็นความสําคัญต่อการพาเด็กๆ มาตรวจสุขภาพ ทั้งนี้รายละเอียดการตรวจเช็กสุขภาพเด็กขึ้นอยู่กับการพิจารณาโดยกุมารแพทย์เป็นสําคัญ อาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของเด็กแต่ละคน จึงควรปฏิบัติตามคําแนะนําอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เด็กเติบโตได้แข็งแรงสมวัย
Ref.