วิธีดูแลความปลอดภัยของเด็ก ที่พ่อแม่ควรปฏิบัติ

ความปลอดภัยของเด็ก

สําหรับเด็ก โลกเต็มไปด้วยการผจญภัยครั้งใหม่ที่น่าตื่นเต้นอยู่ทั่วทุกมุม และในขณะพ่อแม่พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ลูกได้สัมผัสกับความมหัศจรรย์ในโลก และอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นได้เสมอเมื่อเด็กทำกิจกรรมต่างๆ สภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญ เราสามารถเพิ่มความปลอดภัยของเด็ก และลดความเสี่ยงต่ออันตรายได้ แม้จะไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุทุกครั้งได้ แต่ในฐานะพ่อแม่ก็มีหลายสิ่งที่สามารถทําได้เพื่อช่วยให้ลูกหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและการบาดเจ็บในชีวิตประจําวัน

เพิ่มความปลอดภัยของเด็ก: ป้องกันอันตรายใกล้ตัว

แม้ว่าพ่อแม่ส่วนใหญ่จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บให้ลูก แต่เหตุการณ์ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ การประเมินความปลอดภัยในบ้านอย่างละเอียดจึงสําคัญอย่างยิ่ง

1.ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดในครัวเรือน เด็กๆ เป็นนักสํารวจโดยธรรมชาติ จึงไม่แปลกใจที่ลูกจะเข้าไปในตู้เสื้อผ้า ใต้อ่างล้างจานในครัว ซึ่งเป็นที่เก็บสิ่งของที่เป็นอันตราย น้ำยาทําความสะอาด น้ำยาซักผ้า และของใช้ในครัวเรือนอื่นๆ อาจมีกลิ่นและบรรจุภัณฑ์ที่ดูน่าสนใจ ดึงดูดสายตาเด็กๆ ให้เล่นหรือลิ้มรส อาจทําให้ผิวหนัง ดวงตา และระบบย่อยอาหาร สัมผัสกับสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก

2.ยา จัดเก็บไว้ให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการค้นหาและพ้นจากมือเด็ก ตรวจสอบฉลากทุกครั้ง ดูวันหมดอายุ สี ขนาดยา รับประทานตามแพทย์สั่ง ยาลดไข้ให้ตามน้ำหนักของลูก พบยาหมดอายุ การกําจัดยาที่เหลือหรือหมดอายุอย่างเหมาะสม ปิดผนึกไว้ในถุงพลาสติกหรือภาชนะแล้วนําไปทิ้งในถังขยะ ขูดข้อมูลส่วนบุคคลบนฉลากยาสั่งจ่ายยาก่อนทิ้งภาชนะเดิม

3.สําลักอาหารและอื่นๆ วิธีป้องกันการสําลัก:

  • เด็กอายุตํ่ากว่า 4 ปี ให้หั่นอาหาร เช่น องุ่น ฮอทดอก และเบบี้แครอท เพื่อให้เคี้ยวและกลืนได้ง่ายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงให้ลูกอมแข็งหรือถั่วลิสงที่มีลักษณะเรียบและลื่นลงคอได้ง่าย
  • เก็บสิ่งต่างๆให้พ้นมือเด็ก กระดุม ลูกหิน ของเล่นชิ้นเล็กๆ หมวกปากกา และหนังยางอาจกลืนลงโดยไม่ได้ตั้งใจ

4.ไฟไหม้ ของใช้ในบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลไหม้สําหรับลูกได้ เช่น เตาอบและเตา หม้อน้ำร้อน อาหาร และปลั๊กไฟ อาจทําให้เด็กได้รับบาดเจ็บได้

เพื่อป้องกันการไหม้ที่บ้าน ให้พิจารณาสิ่งต่อไปนี้:

  • สอนลูกถึงปลอดภัยในครัว ดูแลไม่ให้ลูกอยู่ใกล้เตาขณะที่ทําอาหาร น้ำมันที่ร้อนอาจทําให้ลูกเกิดแผลไหม้อย่างรุนแรงได้ ห้ามทิ้งอาหารไว้บนเตาโดยไม่มีใครดูแล
  • หลีกเลี่ยงการทิ้งอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนไว้ในสถานที่ที่เด็กเอื้อมถึงได้ง่าย เช่น ขอบเคาน์เตอร์ หรือบนโต๊ะในครัว
  • ดูแลไม่ให้ลูกอยู่ใกล้หม้อน้ำ เตาย่าง อุปกรณ์ที่มีความร้อน เช่น เตารีดรีดผ้า และที่ม้วนผม และให้ถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ เปลี่ยนสายไฟที่ชํารุด เปราะหรือหลุดลุ่ย และอย่าเดินสายไฟไว้ใต้พรมเพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้
  • จัดเก็บไม้ขีดและไฟแช็กไว้ในที่ปลอดภัย ให้พ้นสายตาลูก สอนลูกว่าไม้ขีดและไฟแช็คไม่ใช่ของเล่น และเก็บเทียนให้พ้นมือเด็ก
  • การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทุกคนในบ้าน และเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ในบ้านที่พบบ่อย อย่าสูบบุหรี่ในบ้าน
  • วางเครื่องทําความร้อนในพื้นที่ให้ห่างจากสิ่งของที่ติดไฟได้ เช่น เครื่องนอนและผ้าม่านอย่างน้อย 3 ฟุต
  • ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันเพื่อแจ้งเตือนถึงอันตราย เก็บถังดับเพลิงไว้ในห้องครัว ให้พ้นมือเด็ก และเรียนรู้วิธีใช้งาน

5.คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่มองไม่เห็นและไม่มีกลิ่น เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงในรถยนต์และรถบรรทุก เครื่องยนต์ขนาดเล็ก เตาไฟ โคมไฟ เตาย่าง เตาผิง เกิดการสะสม เป็นพิษต่อผู้ที่หายใจเข้าไป ป้องกันได้ดังนี้

  • จัดให้มีระบบทําความร้อน เครื่องทําน้ำอุ่น และอุปกรณ์ที่ใช้ถ่านหิน ไม้ หรือน้ำมันก๊าด
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์แก๊สทั้งหมด มีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม
  • ห้ามใช้เครื่องกําเนิดไฟฟ้าภายในบ้านหรือกลางแจ้งภายในระยะ 20 ฟุตจากหน้าต่าง ประตู หรือช่องระบายอากาศ

6.การสัมผัสสารตะกั่ว เด็กเติบโตรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะเอามือเข้าปาก เด็กอายุตํ่ากว่า 6 ปีจึงมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเกิดพิษจากสารตะกั่ว โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการสัมผัสกับดินหรือฝุ่นที่ปนเปื่้อนด้วยสีที่มีสารตะกั่ว สารตะกั่วในระดับตํ่าก็สามารถส่งผลเสียต่อไอคิว ความสามารถในการมีสมาธิ และผลการเรียนของเด็กได้

7.เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เด็กอาจพยายามปีนตู้เสื้อผ้าหรือชั้นวางทีวี ส่งผลให้เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าล้มทับตัวเด็ก ในบางกรณี การบาดเจ็บเหล่านี้อาจถึงแก่ชีวิตได้

การป้องกันเด็กเป็นสําคัญ แนะนําให้แก้ไข: ชั้นวางทีวี ไว้บนตู้เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานนี้ ยึดทีวีกับผนังหรือเฟอร์นิเจอร์ และยึดเฟอร์นิเจอร์เข้ากับผนัง หลีกเลี่ยงการเอาของเล่น รีโมทคอนโทรล และวัตถุอื่นๆ วางไว้บนชั้นวางทีวีและตู้ เพราะเด็กอาจอยากปีนป่าย

8.เครื่องตัดหญ้า มีความเสี่ยงร้ายแรงต่อการบาดเจ็บ เครื่องตัดหญ้ามีพื้นผิวที่ร้อนและใบมีดหมุนที่ทรงพลัง สามารถส่งหินและวัตถุอื่น ๆ ให้บินได้

เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ให้ปฏิบัติตามข้อควรระวังเหล่านี้:

  • อย่าปล่อยให้อยู่ในสนามเมื่อกําลังตัดหญ้า หรือปล่อยให้ลูกขี่เครื่องตัดหญ้า
  • อย่าปล่อยให้ลูกเล่นหรือใช้งานเครื่องตัดหญ้า
  • สอนลูกถึงอันตรายของเครื่องตัดหญ้า และหลีกเลี่่ยงเครื่องตัดหญ้าที่ทํางานอยู่ ซึ่งไม่ควรปล่อยลูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครดูแล
  • ไม่ควรวางมือไว้ใกล้มอเตอร์หรือใบมีด

9.ปืน การไม่มีอาวุธปืนในบ้านเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันการบาดเจ็บจากอาวุธปืนในเด็ก หากมีอาวุธปืนให้เก็บอาวุธปืนไว้ในตู้ที่ล็อค ตู้นิรภัย ห้องนิรภัย หรือกล่องจัดเก็บที่มิดชิด ควรเก็บกระสุนปืนไว้ในตําแหน่งล็อคแยกต่างหาก เก็บซ่อนกุญแจให้ห่างจากเด็ก และผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาตอื่นๆ อย่างปลอดภัย

10.การล่วงละเมิดทางเพศ พ่อแม่สามารถช่วยปกป้องลูกจากการล่วงละเมิดทางเพศได้ ช่วยให้ลูกเข้าใจว่ามีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธอย่างแข็งขัน ใครก็ตามที่ข่มขู่ ให้แจ้งครูและพ่อแม่ทราบทันที

การล่วงละเมิดทางเพศ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศ การดูภาพอนาจาร หรือการถ่ายภาพลามกอนาจารของเด็ก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเด็ก แนวทางการลดความเสี่ยงที่ลูกจะถูกล่วงละเมิด:

  • สอนลูกให้รู้จักชื่ออวัยวะเพศที่ถูกต้อง ให้คําตอบอย่างตรงไปตรงมาสําหรับคําถามเกี่ยวกับเรื่องเพศ
  • การใช้คําที่ถูกต้องจะทําให้ลูกเห็นว่าเรื่องเพศไม่ใช่เรื่องต้องห้าม
  • สอนลูกถึงความเป็นส่วนตัวและความเคารพ แจ้งให้ลูกรู้ว่าไม่มีใครมีสิทธิ์สัมผัสอวัยวะส่วนตัวของร่างกายโดยไม่ได้รับอนุญาต และลูกจําเป็นต้องเคารพสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นด้วย

เมื่อพ่อแม่ให้ความรักและความเอาใจใส่แก่ลูก สร้างความสัมพันธ์ที่เปิดกว้างและไว้วางใจระหว่างกัน วิธีนี้ทําให้ไม่จําเป็นต้องไปเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมของลูก ดูแลระมัดระวังว่าลูกใช้เวลากับใคร ที่ไหน และกําลังทําอะไรอยู่

11.การใช้สารเสพติด
อาจดูเหมือนยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ แต่การพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับยาเสพติดและแอลกอฮอล์ถึงอันตรายและผลเสีย พ่อแม่จะมีอิทธิพลต่อลูกเมื่อเริ่มต้นเปิดกว้าง และรับฟังคําตอบของลูกอย่างแท้จริง ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่จะอยู่เคียงข้างและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

12.ความปลอดภัยของยานพาหนะและการเดินทาง
อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ เช่น ผู้โดยสารหรือคนเดินถนน เป็นสาเหตุสําคัญของการเสียชีวิตในวัยเด็ก เช่น การใช้เบาะรถยนต์และเข็มขัดนิรภัยอย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แนะนําให้เด็กๆ นั่งเบาะหลังของรถยนต์ได้เมื่อมีอายุ 12 ปี ขึ้นไป
เพื่อความปลอดภัยสูงสุดให้ใช้คาร์ซีท/บูสเตอร์ โดยทั่วไปจะมีอายุระหว่าง 4-7 ปี ตรวจสอบว่าเข็มขัดนิรภัยอยู่ในตําแหน่งที่พอดีทุกครั้ง

ความปลอดภัยเรื่องการข้ามถนน

  • สอนเด็กๆ ให้ข้ามถนนอย่างปลอดภัย เด็กควรสบตากับคนขับก่อนจะข้าม และมองทั้งสองทางจนกว่าจะข้ามได้อย่างปลอดภัย
  • หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ หูฟัง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่รบกวนสมาธิ จนกว่าจะข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย
  • ส่งเสริมการใช้สะพานลอย
  • สอนลูกข้ามถนน ที่มุมถนน ที่ซึ่งมีสัญญาณไฟจราจรและทางม้าลาย
  • สอนลูกให้ระมัดระวัง รถที่จอดขวางหรือเลี่้ยวในลานจอดรถ ทางกลับบ้าน ระมัดระวังเป็นพิเศษกับยานพาหนะขนาดใหญ่ รถพ่วง และเรือ
  • ระวังทางเท้าที่ไม่เรียบหรือปัญหาพื้นผิวทางเดิน

เพิ่มความปลอดภัยของเด็ก: ป้องกันอันตรายจากการเล่น

การเล่นเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมสําหรับเด็กในการออกกําลังกายและคลายเครียดหลังจากเหน็ดเหนื่อยที่โรงเรียนมาทั้งวัน อาจมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เช่น จักรยาน สเก็ตบอร์ด สกู๊ตเตอร์ รองเท้าสเก็ต การเรียนรู้ที่จะขี่จักรยาน โรลเลอร์สเก็ต การเล่นสเก็ตบอร์ดเป็นส่วนหนึ่งที่สนุกสนานของวัยเด็ก การบาดเจ็บหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการสวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม สวมหมวกกันน็อค อุปกรณ์ป้องกันที่คลุมข้อศอกและเข่า ถุงมือและสนับข้อมือ ปกป้องกระดูกหากล้มขณะเล่น

แทรมโพลีนหรือสปริงบอร์ด กิจกรรมหลักในชุมชนและครอบครัว เด็ก ๆ อาจได้รับบาดเจ็บตั้งแต่เคล็ดขัดยอกและกระดูกหัก ไปจนถึงการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ การบาดเจ็บเหล่านี้อาจเกิดจากการที่เด็กตกลงไปบนส่วนที่แข็งของแทรมโพลีน ส่วนใหญ่เกิดในเด็กอายุระหว่าง 5 ถึง 14 ปี

สามารถลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บสาหัสได้โดยทําตามขั้นตอนการป้องกันดังนี้:

  • ตรวจสอบแทรมโพลีนว่าโครง พื้นผิว และแผ่นป้องกันอยู่ในสภาพดี
  • ดูแลแทรมโพลีนสม่ำเสมอ
  • จํากัดกิจกรรมแทรมโพลีน: ห้ามเด็กอายุตํ่ากว่า 6 ปี และอนุญาตให้เล่นได้ครั้งละหนึ่งคนเท่านั่้น
  • ห้ามตีลังกา และท่ากระโดดอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูง
  • ถอดบันไดออกจากแทรมโพลีนเมื่อไม่ได้ใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กๆ เล่นโดยไม่ได้รับการดูแล
  • หลีกเลี่ยงการใช้เมื่อมีลมแรงหรือพายุ

ความปลอดภัยทางน้ำ การว่ายน้ำเป็นการออกกําลังกายที่ดีเยี่ยมและสนุก แต่อาจเป็นอันตรายได้หากเด็กถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการดูแล หรือไม่มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม ควรสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ รวมถึงขณะอยู่บนเรือ ที่สวนน้ำ และในสระน้ำ แม้ว่าจะมีไลฟ์การ์ดอยู่ด้วยก็ตาม

  • หาเสื้อชูชีพ ตรวจสอบขนาดเสื้อชูชีพให้พอดีกับตัวลูก
  • ตรวจสอบเสื้อชูชีพว่ามีความเสียหายหรือไม่ ตัวล็อคไม่ชํารุดเสียหาย
  • สอนลูกว่ายน้ำอย่างปลอดภัย หากอยู่ในสระน้ำ เด็กๆ ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแรงดูด เช่น ท่อระบายน้ำ

มาตรการด้านความปลอดภัยที่ดีที่ต้องมี ได้แก่:

  • รั้วที่สูงอย่างน้อย 4 ฟุตและมีประตูปิดล็อคเอง ซึ่งเด็กไม่สามารถเข้าถึงได้
  • เสียงสัญญาณเตือนสระน้ำที่แจ้งเตือนเมื่อมีคนเปิดประตูสระหรือลงเล่นน้ำ
  • อุปกรณ์กู้ภัย เช่น เครื่องช่วยชีวิตหรือห่วงยาง

อันตรายจากสภาพอากาศ

อากาศเย็น: กําหนดเวลาว่าลูกจะอยู่กลางแจ้งนานแค่ไหน เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะต่างๆ เช่น อุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรุนแรง (อุณหภูมิร่างกายตํ่ากว่าปกติ) และความเสียหายของผิวหนังและเนื่้อเยื่อจากการสัมผัสกับความหนาวเย็น (อาการบวมเป็นน้ำเหลือง)

อากาศร้อน: เมื่อเด็กเล่นกลางแจ้งควรให้มีการหยุดพักเพื่อคลายร้อน คอยสังเกตอาการอ่อนเพลียจากความร้อนและลมแดด ให้เด็กดื่มน้ำให้เพียงพอ เลือกเสื้อผ้าสีอ่อน น้ำหนักเบา ที่ช่วยระบายเหงื่อให้ลูก อย่าทิ้งเด็กไว้ในรถที่ปิดสนิทในฤดูร้อน อุณหภูมิในรถอาจสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและอาจถึงแก่ชีวิตได้ อาการผิดปกติที่เกี่ยวกับความร้อน เช่น หน้ามืด เซื่องซึม ปวดศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจไม่สมํ่าเสมอ รู้สึกเสียวซ่าที่ผิวหนัง หรือชา

แสงแดด การถูกแดดเผาอย่างรุนแรงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนัง
ดังนั้นอย่ารอให้สีผิวเปลี่ยนไปแล้วจึงค่อยป้องกัน เพื่อการปกป้องที่ดีที่สุดให้หลีกเลี่ยงรังสีอัลตราไวโอเลต A และ B (UVA และ UVB) เป็นตัวที่ทําร้ายผิว รังสีเหล่านี้จะรุนแรงในช่วงเวลา 10.00 น. ถึง 16.00 น. สวมแว่นกันแดด ปกป้องดวงตาของเด็กจากแสงยูวี สามารถช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจกในอนาคตได้

ความปลอดภัยในการเดินทาง

การเดินทางเป็นครอบครัว เป็นวิธีที่ดีในการให้ลูกเห็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ มีส่วนร่วมในพลังของเมืองใหญ่ และสัมผัสกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่อาจเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย การเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจําวัน และอันตรายที่อาจไม่เคยพบที่บ้าน การเตรียมตัวและการวางแผนสามารถช่วยได้ และอย่างน้อยก็มีความเสี่ยงบางประการที่ผู้ปกครองต้องเผชิญขณะเดินทางพร้อมเด็ก ๆ การเดินทางทางอากาศ การบินกับลูกๆ อาจทําให้การเดินทางราบรื่นและปลอดภัยยิ่งขึ้น

จัดกระเป๋าใส่สิ่งของจําเป็น นําของว่าง สิ่งบันเทิง และเจลล้างมือหรือทิชชู่เปียกติดตัวไปด้วย ชุดเสื้อผ้าเพิ่มเติม อุปกรณ์อุดหูเผื่อลูกมีแนวโน้มที่จะเจ็บหูขณะเครื่องบินลอยอยู่บนอากาศ และยาใดๆ ที่รับประทานเป็นประจํา

ลดอาการเจ็ทแล็กให้เหลือน้อยที่สุด เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เด็กอาจมีช่วงเวลาที่ยากลําบากในการปรับโซนเวลาต่างๆ เพื่อช่วยลดอาการเจ็ตแล็ก ให้ปรับตารางการนอนของลูกสองสามวันก่อนการเดินทาง เมื่อไปถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ให้ลูกเล่นกลางแจ้งในระหว่างวัน เพื่อช่วยให้ร่างกายปรับนาฬิกาภายใน

  • ก่อนที่จะเดินทาง ลูกได้รับการฉีดวัคซีนที่จําเป็น
  • ยาพื้นฐานที่จําเป็นสําหรับการดูแลลูกเมื่อเจ็บป่วย
  • ความคุ้มครองประกันภัยในขณะเดินทาง ครอบคลุมการรักษาพยาบาลในประเทศอื่นหรือไม่
  • ช่วยให้ลูกนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนเดินทางเพื่อป้องกันเจ็ทแล็ก
  • สิ่งที่ควรเตรียมติดตัวไปด้วย ได้แก่ เจลล้างมือ ผ้าเช็ดทําความสะอาด ครีมกันแดด ยาแก้ปวด ยากันยุง และยาแก้แพ้สําหรับอาการคัน ไข้ และอาการอื่นๆ
  • ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารข้างทางหรืออาหารดิบ ผลไม้หรือผักดิบที่ไม่ได้ปอกเปลือก หรืออาหารที่เก็บไว้โดยไม่แช่เย็น

อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากพ่อแม่หมั่นตรวจสอบ ดูแล และจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวลูกอย่างเหมาะสม ก็จะสามารถช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่ออันตราย และการบาดเจ็บในชีวิตประจําวันของลูกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *